การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมด้วยการยกระดับศักยภาพด้านการท่องเที่ยว นโยบายสาธารณะ วิสาหกิจชุมชน และผลิตภัณฑ์ชุมชน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 112 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640050
นักวิจัย รศ.ดร. สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยพะเยา
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 16 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 15 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย พะเยา

ชื่อโครงการ

การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมด้วยการยกระดับศักยภาพด้านการท่องเที่ยว นโยบายสาธารณะ วิสาหกิจชุมชน และผลิตภัณฑ์ชุมชน

คำสำคัญ

ชุมชนนวัตกรรม,นวัตกรรม,แบบแผนการเรียนรู้,แบบแผนนวัตกรรม,มูลค่าทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว,นโยบายสาธารณะ,ผลิตภัณฑ์ชุมชน,วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

โครงการ “การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมด้วยการยกระดับศักยภาพด้านการท่องเที่ยว นโยบายสาธารณะ วิสาหกิจชุมชน และผลิตภัณฑ์ชุมชน” ดำเนินโครงการบนกรอบแนวคิด บทบาทการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ ตามนโยบายการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) โดยการดำเนินเพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้ สู่การใช้ประโยชน์จริงในชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผนวกกับ การทำงานเชิงพื้นที่อย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยพะเยา ตามปณิธาน “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน” โครงการนี้มีจำนวน 16 โครงการย่อย มีการดำเนินงานในพื้นที่จำนวน 16 ตำบลของจังหวัดพะเยา ซึ่งโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการเรียนรู้และปรับใช้นวัตกรรม สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงและจัดการปัญหาในชุมชนได้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ 10 ชุมชน ของจังหวัดพะเยา และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่การเป็นชุมชนนวัตกรรมด้วยกลไก (1) สร้าง Learning and innovation platform (2) สร้างนักวิจัยชาวบ้าน/นวัตกรชาวบ้าน (3) ถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมาย (4) สร้างนวัตกรรมเข้าสู่การทำแผนพัฒนาตำบล/ ท้องถิ่นสามารถเชื่อมต่อกับแผนพัฒนาจังหวัด โครงการวิจัยนี้มีแนวทางในการบริหารจัดการโดยมีผู้บริหารระดับรองอธิการบดี เป็นผู้กำกับดูแล และส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตั้งแต่ระยะต้นน้ำ โดยการกำหนดกรอบแนวคิด นโยบาย กลยุทธ์ ในการบริหารจัดการ กำหนดโครงสร้างการบริหารแผนงาน พัฒนาประเด็นโจทย์วิจัยโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ระยะกลางน้ำ โดยสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการ การจัดทำสัญญา ด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน การติดตาม/ ประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการด้วยคณะกรรมการ Model Appreciative Inquiry (MAI) สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานในระยะปลายน้ำ โดยจัดให้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถอดบทเรียน (Knowledge Management; KM) เพื่อให้ได้มาซึ่ง Learning and Innovation Platform (LIP) ของแต่ละพื้นที่ และการให้รางวัลและการจัดนิทรรศการและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน กิจกรรมติดตามการดำเนินงานโครงการภายใต้แผนงานชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อประเมินผลกระทบทางสังคม (SROI) ทำให้การดำเนินงานในพื้นที่ 16 ชุมชน โดย 16 โครงการย่อย บรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ ดังนี้ 1) เกิด 16 ชุมชนนวัตกรรม 2) เกิด 16 นวัตกรรม/ เทคโนโลยีพร้อมใช้ 3) เกิดนวัตกรชุมชน/ นักวิจัยชาวบ้าน จำนวน 144 คน 4) รายได้สุทธิใน 5 ปีดำเนินการ ผลการวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) เท่ากับ 17,358,084.92 บาท เกิดผลกระทบทางสังคม (SROI) เท่ากับ 14.28% และผลกระทบทางเศรษฐกิจ (ROI) 2.8289766395) เกิดกระบวนการการเรียนรู้ Learning and Innovation Platform จำนวน 16 กระบวนการ นอกจากนี้ยังได้มีการบูรณาการร่วมกับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) (U2T) และใช้กลไกการเป็น อว.ส่วนหน้าของจังหวัดพะเยา ทำให้เกิดการเชื่อมโยงโครงการกับการพัฒนาจังหวัด โดยได้เสนอโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่ร่วมกับแผนงบประมาณจังหวัดพะเยา และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 จำนวน 17 โครงการ เพื่อเป้าหมายพัฒนาจังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดแห่งชุมชนนวัตกรรมต่อไป

Title

Smart community development by improving tourist capacity ,public policy, local enterprises and the local products.

Keywords

Smart community,Innovation Platform,Learning Platform,Economics Impact,Tourism,Public Policy,Local Enterprise,Local Products

Abstract

The project “Developing Innovative Communities by Enhancing Tourism Potential, Public Policy, Community Enterprise and Community Products” adopts the project on the conceptual framework in the role of university to develop the area in accordance with the Reinventing University policy by applying knowledge to the practical work in communities for sustainable development in accordance with the Sustainable Development Goals (SDGs) concept, combined with continuous constant work of the University of Phayao according to the aspiration “Wisdom for the Strength of the Community” The Phayao Provinces 16 sub-districts are the locations of the 16 sub-projects that make up this project. The project seeks to establish a management model to become an innovation community through mechanisms and increase the communitys capacity to learn and apply innovation to be able to apply knowledge to change and manage problems in communities sustainably in 10 communities of Phayao Province. (1) Build a platform for learning and innovation (2) Create village researchers / village innovators (3) Share information and innovations that are appropriate for the target groups circumstances. (4) Include new ideas in the district/local development plan that can be linked to the national development strategy. This research project uses a management approach with an executive at the vice chancellor level as a supervisor, sponsor, and supporter of operations from the upstream stage by defining conceptual frameworks, policies, and strategies in management, determine the plan management structure, and develop research issues through participatory processes in the beginning by determining plan, policy, and strategy for management. He also establishes the management structure for the plan. He is also responsible for establishing management, contracting, finance, treasury, procurement, and activities to support operations, monitoring/evaluating project progress with the Model Appreciative Inquiry (MAI) committee, and supporting downstream operations by offering Knowledge Management (KM) in order to acquire the Learning and Innovation Platform (LIP) in each area will help to develop research issues through participatory processes in the middle of the process. The Innovation Community for Sustainable Development Plan for Social Impact Assessment (SROI) resulted in operations in 16 communities by 16 sub-projects achieving goals and according to the indicators set out as follows: They are also responsible for awarding, organizing exhibitions, and disseminating results. 1) 16 innovative localities 2) 16 novel ideas or available technologies 3) 144 village researchers and inventors 4) Net Present Value: NPV after years 5 equivalent to 17,358,084.92 Baht, with a social return on investment (SROI) of 14.28 percent and an economic return on investment of 2.8289766395. 16 platforms for innovation and learning are also available. Additionally, it uses the Front Office of Phayao Province method and has been merged with the integrated sub-district socio-economic upgrading project (1 sub-district, 1 university), which creates a connection between the project and the development of the province. The area will be developed as part of the 17 projects included in the Phayao Province budget plan and the Upper Northern Province Group 2 to help the province achieve its development goals of being a hub for innovation.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น