การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ด้วยนวัตกรรมสำหรับชุมชน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 6 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640057
นักวิจัย นางสาวภรณี หลาวทอง
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 16 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 16 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย สุรินทร์

ชื่อโครงการ

การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ด้วยนวัตกรรมสำหรับชุมชน

คำสำคัญ

ไหม,นวัตกรรม,แปลงหม่อน,โรงเรือนเลี้ยงไหม,การย้อมสีธรรมชาติ,การเตรียมเส้นไหม,สินค้าพรีเมี่ยม,เส้นใยฟางข้าว,เส้นไหมตีเกลียว,ผู้ประกอบการ,วิถีปกติใหม่,ระบบสารสนเทศดิจิตอล,การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

โครงการการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ด้วยนวัตกรรมสำหรับชุมชน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการสร้างต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and innovation platform) 2) เพื่อการนำนวัตกรรมการผลิตเข้าสู่การผลิตของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อการสร้างนักวิจัยชาวบ้าน/นวัตกรชาวบ้าน 4) เพื่อการถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมาย และ 5) เพื่อการทำแผนพัฒนาตำบล/ท้องถิ่นที่สามารถเชื่อมต่อกับแผนพัฒนาจังหวัด โดยดำเนินการ ณ กลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 10 ตำบล 11 โครงการย่อย ระยะ 12 เดือน ระหว่างวันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ถึง วันที่ 15 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2565 วิธีดำเนินงานวิจัยและการขับเคลื่อนผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพของกระบวนการผลิตผ้าไหมพื้นเมือง 2) การสร้างต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรม 3) การนำนวัตกรรมการผลิตเข้าสู่การผลิตของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ 4) การสร้างนักวิจัยชาวบ้าน/นวัตกรชาวบ้าน 5) การถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมาย และ 6) การทำแผนพัฒนาตำบล/ท้องถิ่นที่สามารถเชื่อมต่อกับแผนพัฒนาจังหวัด ผลการดำเนินงานชุดโครงการ รายละเอียดดังนี้ การสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไหมด้วยการผลักดันให้กลุ่มผู้ผลิตผ้าไหม 11 โครงการย่อย 12 ชุมชน เข้าสู่กระบวนการตรวจประเมินเพื่อการรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทาน ซึ่งผ้าไหมของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านประเมินเพื่อการรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทานสีทอง จำนวน 11 ตรานกยูงพระราชทานสีเงิน จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ และตรานกยูงพระราชทาน สีน้ำเงิน จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนไหมด้วยการผลักดันกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหม 5 โครงการย่อย เข้าสู่กระบวนการตรวจประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนของกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยงและกีฬา โดยเข้ารับการขอตรวจประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community – Based Tourism: CBT) ซึ่งเป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาและได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว ดังนี้ 1) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ตรวจประเมินวันที่ 25 เมษายน 2565 (เบื้องต้นผ่านการประเมินจากคณะกรรมการฯ) 2) ชุมชนบ้านปราสาท ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ตรวจประเมินวันที่ 26 เมษายน 2565 (เบื้องต้นผ่านการประเมินจากคณะกรรมการฯ) 3) กลุ่มทอผ้าไหมบ้านหมื่นชัย ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ตรวจประเมินวันที่ 27 เมษายน 2565 (เบื้องต้นผ่านการประเมินจากคณะกรรมการฯ) 4) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแกใหญ่ ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ (ไม่ผ่านการประเมิน) 5) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องประดับเงินและทองเหลืองบ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ (จะเข้ารับการตรวจประเมินวันที่ 30 มิถุนายน 2565) การดำเนินงานโครงการย่อยด้วยการนำนวัตกรรมการผลิตเข้าสู่การผลิตของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมทอมือจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 18 นวัตกรรมหลัก 24 นวัตกรรมย่อย ผลการดำเนินงานโครงการดังนี้ 1. การพัฒนานวัตกรภายใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ด้วยนวัตกรรมสำหรับชุมชน จำนวน 27 คน 2. อัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากและมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน เมื่อพิจารณาจากรายได้สุทธิก่อนมีโครงการรวมทั้ง 11 โครงการมีค่า = 23,621.20 บาท รายได้สุทธิหลังมีโครงการ รวมทั้ง 11 โครงการมีค่า = 53,870.15 บาท รายได้เพิ่มรวมทั้ง 11 โครงการมีค่า = 27,048.95 บาทต่อเดือน และร้อยละการเปลี่ยนแปลงมีค่า = 55.55 กรณีคิดค่าเฉลี่ยรายได้สุทธิก่อนมีโครงการต่อโครงการมีค่า = 2,624.58 บาท ค่าเฉลี่ยรายได้สุทธิหลังมีโครงการมีค่า = 4,143.86 บาท และค่าเฉลี่ยรายได้เพิ่มมีค่า = 2,080.69 บาทต่อเดือน บทเรียนและข้อค้นพบจากการวิจัย การกำหนดกลไกการทำงานอย่างมีส่วนร่วมระดับพื้นที่ เครือข่ายการทำงานอย่างมีส่วนร่วมระดับพื้นที่ และการแบ่งหน้าที่การทำงานที่สอดคล้องกับภารกิจของเครือข่ายการทำงานระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมชุมชนในการสร้างเศรษฐกิจฐานรากตลอดจนสร้างชุมชนที่มีขีดความสามารถในการจัดการตนเองอย่างยั่งยืนที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินงานวิจัย เป็นกลไกสำคัญของการพัฒนา ยกตัวอย่างเช่น การส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมขอรับรองตรานกยูงพระราชทานนกยูง เป็นการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของเครือข่ายระดับพื้นที่ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพอีสานใต้ ทำหน้าที่สนับสนุนด้านวิทยากรและสถานที่การฝึกอบรม ศูนย์หม่อนไหมและศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดสุรินทร์ ทำหน้าที่สนับสนุนด้านวิทยากร จัดกิจกรรมติดตามและประเมินผลการขอรับรองตรานกยูงพระราชทานนกยูง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกระบวนการ คำสำคัญ: เทคโนโลยีพร้อมใช้, กระบวนการผลิตผ้าไหม, นวัตกรชาวบ้าน

Title

Development Potential of Silk Producers in Surin Province with Innovation Community

Keywords

Silk,Innovation,Mulberry Plots,Silkworm Greenhouse,Natural Dyeing,Silk Preparation,Premium Product,Straw Fiber,Spun Silk,Entrepreneur,New Normal,Digital Information System,Tourism

Abstract

The development of the potential of silk production group in Surin province project was conducted with the integration of innovation for the community with the purposes of 1) creating the learning and innovation platform, 2) integrating the innovation to silk production of silk production group in Surin province,3) developing the local researcher/local innovators, 4) passing on knowledge and innovation according to the target group context, and developing plans for sub-district/local are development that links to the provincial development plan. It was conducted with the silk production groups in 10 sub-districts. The duration of the project was 12 months; from May 16, 2021, to May 15, 2022. The research implementation and the operation of the research finding are to utilize with the participation of stakeholders as follows, 1) studying the condition of local silk production, 2) developing the learning model and innovation, 3) integrating the innovation into the production of silk production group in Surin province, 4) developing local researchers/local innovators, 5) passing on knowledge and innovation according to the target group context, and 6) developing plans for sub-district/local area development that link to the provincial development plan The result of the operation of the project was as follows, The development of new product standard by impelling the silk production groups in 11 sub-project in 12 communities to the process of request for the evaluation for Thai Royal silk certification, Peacock brand. All the products of silk production groups that joined the project passed the evaluation and earned 11 Royal Thai Silk; Nok Yoong Tong (Gold peacock) certifications, 5 Nok Yoong Ngern (silver peacock) certifications, and 10 Nok Yoong Nam Ngern (blue peacock) certifications. The network development for silk community tourism was conducted by impelling the silk production groups into 5 sub-project to the process of request for the evaluation of Community–Based Tourism (CBT) by the Department of Tourism, Ministry of Tourism and Sports. It was the instrument that strengthens the villagers organization to manage the natural resources and culture. It was the process of participation of people in the community to set the direction of their development and they got the results as follows, 1) The community enterprise of the housewives group at Ban Poe Kong village, Chuepleng sub-district, Prasart district, Surin province, was evaluated on April 25, 2022 (preliminary, they were considered as qualified by the committees), 2) Ban Prasart community, Chuepleng sub-district, Prasart district, Surin province was evaluated on April 26, 2022 (preliminary, they were considered as qualified by the committees), 3) Ban Muen Chai silk production group, Kra Tiam sub-district, Sang Ka district, Surin province was evaluated on April 27, 2022 (preliminary, they were considered as qualified by the committees), 4) The community enterprise of Ban Gae Yai village, Gae Yai sub-district, Mueng district, Surin province, (not passed the evaluation). 5) The silver and bronze ornaments community enterprise of Ban Na Dang village, Kwao Sinarin sub-district, Surin province (will be evaluated on June 30, 2022) The operations of the sub-projects were conducted by integrating the 18 major innovations and 24 minor innovations into the production of the hand-made silk production groups in Surin province. The results were found as follows, 1. 27 local innovators were developed by the project of potential development for silk production groups in Surin province. 2. The growth rate in the value of the economic foundation and the price of the community products increased, the total income of the community before the project was 23,621.20 baht whereas the total income of the community after the project was 53,870.15 baht. The income increased by 27,048.95 baht per month and the percentage of the change was 55.55. The lessons and findings of the research with the participation of local organizations and networks in the areas that work together according to the network mission to develop the community innovation that helped develop the grassroots economy and develop the community that was able to manage themselves sustainably in every step of the research process as a key mechanism in the development. For example, supporting the silk production group in the process of request for the evaluation for Thai Royal silk certification, It was the operation of local networks including, 1) The Support Arts and Crafts Centre South Isan, which supported the lecturer and location for training, and 2) Chalerm Prakiat Sericulture center, Surin province that supported the lecturers and followed up the process of certifying the Thai royal silk, which was managed by Rajamangala University of Technology Isan. Keywords: Ready-to-use technology, silk production, local innovator

สำหรับสมาชิกเท่านั้น