ชื่อโครงการ
ย่านแม่คำสบเปิน: การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่นคำสำคัญ
ย่านศิลปหัตถกรรม,การพัฒนาเชิงพื้นที่,เศรษฐกิจฐานราก,นวัตกรรมบทคัดย่อ
โครงการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกให้เกิดจิตสำนึกรักชุมชนจากกระบวนการ ทำแผนที่ทางวัฒนธรรม ที่เกิดจากการจัดเก็บข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย และชุมชน ในการทำงานตามแนวทางของ Intangible Cultural Heritage (ICH) ในวัตถุประสงค์ต่อมา เพื่อสร้างวิสาหกิจทางวัฒนธรรม จากศิลปหัตถกรรมที่เกิดจากภูมิปัญญา ที่จับต้องไม่ได้ นำไปสร้างรายได้ และอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจชุมชน ไปสู่การแก้ปัญหา ของชุมชน และเพื่อสร้างแบบแผนความร่วมมือ ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน ตามแนวทางการจัดการทรัพยากรร่วมในชุมชน สามารถกลายเป็นพื้นที่การเรียนรู้ และแบ่งปันความรู้ได้ โดยใช้กระบวนการที่นำ EPISG Model ที่เป็นนวัตกรรม และความรู้จากมหาวิทยาลัย ไปทำงานแบบมี ส่วนร่วมกับชุมชน ใน 3 กิจกรรม ผลการวิจัยได้รื้อฟื้นทุนทางวัฒนธรรมและนำไปสู่การใช้ประโยชน์โดยการสร้างผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม 10 รายการ ผู้ประกอบการวัฒนธรรม 10 ราย/กลุ่ม เกิดการสร้าง กลไกในพื้นที่ในการเชื่อมความรู้จากทุนทางวัฒนธรรมไปสู่การเป็นพื้นที่สร้างสรรค์และแหล่งเรียนรู้เพื่อแบ่งปันให้กับสาธารณะ ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ในกิจกรรมที่ 1 สืบมอง ยองใหม่ มีค่าเท่ากับ 5.73 กิจกรรมที่ 2 วาด ทอ ก่อสาน มีค่าเท่ากับ 1.99 กิจกรรมที่ 3 กินอยู่ รู้แบ่งปัน มีค่าเท่ากับ 1.93 โดยงานวิจัยได้ยกระดับความรู้ให้เห็นถึงแนวคิด การออกแบบพื้นถิ่นที่เป็นการออกแบบเพื่อความยั่งยืน คำสำคัญ: ทุนทางวัฒนธรรม , ผู้ประกอบการวัฒนธรรม , การออกแบบพื้นถิ่น
Title
Maecome -Sobpern Sub-district : Cultural capital management to enhance the economy, community and local awareness.Keywords
Arts and Craft Distric,Area base Development,Locol Economy,InnovationAbstract
The first objective of this study is to create a mechanism that cultivates a sense of love for the community through the process of cultural mapping, a tool used to map intangible cultural heritage, conducted under the cooperation of the university and the community based on the guideline of Intangible cultural heritage (ICH). The second objective is to create a cultural enterprise of arts and crafts originating from intangible wisdom to generate income and the growth rate of the community economy, and later solve community problems. The last objective is to create a continuous and sustainable cooperation framework according to the Common Pool Resource guidelines. It can create a learning and knowledge-sharing space by using EPISG Model, the innovation and knowledge from the university, and working with the community through three activities. The results of the research revitalized cultural capital and led to its use by creating 10 cultural products, and 10 cultural entrepreneurs/groups. It also created a mechanism in the area that connects the knowledge of cultural capital, leading to a creative space and learning center that could be shared with the public. The study found that the social returns on investment (SROI) of the first activity (Rethinking) is 5.73, the second activity (Reskill & Upskill) is 1.99, and the third activity (Relearn) is 1.93. The research has shown that the concept of vernacular design is sustainable design. Keywords: Cultural Asset , Cultural Entrepreneur , Vernacular Design