ศูนย์ประสานงาน/บริหารจัดการเพื่อยกระดับ เสริมศักยภาพของธุรกิจท้องถิ่นพร้อมกับการสร้างแพลตฟอร์มและกลไกการทำงานร่วมกัน มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ปีที่ 2

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 2 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13M640030
นักวิจัย นายบัณฑิต อินณวงศ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 30 พฤศจิกายน 2022
ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, ปทุมธานี

ชื่อโครงการ

ศูนย์ประสานงาน/บริหารจัดการเพื่อยกระดับ เสริมศักยภาพของธุรกิจท้องถิ่นพร้อมกับการสร้างแพลตฟอร์มและกลไกการทำงานร่วมกัน มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ปีที่ 2

คำสำคัญ

วิสาหกิจชุมชน,OTOP,การติดตามและประเมินผล,การยกระดับ

บทคัดย่อ

การสร้างและพัฒนากลไกการยกระดับผู้ประกอบการ Local Enterprise ผ่านการพัฒนากลไกการสร้าง New Engine Platform ที่มีเป้าหมายในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย ที่อาศัยกระบวนการทำงานแบบเสริมพลังพร้อมทั้งการสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการ Local Enterprise-มหาวิทยาลัย- นักวิจัย-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแหล่งทุนในการสนับสนุนทุนวิจัย โดยในปี 2564 หน่วยประสานงานนั้นมุ่งเน้นในการสร้างกลไกการทำงานผ่านการทำงาน 2 รูปแบบ 1) การขับเคลื่อนการทำงานผ่านมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ เป็นการประสานงาน ติดตาม และประเมิน วัดผลการดำเนินงานชุดโครงการมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ (Flagship) ที่ได้รับทุน 15 ชุดโครงการ ให้เป็นไปตามแผนการบริหาร/จัดการ ได้ผลตรงตามเป้าหมายและผลลัพธ์ แบ่งออกเป็นแทร็คประกาศทุน จำนวน 10 โครงการ และแทร็คทาบทาม จำนวน 5 โครงการ ซึ่งมีการทำงานยกระดับและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ Local Enterprise จำนวน 129 กลุ่ม ที่มีความเกี่ยวข้องกับทรัพยากรพื้นถิ่น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ วัตถุดิบสมุนไพร-ผัก-ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ และเครื่องแต่งกาย ผลการดำเนินการจากการใช้เครื่องมือ Network value chain ด้วยกระบวนการวิจัยของนักวิจัยมหาวิทยาลัยในพื้นที่พบว่าสามารถเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบในพื้นที่ (เฉลี่ย) จาก 4 เท่า (Old Value Chain) เป็น 6 เท่า (New Value Chain) และภายใต้การทำงานรวมกับหน่วยประสานงานนี้สามารถผลักดันให้มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่บริหารจัดการงานวิจัยได้ตามเป้าประสงค์ของแหล่งทุน สร้างความเข้าใจต่อรูปแบบการจัดการงานที่มีมุมมองทางด้านธุรกิจที่แข่งขันได้ในตลาดที่แท้จริงภายใต้หลักธรรมาภิบาลการค้า รวมถึงการชี้ให้เห็นถึงแนวทางการดำเนินงานที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ เป็นการสร้างประชาคมวิจัยที่มีโครงสร้างฝังตัวอยู่ในพื้นที่และมีทักษะในการนำองค์ความรู้ไปใช้พัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน และ 2) การขับเคลื่อนการทำงานผ่านผู้ประกอบการโดยตรง โดยสร้างและพัฒนา Platform ใหม่เพื่อยกระดับ (Boost up) ผู้ประกอบการ Local Enterprises จำนวน 500 ราย ในชื่อเครือข่าย “ธุรกิจปันกัน” โดยได้ออกแบบกระบวนการและเครื่องมือที่ใช้สำหรับกำกับ/ติดตามงาน/วัดผลสัมฤทธิ์ของงานผ่านเครื่องมือหลักสูตรการจัดการการเงินที่มี Finance application ที่สามารถติดตาม สภาพคล่อง/รายได้/กำไร-ขาดทุน/สินค้า รวมถึงการเงินระดับครัวเรือน ที่แยกกระเป๋าออกจากการเงินภาคธุรกิจ ที่สามารถรับ-คืนกลับข้อมูลแบบ Real time รวมถึงสามารถประเมิน ROI ได้ และเครื่องมือ Wow project ที่เป็นการจัดการองค์รวมของการประกอบการธุรกิจผ่านมุมมองของการออกแบบด้านการตลาด-แบรนดิ้ง-การผลิต ควบคู่กับการบริการความเสี่ยงของธุรกิจ มาสร้าง new business model ที่เหมาะกับผู้ประกอบการในพื้นที่ และบ่งชี้ให้เห็นแนวทางการเพิ่มผลประกอบการให้เติบโตได้ โดยผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 กำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 มีสภาพคล่องโดยมีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินเพิ่มขึ้น 3.2 เท่าต่อเดือน และหนี้สินลดลงร้อยละ 7 จากผลสำเร็จของพัฒนาผู้ประกอบการผ่านธุรกิจปันกัน หน่วย บพท. ได้จัดมหกรรม Local Enterprise Showcase Expo ภายใต้แนวคิด “Local Enterprise Showcase Expo: คน ของ ตลาด LE Network Value Chain Model” และมอบรางวัลให้แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านคอร์สเศรษฐีเรือนพบว่า ผู้ประกอบการนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองทั้งในด้านสัมมาชีพการมีวินัยทางการเงิน และด้านมืออาชีพ การบริหารจัดการเงินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จะเห็นได้ว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากผู้ประกอบการนั้นไม่นำไปประยุกต์ใช้ด้วยตนเอง จนกระทั่งสู่การสร้างความรู้มือหนึ่งด้วยตนเองผ่านมืออาชีพของตนในวัดผลความสำเร็จของผู้ประกอบการผ่านดัชนีชี้วัด 2 ตัว คือ สัมมาชีพ และมืออาชีพ ผู้ประกอบการเกิดภาวะการตื่นรู้ และการตระหนักรู้ทั้งในด้านบริบทองค์รวมของธุรกิจและการจัดการด้านการเงินของและนำไปสู่การปฏิบัติการเพื่อให้ได้ซึ่งการสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์

Title

Coordination and administration center to empower new driven mechanism and engagement platform for Thai local enterprise SDG.; Phase 2

Keywords

Local Enterprise,Monitoring and Evaluate,Boost Up

Abstract

This research project aims to create a new engine platform of local economy enhancement by up-level entrepreneurship of local enterprises in Thailand. It was work into two paths. First is area-based university/institute driven. It must be required collaboration among local enterprises, area-based universities/institute, research teams, and relevant stakeholders via empowerment and engagement processes as well as research funding. The coordination and administration center acts as coach, evaluator and monitor the action of research teams who are coworker with the local enterprises. The other path is the coordination and administration center driven. We boot up local enterprises directly via sharing business calling Thu Ra Kit Pun Kun. In 2022, about 11 research teams received research grant from Area-based Program Management Unit. About 10 research teams from area-based universities located in the North, East, Middle, and South of Thailand. One team from institute that is an approached track also works at the North of Thailand. There are about 500 local enterprises were managed by empowerment and engagement via 11 research teams. The most local resources that were used in local business were agricultural products including vegetables, fruits, and herbs. In addition, meat products and apparel products were used as local resources. Result of Network Value Chain analysis on research process from area-based universities/institute driven indicated that local resources was added value up to 6 times comparing to 4 times as baseline data from old value chain. It showed that coaching research teams with administration tool kits in activities was operate from the coordination and administration center. It could increase capabilities of research management in these teams achieving the goal. It explained that research teams must understand business management of local enterprise in the right track. They also must empower local enterprises who produce products practically and profitably for a real market under fair trade. Moreover, researchers who learned the right track of research management under Local Enterprises Framework could apply it to other research field aiming to solve problem and to develop human resource in a target area. In boot up path, about 167 local enterprises in Thu Ra Kit Pun Kun cluster were empowered by the coordination and administration center. We design processes and tool kits, especially financial literacy course via financial application for coaching, monitoring, evaluating learning step of local enterprises. Financial indicators including cash flow, income, profit-loss, debt, household finance, business finance, and ROI were record and analyzed data in real time. In addition to finance course, WOW project course is an overall business management of marketing, branding, and production as well as risk. New business model was developed and manage for each local enterprise appropriately. Result indicated that their incomes and profits increased about 4% and 12%, respectively. The cash could flow in these businesses about 3.2 time per month. Moreover, the debt decreased about 7% comparison to before study. After that, Local Enterprise Showcase Expo was operated in concept of human-product-market LE Network Value Chain Model for blowing success case of local enterprises who are smart entrepreneurial heart. They had financial discipline and financial management effectively like honest livelihood and professional. It could explain that local enterprise who had resilience by themselves lead to selves’ awareness. They also realize that how they manage their business and finance like professional.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น