การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยา สู่การสร้างชุมชนนวัตกรรม ปีที่ 2

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 8 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640048
นักวิจัย ผศ.น.สพ. สมชาติ ธนะ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยพะเยา
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 16 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 15 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 3 ปี
สถานที่ทำวิจัย พะเยา

ชื่อโครงการ

การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยา สู่การสร้างชุมชนนวัตกรรม ปีที่ 2

คำสำคัญ

เกษตรกรรมยั่งยืน,พะเยา,ชุมชนนวัตกรรม

บทคัดย่อ

แผนงานวิจัย การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยา สู่การสร้างชุมชนนวัตกรรมปีที่ 2 มีโครงการย่อย 3 โครงการ โดยมีโครงการด้านการพัฒนานวัตกรรมด้านการผลิตต้นทาง และการตลาดต่อเนื่อง จากปีที่ 1 ได้แก่ โครงการวิจัยการพัฒนาชุมชนนวัตกรรมด้วยองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ของเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยาปีที่ 2 และโครงการการยกระดับห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยาเชื่อมโยงเครือข่ายระดับจังหวัดและประเทศของเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน จังหวัดพะเยา และได้เพิ่มงานวิจัยด้านแปรรูป การบริหารจัดการและการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มสมาชิกสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยาเป็นงานวิจัยเพื่อยกระดับเกษตรกรสมาชิกสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยาสู่การเป็นต้นแบบของชุมชนนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งต้นทางการผลิต การแปรรูปเพิ่มมูลค่า จนถึงขบวนการทางการตลาด โดยใช้ชุมชนต่างๆในจังหวัดพะเยาที่เป็นสมาชิกสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา จำนวน 17 ชุมชนเป็นต้นแบบการผลิตพืชอินทรีย์และแปรรูปเพิ่มมูลค่า โดยเกณฑ์ที่ใช้การคัดเลือกชุมชนเป้าหมายคือเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพสูง มีทัศนคติและแนวคิดที่ดีในการทำเกษตรอินทรีย์ เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็งและผู้นำมีความเสียสละ รวมทั้งมีความพร้อมและมีความมุ่งมั่นในการทำระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน โดยนำภูมิปัญญาเดิมที่กลุ่มเกษตรกรมีอยู่แล้วร่วมกับองค์ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ ผ่านกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและนักวิจัยชุมชนที่เป็นทั้งนักวิจัยหลักและนักวิจัยพี่เลี้ยง โดยงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่ส่งต่อเป็นนวัตกรรมที่แก้ไขปัญหาการผลิต การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและการจัดการผลผลิตล้นตลาดในบางฤดูกาล รวมถึงยกระดับห่วงโซ่คุณค่าด้านการตลาด โดยมีการบูรณาการในรูปแบบจตุภาคี คือ ภาคประชาสังคม ได้แก่ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา ภาคการศึกษา ได้แก่ นักวิจัยมหาวิทยาลัยพะเยา ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานเกษตรพะเยา องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เทศบาล ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรพะเยา และภาคธุรกิจ ได้แก่ ห้างท็อปพะเยา บริษัทสุขทุกคำ จำกัด ซึ่งได้พัฒนาขบวนการวิจัยร่วมกับนวัตกรชาวบ้าน และพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาดเป้าหมาย 5 ร. ได้แก่ ร้านค้าชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล ร้านอาหาร และโรงแรม และมีแนวโน้มสู่การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่ตลาดต่างประเทศ โดยนวัตกรชุมชนสามารถเป็นต้นแบบของการพัฒนาองค์ความรู้ และถ่ายทอดให้กับผู้สนใจอื่นต่อไปได้ นอกจากนี้ได้มีการศึกษาในประเด็นของผลกระทบทางเศรษฐกิจของชุมชนนวัตกรรมทั้ง 17 ชุมชน ผลการวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนนวัตกรรม ก่อนเริ่มดำเนินโครงการมีมูลค่ารวมทั้งหมดเท่ากับ 3,248,014 บาท และภายหลังดำเนินโครงการมีมูลค่าเศรษฐกิจรวมทั้งหมดเท่ากับ 4,112,493 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมเท่ากับ 26.6 % โดยชุมชนตำบลบ้านตุ่นมีมูลค่าเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 48.1% มากที่สุด ลำดับที่ 2 ชุมชนตำบลบ้านต๊ำ มูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 39.0 % และ 4) ผลการวิเคราะห์มูลค่าทางสังคม (ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ) ของโครงการชุด มีค่าเท่ากับ 1.55 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปข้อค้นพบที่ควรพิจารณาให้ได้รับการพัฒนาต่อไป 1) การพัฒนาระบบการจัดการขนส่งสินค้าที่มีคุณภาพและต้นทุนที่เหมาะสม 2) ควรมีการสนับสนุนการนำวัตถุดิบอินทรีย์มาแปรรูปให้มากขึ้น 3) การกำหนดให้มีจุดรวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดพะเยา 4) การให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการทุกมิติให้กับวิสาหกิจเพื่อสังคมในจังหวัดพะเยาเพื่อความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ

Title

The Development of Network in Phayao Sustainable Agriculture to the Community Innovation on Second year

Keywords

Sustainable Agriculture,Phayao,Community Innovation

Abstract

The Development of Network in Phayao Sustainable Agriculture to the Community Innovation on Second year โครงการย่อย 1 The Development of Community Innovation with Organic Farming Knowledge of Network in Phayao Sustainable Agriculture, Second 2 โครงการย่อย 2 The processed management and the product development for value-added of organic products in Phayao Sustainable Agriculture โครงการย่อย 3 Upgrading the Organic Agricultural Value Chain of the Phayao Federation of Sustainable Agriculture It was also found that the economic value of the innovation community analysis was before starting the project, the total value was equal to 3,248,014 baht. And after the project, the total economic value was equal to 4,112,493 baht, which was up from the original equal of 26.6%. The Ban Tun community has increased its economic value by 48.1%, which was the most in the Ban Tam neighbourhood. The results of the Social Return on Investment analysis (after participating in the program) is 1.55. Research recommendations for relevant agencies It can conclude the findings that should be considered to further developing 1) the development of a quality and reasonable-cost freight management system 2) support the processing of more organic raw materials and 3) Determination of the collection and distribution center of organic products of Phayao Province. It was also suggested to provide social enterprises in Phayao province with all-dimensional management knowledge to ensure business sustainability

สำหรับสมาชิกเท่านั้น