โครงการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เมืองแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 16 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640091
นักวิจัย ดร. สุรพล ใจวงศ์ษา
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 พฤศจิกายน 2022
ระยะเวลา 3 ปี
สถานที่ทำวิจัย เชียงใหม่

ชื่อโครงการ

โครงการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เมืองแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ

ทุนทางวัฒนธรรม,เศรษฐกิจฐานราก,สำนึกท้องถิ่น

บทคัดย่อ

โครงการวิจัย “การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เมืองแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อประสานกลไกทางสังคมในการสืบสาน ต่อยอด สร้างสำนึกในวิถีวัฒนธรรมเมืองแม่แจ่ม ผ่านการบริหารจัดการ ออกแบบ สร้างสรรค์พื้นที่ทางวัฒนธรรมเมืองแม่แจ่ม 2) เพื่อสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมและวิสาหกิจเพื่อสังคม เมืองแม่แจ่ม สู่การสร้างรายได้บนฐานทุนทางวัฒนธรรม 3) เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมเมืองแม่แจ่มตามห่วงโซ่คุณค่า ด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม และ4) เพื่อวัดและประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจฐานรากและทางสังคม จากการหนุนเสริมการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยดำเนินการบริหารจัดการทุนวัฒนธรรม (สาน-สร้าง-เสริม) เริ่มจากการประสานกลไกความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่ มาร่วมกันในการจัดเก็บและการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลแผนที่วัฒนธรรม นำมาสู่การใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ทั้ง 8 ของเมืองแม่แจ่ม (คน พุทธ ผี ผญา ไผ่ ผ้า นา ดอย) เพื่อเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบและสร้างสรรค์พื้นที่วัฒนธรรม ซึ่งจากการดำเนินโครงการ ฯ เมืองแม่แจ่มได้เกิดพื้นที่วัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ โรงเรียนเมืองเด็ก, ศูนย์ผะหญาเมืองแจ๋ม บ้านไร่, โรงเรียนราชประชา 31, โรงเรียนแม่แจ่ม, โรงเรียนสาธิตสมเด็จย่า ฯ และศูนย์หัตถกรรมบ้านท้องฝาย เกิดพื้นที่วัฒนธรรมในงานเทศกาล มหกรรมผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่มฯ และเกิดพื้นที่วัฒนธรรมในย่านการค้าขาย ได้แก่ ร้านค้าบ้านท้องฝาย และพื้นที่แจ่มจริง ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการวัฒนธรรม ได้ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 15 โครงการ รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมเมืองแม่แจ่ม ด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เกิดกลุ่มผู้ประกอบการวัฒนธรรม จำนวนไม่น้อยกว่า 10 กิจการ โดยมีผลตอบแทนทางการเงิน (Return on Investment: ROI) จากการลงทุนในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมโดยรวม เท่ากับ 3.39 โดยพบว่า ผู้ประกอบการ “กลุ่มแจ่ม แจ่ม” มีผลตอบแทนทางการเงินจากการลงทุนสูงที่สุด คือ 14.61 รองลงมาคือผู้ประกอบการด้านงานไผ่ “ชิน นา วะ” ให้ผลตอบแทนจากการลงทุน 2.41 และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน “แจ่มจริง” ให้ผลตอบแทนจากการลงทุน 2.36 ตามลำดับ และในส่วนของผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) ในภาพรวม เท่ากับ 3.63 เท่า โดย “กลุ่มแจ่ม แจ่ม” ให้ผลกระทบทางสังคมสูงสุด

Title

Cultural Economy Driving towards Social and Local Economy of Mae Cheam District, Chiangmai Province.

Keywords

Cultural Capital,Local Economy,Local Consciousness

Abstract

The research project “Cultural Capital Driving towards Social and Local Economy in Mae Cheam District, Chiangmai Province” aimed 1) to coordinate social mechanisms to continue, develop, and build awareness of the cultural way of Mae Chaem through the management, design, and creation of the cultural area in Mae Chaem district 2) to build the potential and increase the competency of cultural entrepreneurs and social enterprises in Mae Chaem district to generate income based on cultural capital 3) to develop and increase the value of cultural products in Mae Chaem district according to the value chain with knowledge and innovation and 4) to measure and assess the local economy and social impacts from cultural capital in Mae Chaem, Chiang Mai Province. The cultural capital management (coordinate-build-reinforce) started with coordinating the cooperation mechanisms of network partners both inside and outside the area to collect and utilize data from the cultural map leading to the utilization of the 8 identities of Mae Chaem (Man, Buddhism, Spirit, Wisdom, Bamboo, Textile, Field, Mountain) as the main concepts for designing and creating the cultural spaces. According to the mentioned management, there have been cultural spaces for learning: Muang Dek School, Pha Ya Muang Chaem Center at Baan Rai, Rajaprajanugroh 31 School, Mae Chaem School, The Royal Grandmother Community Demonstration School, and Tong Fai Handicrafts Center, the cultural space at Mae Chaem Municipality called “Mae Chaem Teen Jok Festival”, and the cultural space amid the trading area: Tong Fai Shop, Chaemjing Space. For increasing competitiveness for cultural entrepreneurs, at least 15 workshop projects were conducted, and the cultural products of Mae Chaem were value-added with knowledge and innovation in the supply chain leading to emerging not less than 10 cultural entrepreneurs. Return on Investment (ROI) from investment in organizing various activities for the development of cultural entrepreneurs was 3.39. It was found that the entrepreneur “Chaem Chaem” had the highest financial return on investment at 14.61, followed by the entrepreneur in bamboo crafts “Shin Na Wa” at 2.41, and the community enterprise group “Chaemjing Shop” at 2.36 respectively. Social Return on Investment (SROI) of all the cultural entrepreneurs was 3.63.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น