การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 20 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640086
นักวิจัย รองศาสตราจารย์ ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 พฤศจิกายน 2022
ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
สถานที่ทำวิจัย อุบลราชธานี

ชื่อโครงการ

การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ

ทุนทางวัฒนธรรม,เศรษฐกิจสร้างสรรค์,เขมราฐ

บทคัดย่อ

โครงการการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานสี่ข้อ ประกอบด้วย (1) เพื่อบูรณาการภารกิจของมหาวิทยาลัยร่วมกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาพื้นที่อำเภอเขมราฐ (2) เพื่อนำแผนที่วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น (3) เพื่อจัดการทุนวัฒนธรรมไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม กิจกรรมทางวัฒนธรรม พื้นที่วัฒนธรรม การบริการทางวัฒนธรรม และนวัตกรรมทางวัฒนธรรมและ (4) เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการวัฒนธรรมอำเภอเขมราฐ และส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อำเภอเขมราฐ ดำเนินโครงการในพื้นที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย (1) กลไกและเครือข่ายการทำงานการทำงานในระดับมหาวิทยาลัย การเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม หน่วยงานต่างๆ ในนามตัวแทนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เครือข่ายการทำงานในพื้นที่อำเภอเขมราฐ และหน่วยงานในจังหวัดอุบลราชธานี (2) การจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บท การอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า อำเภอเขมราฐ (3) การนำข้อมูลจากระบบแผนที่วัฒนธรรมจำนวน 60 รายการ ลงในระบบฐานข้อมูลของ https://cnk-web.com/culturall/index.php และเผยแพร่แผนที่วัฒนธรรมในพื้นที่อำเภอเขมราฐ และช่องทางออนไลน์ (4) การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับสถานศึกษา 7 แห่งในอำเภอเขมราฐ ผ่าน www.khemarat.ubu.ac.th (5)ระบบฐานข้อมูลช่างหัตถกรรมชุมชน การจัดจำหน่ายออนไลน์ การสั่งทำล่วงหน้าเป็นตัวแบบในการเก็บรวบรวมฐานข้อมูลช่างหัตถกรรมชุมชน และการพัฒนาเว็บไซต์และระบบคลังข้อมูลแบบผสมผสาน (Hybrid Data Warehouse) (6) การสร้างสรรค์บทเพลง ลำตังหวาย จากบ้านม่วงเจียด ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี และบทเพลง “ฟื้นใจเมืองเขมราฐ” และได้ร่วมผลักดันจังหวัดอุบลราชธานีสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีของยูเนสโกผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ (7) กิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ได้ร่วมดำเนินการกับภาคีเครือข่ายในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี (8) การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวและด้านการตลาดผ่านกรณีศึกษาของ “กลุ่มชูฮัก” และ “พิพิธภัณฑ์ตำบลเจียด(วัดถ้ำพระศิลาทอง)” เส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงในพื้นที่อำเภอเขมราฐ เส้นทางท่องเที่ยวด้วยจักรยานในพื้นที่ตำบลเขมราฐ และการจัดการวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาตำบลนาแวงและตำบลหนองนกทา (9) การพัฒนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมทั้งกลุ่มงานหัตถกรรม กลุ่มอาหาร และกลุ่มบริการทางวัฒนธรรม รวม 15 กลุ่ม (10) ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ชี้ให้เห็นว่า การประเมินผลตอบแทนสังคม (SROI) พบว่า การลงทุนของโครงการ 3,500,000 บาท ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) มีค่าเท่ากับ 1: 7.048 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา (1) การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วางแผนการประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ กิจกรรมการท่องเที่ยวในด้านต่างๆ เพื่อให้อำเภอเขมราฐเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น (2) การวางแผนการบริหารจัดการพื้นที่ถนนคนเดินเขมราฐระหว่างเทศบาลตำบลเขมราฐและผู้ค้า (3) เทศบาลตำบลเขมราฐควรสนับสนุนให้มีพื้นที่ให้บริการ Free Wifi บนถนนคนเดินเขมราฐ (4) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรจัดเวทีประชาคมเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว ที่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อชุมชนเป็นสำคัญ (5) การพัฒนาทักษะการบริการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์การบริการให้ผู้ประกอบการบริการทางวัฒนธรรมอื่นๆอย่างต่อเนื่อง (6) การจัดกิจกรรมในเช้าวันอาทิตย์ให้มีความหลากหลาย เพื่อให้นักท่องเที่ยวขยายเวลาพำนักในอำเภอเขมราฐมากขึ้น (7) รูปแบบประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ แผ่นป้าย ตราสัญลักษณ์ QR CODE เป็นการนำเสนอข้อมูลของผู้ประกอบการ ช่วยให้การประชาสัมพันธ์เป็นไปได้กว้างขวางและรวดเร็วขึ้น (8) การจัดทำแผนการตลาดระบบฐานข้อมูลช่างหัตถกรรมชุมชน และระบบจัดจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรมออนไลน์และระบบการสั่งทำล่วงหน้า (9) การพัฒนาระบบคลังข้อมูลแบบผสมผสาน ควรเพิ่มการฝึกสอนแบบจำลองเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มการให้บริการข้อมูลไปยัง Platform อื่น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวัฒนธรรม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (1) ภาคีเครือข่ายการพัฒนาพื้นที่ควรให้ความสำคัญกับความสมดุลด้านการพัฒนาทั้งคุณค่าด้านศิลปะวัฒนธรรมและคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมกับคุณค่าด้านเศรษฐกิจ (2) ผู้กำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวควรสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวที่ถูกกำหนดบนพื้นฐานของมุมมองนักท่องเที่ยว (Demand side) เน้นรูปแบบของการท่องเที่ยวแบบถวิลหาอดีต (Nostalgia tourism) อันเป็นจุดเด่น (3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานีควรส่งเสริมให้สถานศึกษานำข้อมูลจากงานวิจัยต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่นของตนเอง (4) หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาควรสร้างนโยบาย แนวทาง โครงการ และมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้จังหวัดอุบลราชธานีก้าวสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีของยูเนสโก (5) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีควรขยายผลการทำงานพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยทุนทางวัฒนธรรมไปยังพื้นที่อำเภออื่นๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี อาทิ อำเภอนาตาล ที่มีทุนทางวัฒนธรรมเชื่อมโยงกับอำเภอเขมราฐ (6) หน่วยงานด้านการส่งเสริมการวิจัยของประเทศควรสนับสนุนโครงการวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่

Title

The cultural capital management for creative economy promotion in Khemarat district, Ubon Ratchathani province

Keywords

cultural capital,creative economy,khemarat

Abstract

The Cultural Capital Management Project to Promote the Creative Economy of Khemarat District, Ubon Ratchathani Province has four objectives: (1) to integrate the missions of the university with the work of the network parties in developing the Khemarat District area, (2) to use the cultural map as a tool for developing the area to elevate the community economy and local consciousness, (3) to manage the cultural capital towards the development of cultural products, cultural activities, cultural areas, cultural services and cultural innovations and (4) to increase the incomes of the cultural entrepreneurs in Khemarat District and promote the creative economy of Khemarat District. The project was implemented in Khemarat District, Ubon Ratchathani Province using multimethod research, qualitative and quantitative research. The implementation results are (1) the mechanism and network of work at the university level, the opening of the Bachelor of Arts Program in Innovation in Cultural Heritage Management, agencies representing Ubon Ratchathani University and the network of the work in Khemarat District and agencies in Ubon Ratchathani Province, (2) the development of the master plan and master chart for the conservation and development of the old quarter of Khemarat district, (3) the entry of 60 pieces of information from the cultural map system into the database system of https://cnk-web.com/culturall/index.php and the publicity of the cultural map in the Khemarat District area and through online channels (4) the development of a local curriculum of Ubon Ratchathani Province in collaboration with 7 educational institutions in Khemarat District through www.khemarat.ubu.ac.th, (5) a community handicraft artisan database system, online distribution, pre-order, being a model for the compilation of the community handcraft artisan database and the development of a website and a hybrid data warehouse, (6) The composition of a lam tang wai song from Ban Muang Chiat, Chiat Subdistrict, Khemarat District, Ubon Ratchathani Province and the song “Reviving the Heart of Khemarat City” and the participation in the propulsion of Ubon Ratchathani Province into the musical part of UNESCO’s Creative Cities Network through performing various activities, (7) cultural activities implemented in collaboration with network parties in Khemarat District, Ubon Ratchathani Province, (8) creative tourism, the development of products pertaining to tourism and marketing through the case study of the “Chuhak Group” and “Chiat Subdistrict Museum (Wat Tham Phra Sila Thong)”, a linked-tourism route in the Khemarat District area, a route for bicycle touring in the Khemarat Subdistrict area and cultural management for tourism: A Case Study of Na Wang Subdistrict and Nong Nok Tha Subdistrict, (9) the development of cultural entrepreneurs in the handicraft, food and cultural service groups, totaling 15 groups, (10) the result of the analysis of the social return on investment indicates that from the evaluation of the social return on investment (SROI), it is found that from investment of 3,500,000 baht for the project, the amount of the social return on investment (SROI) was 1: 7.048. Recommendations for development: (1) building cooperation with network parties, planning the publicity of the tourist routes, new tourist attractions, tourism activities in diverse dimensions in order to make Khemarat District known to more people, (2) planning the administration of the pedestrian zones of Khemarat by the joint action of the Khemarat Subdistrict Municipality and traders, (3) the Khemarat Subdistrict Municipality should encourage the existence of areas with Wi-Fi service in the pedestrian zones of Khemarat, (4) the local relevant agencies should organize civil society forums for the management of cultural areas for tourism with impacts on the environment and community as the major concern, (5) Continuous development of service skills and service products for entrepreneurs of other cultural services, (6) organizing diverse activities for Sunday mornings in order for tourists to extend their stay in Khemarat District more. (7) The forms of publicity, publicity through website, plate, logo and QR code, which are presentation of the entrepreneurs’ information, allowing broader and faster publicity, (8) developing a marketing plan with the use of the community handicraft artisan database system, an online cultural goods distribution system and a pre-order system. (9) Development of hybrid data warehouse. Simulation-based training should be increased and the information service rendered to other platforms should be increased so as to be cultural information exchange. Policy recommendations: (1) The area development network parties should attach importance to the balance of the development, the development of the value in terms of art and culture and the value in terms of environment and economy. (2) Tourism-policy makers should promote the development of tourist routes based on the tourists’ viewpoints (demand-side development) with emphasis on the nostalgia tourism style, which is the highlight. (3) The educational service area offices in Ubon Ratchathani Province and the Ubon Ratchathani Provincial Education Office should encourage educational institutions to use the information from local pieces of researches to develop their own local programs. (4) The public and private agencies and educational institutions should create policies, approaches, projects and measures to encourage Ubon Ratchathani Province to progress towards being UNESCO’s musically creative city. (5) Ubon Ratchathani University should expand its spatial development work with cultural capital to other districts in Ubon Ratchathani Province, such as Na Tan Subdistrict, that have cultural capital related to Khemarat District. (6) The nations research promotion agencies should support research projects about art and culture for spatial development.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น