การยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการบนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีตลอดห่วงโซ่คุณค่า

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 21 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640022
นักวิจัย รศ.ดร. สมหมาย ผิวสอาด
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 16 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 15 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
สถานที่ทำวิจัย ชลบุรี, ปทุมธานี

ชื่อโครงการ

การยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการบนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีตลอดห่วงโซ่คุณค่า

คำสำคัญ

ห่วงโซ่คุณค่า,มูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์กล้วย,กล้วยแปลงใหญ่,เศรษฐกิจหมุนเวียน,ผู้ประกอบการชุมชน

บทคัดย่อ

กล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้าเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ดังนั้นเพื่อการยกระดับขีดความสามารถ Local enterprise ด้วยการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ โดยการใช้ทรัพยากรพื้นถิ่น (กล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้า จ.ปทุมธานี) เกิดการดูดซับแรงงาน เกิดการสร้างและจ้างงานแรงงานในพื้นที่ ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่กระจายรายได้ถึงกลุ่มเกษตรต้นน้ำผู้ปลูกกล้วย เกิดโครงสร้างการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ด้วยการขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่พัฒนากระบวนจัดการสร้างคน-ของ-ตลาด โดยมีวัตถุประสงค์ (1) พัฒนาและต่อยอดกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้า จังหวัดปทุมธานี ให้ตอบโจทย์ตลาดและตรงใจผู้บริโภค ด้วยการใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมการวิจัย (2) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดของกลุ่ม Local Enterprise ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าของกล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้า จังหวัดปทุมธานี (3) ยกระดับห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้า จังหวัดปทุมธานี สู่การจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (Network Value Chain) ด้วยระบบและกลไกการบริหาร/จัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย และ (4) สร้างกลไกการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยในการพัฒนางานวิจัยพาณิชย์ที่มีผลกระทบสูงที่ตอบสนองการแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพตามโจทย์สำคัญระดับพื้นที่จังหวัดปทุมธานี แผนงานนี้ประกอบด้วยโครงการวิจัยทั้งสิ้น 4 ชุดโครงการ (14 โครงการย่อย) มีการดำเนินงาน 18 เดือน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเวลา 3 เดือนแรก เป็นวิเคราะห์สภาวการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในห่วงโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์ สภาวการณ์กลุ่ม LE ภายใต้สภาวการณ์โรคระบาด Covid-19 เพื่อนำมาสู่การคลี่ภาพการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่และเชื่อมโยงการวิจัยด้วยระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยย่อย ระยะเวลา 12 เดือน เป็นการดำเนินงานวิจัยตามกรอบวิจัยหลักของแผนงานระดับมหาวิทยาลัย และ 3 เดือนสุดท้าย เป็นการขับเคลื่อนระบบและกลไกด้วยการสร้างโอกาสทางการตลาดและความสามารถในการแข่งขันตลอดห่วงโซ่คุณค่า ระบบบริหารจัดการโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ขับเคลื่อนแผนงานวิจัยนี้ โดยใช้สถาบันวิจัยและพัฒนาเป็นหน่วยจัดการกลางเพื่อเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากภาควิชาการ หน่วยงานภาครัฐ ชุมชน ท้องถิ่นและภาคธุรกิจ บูรณาการกันเป็นภาคีเครือข่ายตลอดห่วงโซ่คุณค่า ร่วมวิเคราะห์ประเด็นปัญหา เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและสร้างโอกาสในการแข่งขัน โดยมีพื้นที่เป้าหมายคือ จังหวัดปทุมธานี ผลจากการคลี่ภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าจากฐานทรัพยากรกล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้า พบว่า กระบวนการสำคัญในการทำงานนี้เกิดขึ้นจากการสร้างระบบและกลไกแบบเสริมพลัง (Synergism platform) ที่ดึงผู้ประกอบการที่เข้มแข็งช่วยกลุ่มที่กำลังพัฒนาในพื้นที่ ได้แก่ เกษตรกรแปลงใหญ่ผู้ปลูกกล้วยหอมทองในและนอกเครือข่าย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรสมุนไพร ตำบลบึงกาสาม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนวดแผนไทย ตำบลนพรัตน์ กลุ่ม Local SME เอ็มไอเอ็ม คอสแลปเมนแฟคทอริ่ง กลุ่ม Local SME บารมี แลปบอราทอรี กลุ่ม Local SME คิง ฟรุทส์ จำกัด วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์สวนฟุ้งขจร วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปพืชอุดม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ คือการยกระดับขีดความสามารถ LE ผ่านกลไกการบริหารที่ทำงานร่วมกับนักวิจัย มทร.ธัญบุรี บนฐานทรัพยากรกล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้าจังหวัดปทุมธานี ได้ 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ (1) กลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ แนวทางการบริหารและจัดการความเสี่ยงผลผลิต คำนวณและลดต้นทุนการปลูก แผนและแนวทางการปลูกตามมาตรฐานการปลูกที่ดี (GAP) สร้างโอกาสทางการตลาดให้กับกลุ่มเกษตรกร และจับคู่ตลาดที่เหมาะสม ด้วยเทคโนโลยีที่เป็นระบบแพลตฟอร์มการบริหารห่วงโซ่อุปทานของกล้วยหอมทอง (2) กลุ่มผู้แปรรูปกลางขั้นน้ำกล้วยหอมทอง ปัญหาวัตถุดิบล้นตลาดและขาดตลาด และปัญหากล้วยตกเกรดประมาณ จำนวนร้อยละ 20 ของผลผลิตกล้วยสด ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50 ของราคาวัตถุดิบ โดยการใช้เทคโนโลยีการแปรรูปผลกล้วยหอมทองดิบตกเกรด ไม่ได้มาตรฐานพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แป้ง เพื่อนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ ผลกล้วยหอมทองสุกตกเกรด กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฟุ้งขจรมีกล้วยหอมตกเกรด และเหลือจากการจำหน่ายจำนวน 200 kg/เดือน คิดเป็นร้อยละ 30 ของผลิตผลทั้งหมด จัดการด้วยเทคโนโลยีการแช่แข็งสามารถช่วยลดการเหลือทิ้งของกล้วยหอมทองสุก และการพัฒนผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถลดการเหลือทิ้งของกล้วยหอมและเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ กลุ่มผู้แปรรูปขั้นกลางน้ำกล้วยน้ำว้า พื้นที่การปลูกกล้วยน้ำว้าและมูลค่าเศรษฐกิจของกล้วยน้ำว้าน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกล้วยหอม ซึ่งมีขั้นตอนการปลูก และการดูแลรักษาที่ง่ายกว่า และมีต้นทุนไม่สูง โดยด้วยกล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่เหมาะกับพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน เกษตรกรปลูกผสมระหว่างนาข้าว สามารถสร้างรายได้เพิ่มตลอดทั้งปี ดังนั้นแนวทางการเพิ่มมูลค่าให้กับกล้วยน้ำว้า ได้แก่ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับผลกล้วยน้ำว้า การพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ จากกล้วยน้ำว้า (กล้วยกรอบคาราเมลธัญพืช) และการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ การให้ความรู้ด้านการบริหารการตลาด การให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเงิน เช่น การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การคำนวณต้นทุนการผลิต เป็นต้น และการสร้างรายได้เพิ่มจากทุกส่วนของกล้วยน้ำว้าที่ต้นกล้วยต้องตัดทิ้งเป็นแนวทางของ Circular Economy นำขอเหลือทิ้งมาเพิ่มมูลค่าเพิ่ม

Title

Enhancing the capabilities of entrepreneurs based on local resources throughout Network Value Chain with BCG Model in Pratumthani Province

Keywords

Network Value Chain,Value-added Banana Products,Large plant of banana,BCG Model,Local enterprise

Abstract

Both Gros Michel and Pisang Awak bananas are significant local industrial drop of Pathum Thani province. In order to elevate the competence and capacity of local enterprises by using local resources (Pathum Thani’s Gros Michel and Pisang Awak bananas), the program has been initiated to establish entrepreneurship; reinforcing local employment which would positively effect businesses including banana farmers. By launching the area-based research aiming to develop manpower, the fair income distribution framework would be executed. The research’s objectives are (1) to develop and accumulate Gros Michel and Pisang Awak bananas’ production process in Pathum Thani province to meet market demands by applying research knowledge and innovation (2) to improve market strategic competence of local enterprises; transforming the driven mechanism for Pathum Thani’s Gros Michel and Pisang Awak bananas’ value chain (3) to enhance Pathum Thani’s banana products’ supply chain to become network value chain by applying the business administrative/management system and mechanism established by the university and (4) to formulate the university’s administrative and management mechanism for the improvement of high-impact commercial research. It is to response to the pivotal objective of Pathum Thani’s strategy for the solubility and improvement of local enterprise’s capacity. This program consists of 4 sets of research (14 sub-researches) conducted within the length of 18 months which divided into 3 phases as follows; first 3 months devoted to the analytic stage; analyzing actual situations of product supply chain, circumstances of the LE groups during Covid-19 pandemic for the thorough analysis of network value chain and the connection of researches by managing the sub-researches within this program. The second phase of 12 months is dedicated to the conduction of research according to the conceptual framework of the academic program and the final 3 months is to drive the system and mechanism by enhancing marketing opportunities and competitive competence throughout the value chain. It is worth noting that Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RUT Thanyaburi) has driven this research program through appointing the research and development institute as a central management unit to connect associated stakeholders from academic institutes, government agencies, community and business sectors and by forming network partners throughout the value chain. All partners are invited to investigate possible issues in attempt to add value to local products and for establishing competitive opportunities within the market by choosing Pathum Thani province as a target area. The result of the investigation indicates that the pivotal process for such attempt rely on synergism platform which attract capable enterprises to invest and reinforce developing local groups namely associated and non-associated Gros Michel mega farms, herbal farm community enterprise at Tambon Bung Ka-sam, Thai massage community enterprise at Tambon Nopparat, MIM Coslab Manufacturing Co., Ltd., Barami Laboratories Co., Ltd., King Fruits Co., Ltd., Fung Kha-jorn organic farm community enterprise, Udom vegetation processor community enterprise and Saeng Tawan community enterprise. According to the research program, the competence and capacity of 2 targeted LE groups had been reinforced by the collaborative administrative mechanism with researchers from RUT Thanyaburi on the basis of local resources; Gros Michel and Pisang Awak bananas from Pathum Thani which are (1) upstream farmers: the risk management guidelines in production, the calculation of cost cutting for cultivation cost as well as cultivation plans and guidelines for good agricultural practices (GAP) had reinforce market opportunities for these groups. The decent business matching using Gros Michel supply chain management platform technology would help fortify the groups as well. (2) Gros Michel mid-stream processors: Addressing the issues on oversupply and shortage of products and the underqualified banana at 20 percent of raw banana products. To respond to such issues, there has been an application of food processing technology in order to produce banana flour from underqualified bananas which could be used as an ingredient for further line of products. Such process added 50 percent more to the value of raw products. Fung Kha-jorn community enterprise suffered from underqualified and oversupplied ripen Gros Michel for 200kg/month or 30 percent of the cultivated products. By applying the frozen food technology, it could reduce the amount of ripen Gros Michel excess, improve and develop new products. Not only did it reduce the amount of banana excess, but also attract and enhance income for the community enterprises. Additionally, Pisang Awak banana acquires less agricultural areas and holds less economic values comparing to Gros Michel. Less attention and fewer cost are required for this type of banana. Pisang Awak is advisable for integrated farming areas specifically rice farmers. This would increase their income with integrated products all year round. Thus, the value adding guidelines for Pisang Awak are focusing on the improvement of new products to increase Pisang Awak price, to develop new formula and production process (crispy caramelized banana with grains) and to transform the management into commercial production as well as to instruct and inform the processors of marketing management and financial management e.g., accounting and cost analysis. The use of all parts of Pisang Awak trees following the circular economy method is also applied in order to increase more income and add value to this type of banana.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น