การพัฒนาผลผลิตด้านการเกษตรในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนม

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 6 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640053
นักวิจัย นายกัมปนาจ เภสัชชา
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยนครพนม
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 16 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 15 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ขอนแก่น, นครพนม

ชื่อโครงการ

การพัฒนาผลผลิตด้านการเกษตรในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนม

คำสำคัญ

โคเนื้อ,วัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น,ผลผลิตทางด้านการเกษตร,วิสาหกิจชุมชน,จังหวัดนครพนม

บทคัดย่อ

โครงการ “การพัฒนาผลผลิตด้านการเกษตรในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนม” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลผลิตด้านการเกษตรในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนม และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อยกระดับด้านการผลิตและการเชื่อมโยงด้านการตลาด เช่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จังหวัดนครพนม สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครพนม เป็นต้น ด้วยการสร้าง Learning and Innovation Platform (LIP) และกระบวนการสร้างนวัตกรชุมชนในพื้นที่เป้าหมายจำนวน 11 กลุ่ม จาก 11 ตำบล 10 อำเภอในจังหวัดนครพนม โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อจำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจำนวน 3 กลุ่ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยตัวแบบการเรียนรู้และนวัตกรรม (LIP) ผ่านการสร้างนวัตกรชุมชนเพื่อแก้ปัญหาด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและการผลิตโคเนื้อโดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการเลี้ยงโคเนื้อและโคขุนในจังหวัดนครพนม ปัญหาที่สำคัญ คือ ปัจจัยต้นทุนด้านอาหารสัตว์ที่มีสัดส่วนสูงประมาณร้อยละ 60-70 ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น คณะผู้วิจัยจึงได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตอาหารโคเนื้อและโคขุนจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นซึ่งมีจำนวนมากแต่ยังขาดการพัฒนาการนำใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อยกระดับอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อของกลุ่มเกษตรกร โดยพัฒนารูปแบบ “Food Feed System” เป็นการพัฒนาการนำใช้เศษเหลือทางการเกษตรที่ได้จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น เปลือกสับปะรด เถามันแกว ใบมันสำปะหลัง พืชสมุนไพร เป็นต้น นำมาพัฒนาร่วมกับแหล่งวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่นทำให้ได้สูตรอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ ผลการสร้างตัวแบบการเรียนรู้นวัตกรรมประกอบด้วย การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันซึ่งเป็นที่ทำการของกลุ่มเกษตรกร และฟาร์มต้นแบบ การสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรและภาคีเครือข่ายในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ร่วมกัน และการสร้างนวัตกรชุมชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง (Learning by doing) ทำให้กลุ่มนวัตกรชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีความรู้และความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงและการแบ่งปันทั้งในเรื่องขององค์ความรู้และแหล่งวัตถุดิบที่มีในชุมขน โดยนวัตกรชุมชนที่ได้รับการพัฒนาทั้งหมดจำนวน 52 คน ประกอบด้วยนวัตกรชุมชนด้านการผลิตโคเนื้อ จำนวน 40 คน พบว่าระดับของนวัตกรชุมชนด้านการผลิตโคเนื้อก่อนได้รับการพัฒนาอยู่ที่ระดับ 2 จำนวน 31 คน (คิดเป็นร้อยละ 77.5) และระดับ 3 จำนวน 9 คน (คิดเป็นร้อยละ 22.5) และนวัตกรชุมชนหลังจากที่ได้รับการพัฒนาอยู่ในระดับ 3 จำนวน 28 คน (คิดเป็นร้อยละ 70.0) อยู่ในระดับ 4 จำนวน 10 คน (คิดเป็นร้อยละ 25.0) และอยู่ในระดับ 5 จำนวน 2 คน (คิดเป็นร้อยละ 5.0) เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตโคเนื้อโดยใช้วัตถุดิบอาหารในท้องถิ่นได้อย่างน้อย 35.4 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีผลกำไรเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 34.0 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการพัฒนานวัตกรชุมชนด้านการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ กลุ่มแปรรูปสับปะรด มันแกว และพืชสมุนไพร รวมจำนวน 12 คน พบว่าระดับของนวัตกรชุมชนด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรก่อนได้รับการพัฒนาอยู่ที่ระดับ 2 จำนวน 8 คน (คิดเป็นร้อยละ 66.7) และระดับ 3 จำนวน 4 คน (คิดเป็นร้อยละ 33.3) และนวัตกรชุมชนหลังจากที่ได้รับการพัฒนาอยู่ในระดับ 3 จำนวน 7 คน (คิดเป็นร้อยละ 58.3) อยู่ในระดับ 4 จำนวน 5 คน (คิดเป็นร้อยละ 41.7) นอกจากนี้ยังได้สูตรผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรจากทั้ง 3 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ น้ำสมุนไพรผสมเยลลี่สมุนไพร วุ้นกรอบสมุนไพร รสกระชาย รสขิง มันแกวดอง กิมจิมันแกว แยมสับปะรด ไซรัปสับปะรด แกนสับปะรดอบแห้งรสดั้งเดิม รสหวาน รสบ๊วย และน้ำสมุนไพรผสมเยลลี่สับปะรด และสมาชิกที่ร่วมโครงการมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ ภายใต้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน คำสำคัญ : โคเนื้อ วัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น การแปรรูปผลผลิต นวัตกรชุมชน

Title

Local Agricultural Product Development through Technology and Innovation to Enhance the Competitiveness and Self-Sustainability of Community Enterprise Groups in Nakhon Phanom Province

Keywords

Beef cattle,Local feed resources,Agricultural Product,Community enterprise,Nakhon Phanom Province

Abstract

The objective of this research was to develop local agricultural products with technology and innovations to increase competitiveness and sustainable self-reliance of community enterprises in Nakhon Phanom Province, build and develop participation of network partners to enhance production and marketing, such as Nakhon Phanom provincial agricultural extension office, Nakhon Phanom animal nutrition research and development center, department of livestock development and office of provincial commercial affairs Nakhon Phanom. The research is to build learning and innovation platform (LIP) and develop skills of community innovators as proficient in beef cattle production and food processing in 11 target areas from 11 sub-districts, 10 districts in Nakhon Phanom province by participation of 8 groups of beef cattle community enterprises and 3 groups of agricultural product processing community enterprises. This study uses participatory action research. The results showed that the problem of raising beef cattle and fattening cattle is the high cost of beef cattle feed about 60-70% resulting in higher production costs. Therefore, the research team has applied technology and innovation to produce low-cost feed for beef cattle and fattening cattle by using local feed resources, which are abundant but still lacking in development and utilization for. Moreover, developed the “Food Feed System” model using crop residues from product processing such as pineapple peels, rice straw, cassava leaves, plant herbs, etc. for produce low-cost feed for beef cattle. The learning and innovation platform (LIP) consist of learning space, learning goals, community innovators, knowledge, and activity. A total of 52 community innovators were developed, comprising of 40 beef cattle production community innovators and 12 food processing community innovators, the level of pre-developed beef cattle production community innovators was at level 2 = 77.5 and Level 3 = 22.5 percent. In addition, after developed skills of community innovators by knowledge transfer and learning by doing process, it was found that community innovators were at level 3 =70%, level 4 = 25% and level 5 = 5%. The beef cattle community innovators to have higher income, to reduce beef cattle feed cost by 35.4 % and to gain higher profit by 34.0 %. The 12 food processing community innovators, the level of pre-developed community innovators was at level 2 = 66.7 and Level 3 = 33.3 %. In addition, after developed skills of community innovators by knowledge transfer and learning by doing process, it was found that community innovators were at level 3 = 58.3 %, level 4 = 41.7%. The food processing community innovators have created the prototype from agricultural products such as herbal drink mixed herbal jelly, herbal crispy jelly fingerroot flavored and ginger flavored, pickled yam bean, Kimchi yam bean, pineapple jam, pineapple syrup, dried pineapple’s core original flavored and plum flavored and herbal drink mixed with pineapple jelly. After training with this project, there are 12 community innovators have higher profit by 20% under the product standards of community. Keywords: Beef cattle, Local feed resource, Product processing, Community innovator

สำหรับสมาชิกเท่านั้น