การบริการและผลิตภัณฑ์ชุมชนจากศิลปะและวัฒนธรรมในปกติวิถีใหม่ ณ ชุมชนแกดำ มหาสารคาม

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 24 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640088
นักวิจัย นางสาวมลฤดี เชาวรัตน์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 สิงหาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน
สถานที่ทำวิจัย มหาสารคาม

ชื่อโครงการ

การบริการและผลิตภัณฑ์ชุมชนจากศิลปะและวัฒนธรรมในปกติวิถีใหม่ ณ ชุมชนแกดำ มหาสารคาม

คำสำคัญ

การท่องเที่ยว,ออกแบบผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการจัดทำแผนที่วัฒนธรรม นำทุนทางศิลปวัฒนธรรมไปเพิ่มรายได้ให้ชุมชนด้วยการพัฒนากลไกความร่วมมือและแผนความร่วมมือกับภาคีหลัก เกิดการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจ และบูรณาศาสตร์ภารกิจที่สี่ของมหาวิทยาลัย แนวคิดหลักที่นำมาใช้ในการวิจัยคือ สาน-สร้าง-เสริม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเพื่อการพัฒนา วิธีการศึกษาเป็นวิธีการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรม การสำรวจภาคสนาม การสังเกตการณ์ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของอำเภอแกดำ ประกอบด้วย สะพานไม้แกดำ กบใหญ่แกดำ หลวงปู่จ้อย บุญบั้งไฟกบใหญ่แกดำ และการเซิ้งกระโจม คำสำคัญที่แสดงอัตลักษณ์คือ “ความอุดมสมบูรณ์” หมู่บ้านที่มีดัชนีความเสี่ยงทางวัฒนธรรมสูงที่สุดคือ บ้านหนองดุก ประเภทงานที่มีความเสี่ยงทางวัฒนธรรมสูงสุด คือ งานช่างฝีมือ เนื่องจากขาดทายาทสืบทอดภูมิปัญญา โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรมรวม 32 รายการ แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม จำนวน 15 รายการ และบริการทางวัฒนธรรม จำนวน 17 รายการ อัตราส่วนผลตอบแทนทางสังคม ต่อการลงทุน 1 บาท เท่ากับ 3.79 อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 44.16%

Title

Community Services and Products from Art and Culture in a New Normal in Kae Dum Community, Maha Sarakham

Keywords

Tourism,Product Design

Abstract

The objectives of this project were to enhance cultural mapping, to bring arts and cultural capital to increase income for the community by developing cooperation mechanisms and cooperation plans with key stakeholders, to increase the local economy, and to integrate the fourth mission of the university. The main concept used in the research was ‘Engagement-Enrich-Enhance’. The research was categorized as the ‘Research and development’, with mixed methods consisting of literature review, field survey, observation, questionnaire, focus group, and in-depth interview. Data analysis was done by descriptive statistics. The results showed that the distinctive identity of Kadam District consisted of the Kaedum wooden bridge, Kaedum big frog, Luang Pu Zhoi (the Buddhist monk), Boon Bung Fire Kop Yai Kaedum (Isan Rocket festival), and Sernk Krajom (Isan traditional Dance). ‘Fertility’ was defined as the key word for Kaedum. The village with the highest cultural capital risk index was Ban Nong Duk, while the type of work that had the highest cultural capital risk was craftsmanship due to lack of heirs to inherit the wisdom. The research developed 32 items of 15 products and 17 cultural services. The Social Returns of Investment (SROI) was 3.79 Baht and the Returns of Investment (ROI) was 44.16%.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น