ชื่อโครงการ
การสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning city) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีคำสำคัญ
อำเภอขลุง,จังหวัดจันทบุรี,ระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้,ศึกษาท้องถิ่น,พื้นที่การเรียนรู้,ดิจิทัลเทคโนโลยี,ทุนวัฒนธรรม,ชาติพันธุ์,สถาปัตยกรรม,วิถีเกษตรภูมิปัญญาชาวบ้าน,ปราชญ์ชาวบ้าน,วิสาหกิจชุมชน,ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม,ท่องเที่ยวเชิงเกษตรบทคัดย่อ
การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้สู่ความยั่งยืน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี คือ การสร้างกลไกและเครือข่ายการพัฒนานวัดกรรมในการยกระดับระบบเมืองให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ในเชิงวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ สถาปัตยกรรม วิถีเกษตรภูมิปัญญาชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน รวมถึงวิสาหกิจชุมชน โดยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการข้อมูลและสร้างเป็นฐานข้อมูลของเมืองขลุง จะเป็นเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพ ชีวิตของประชาชน จำเป็นที่จะต้องมีการประสานความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้องในการผลักดันนโยบายให้เกิดความยั่งยืนของเมืองแห่งการเรียนรู้ ขับเคลื่อนใน 4 ทิศทาง อันได้แก่ 1) การสร้างกลไกเพื่อยกระดับระบบนิเวศเมือง (Upgrading ecosystems) เพื่อพัฒนากลไกการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้สู่ความยั่งยืน (Learning City) 2) การสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายความรู้และผู้บริหารในระดับพื้นที่ (Networking) 3) การพัฒนาระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเป็นฐานข้อมูลของเมืองแห่งการเรียนรู้ (Digital transformation) 4) การสร้างแผนพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและไปสู่สากล (Sustainability and Worldwide) โดยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้สู่ความยั่งยืน (Learning City) จากการดำเนินโครงการการสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัดกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นเพื่อสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย รวมทั้งเก็บข้อมูลพื้นที่ร่วมกับภาคีเครือข่ายความรู้และวิทยากรในระดับพื้นที่ ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี พบว่า จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งพื้นที่ของป่า ภูเขา และทะเล เป็นแหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตรทั้งผลไม้และผลิตภัณฑ์อาหารทะเล อีกทั้งยังมีความหลากหลายของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมหลายชนชาติที่เคยอาศัยอยู่ที่จังหวัดจันทบุรีเมื่อครั้งอดีตกาล และกระจายอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัด อาทิ ชาวจีน ชาวญวน และชาวชอง ซึ่ง “ชาวชอง” ถือเป็นชนพื้นเมืองของจังหวัดจันทบุรี ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณอำเภอเมืองขลุง ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความสะอาด มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติ ภูเขา น้ำตก ป่าชายเลน และแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมที่สะท้อนความเป็นมาของเมืองขลุงในปัจจุบัน โครงการสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัดกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ถือเป็นการสร้างกลไกการพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ที่มีความสำคัญในการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของอำเภอขลุง โดยถอดอัตลักษณ์ ข้อมูลต่างๆ ของความเป็นเมืองขลุง ผ่านจากเล่าเรื่องของชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านที่ได้เล่าเรื่องเมืองขลุง เพื่อให้สามารถตอบวัดถุประสงค์ของโครงการ ที่ได้แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ขององค์การยูเนสโกที่ขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ด้วยกระบวนการบริหารเมืองบนพื้นที่ของอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีด้วยแนวคิด UNESCO “เมืองขลุงพหุวัฒนธรรมและเกษตรนำวิถี มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งเรียนรู้และสร้างรายได้” มาเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการส่วนของการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้โดยเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับพลเมืองให้มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติใหม่ในหลากหลายบริบท เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็วทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง และส่งเสริมให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคม รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ที่องค์ความรู้ข้อมูลต่าง ๆ มาประมวลผลจัดหมวดหมู่พร้อมนำมารวบรวมอยู่บนแพลตฟอร์มการสื่อสารในรูปแบบแผนที่เล่าเรื่องราว (Story map) และศูนย์รวบรวมข้อมูลการเรียนรู้ (Digital Platform) ที่สามารถตอบโจทย์การเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลของผู้คนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการจัดทำข้อเสนอแนะเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการเป็นเรียนรู้สู่ความยั่งยืน (Learning City) ของอำเภอขลุงเพื่อให้ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่เกิดในชุมชนได้อย่างยั่งยืน?
Title
Creation of mechanisms and development networks to enhance the learning city ecosystem for developing a learning city model in Khlung district ChanthaburiKeywords
Khlung District,Chanthaburi Province,Learning City Ecosystem,Local Study,Learning Area,Digital Technology,Cultural Capital,Ethnography,Architecture,Agricultural Society,Folk Wisdom,Folk Philosophy,Community Enterprise,Cultural TourismAbstract
Development of a mechanism for driving a learning city towards sustainability in Khlung District, Chanthaburi Province. In this research, the aim is to create mechanisms and networks for the development in order to upgrade the city system to be a learning city. To develop a model of a learning city in culture, ethnicity, architecture, and the agricultural way of folk wisdom village sage, including community enterprises is presented. Using digital technology to manage data and create a database of Khlung district, it will be the engine to drive economic growth and improve peoples quality of life. There is a collaboration with stakeholders and those involved in advancing the policy towards sustainability of a learning city, driven in four directions. These are (1) creating mechanisms to upgrade urban ecosystems to develop mechanisms, which is drive learning cities towards sustainability. (2) Building cooperation of knowledge connect partners and administrators at the local level. (3) Creating a digital platform that serves as a learning city database. (4) Developing a strategy for establishing a sustainable and international learning city. The learning city ecosystem is driven towards sustainability by the development of a mechanism to drive the learning city towards sustainability from the projects implementation to build mechanisms and networks to upgrade the learning city ecosystem as a model city. The research team landed for an interview, which included collecting preliminary data together with knowledge network partners and speakers at the local level, together with stakeholders in Khlung District, Chanthaburi Province. It was found that Chanthaburi Province is a province with abundant natural resources in areas of forests, mountains, and seas. It is the source of agricultural products, both fruit and seafood products. There is also a variety of lifestyles of communities with many cultural differences that used to live in Chanthaburi in the past. They were distributed in different areas of the province, such as the Chinese, the Yuan, and the Chong people, which means “Chong people”. It is considered a native of Chanthaburi province. who live in the area of Khlung district. It is a clean community. There are natural attractions like mountains, waterfalls, mangrove forests, and cultural attractions that reflect the history of Khlung city today. Mechanisms and networking were built into the Learning City project. Which is upgrading the Learning City ecosystem to develop a model city for learning with digital innovation. Khlung District, Chanthaburi Province This is considered to create a mechanism for developing a model city of learning that is important in creating the value of products from Khlung District. By transcript, the identity and information of the city of Khlung through the story of the community, the local philosopher told the story of Muang Khlung. The learning city through the city administration process in the area of Khlung district in Chanthaburi province is presented by the concept of UNESCO “Multicultural and agricultural way at Khlung city, there is an abundance of learning resources and income generation” as a guideline in the implementation of the project of building a learning city with an emphasis on strengthening citizens knowledge, skills, and new attitudes in a variety of contexts. To be able to answer the objectives of the project that has the concept of creating a UNESCO City of Learning as a guideline for the implementation of the project. The first part of building a learning city focuses on empowering citizens with new knowledge, skills, and attitudes in a variety of contexts. To be able to adapt to the rapid changes in the world in social, economic, and political aspects, we must promote social reconciliation. which includes economic, cultural, and environmental development. Knowledge and various data are processed, categorized and ready to be collected on a communication platform in the form of a story map and a learning data center (Digital Platform). Which is able to meet the needs of peoples learning and access to information today as well, together with the preparation of recommendations for cooperation networks of stakeholders in the area. To create sustainability in being a learning city in Khlung District so that the community can carry out business activities that occur in the community sustainably.