การสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรไพล ด้วยห่วงโซ่คุณค่า โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 8 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640023
นักวิจัย นายอนิวรรต หาสุข
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 16 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 15 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
สถานที่ทำวิจัย ขอนแก่น, นครราชสีมา, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, สุรินทร์

ชื่อโครงการ

การสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรไพล ด้วยห่วงโซ่คุณค่า โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ

สมุนไพรอินทรีย์,ผู้ประกอบการ,การจัดการห่วงโซ่คุณค่า,ผลิตภัณฑ์สมุนไพร,ไพล

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ทำให้โรงงาน ร้านค้า และสถานบริการต่าง ๆ ต้องหยุดกิจการลง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อ และความปลอดภัยแก่พนักงานลูกจ้าง ทำให้ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ต้องอพยพกลับมายังบ้านเกิดของตน และประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นโครงการวิจัยนี้ ได้เล็งเห็นศักยภาพของผู้ประกอบการในชุมชน เพื่อที่จะสร้างศักยภาพความรู้ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงเห็นความเป็นไปได้ของกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรให้เกษตรกรสามารถผ่านพ้นวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสนี้ได้ จึงสนใจ ส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการเพื่อการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ด้วยการต่อยอดภูมิปัญญาและนวัตกรรมใหม่ เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างฐานการผลิตปัจจัยการดำรงชีพให้เพียงพอและยั่งยืนสืบไป โดยโครงการจะศึกษาและร่วมกันพัฒนาศักยภาพเกษตรกรการจัดการระบบการผลิต ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตลอดจน สร้างช่องทางการตลาดที่เหมาะสม ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นช่วยให้เกษตรกรมีทักษะความรู้ความชำนาญในระบบการผลิตไพลอย่างยั่งยืน ส่งผลให้เกิดการสร้างงานและเพิ่มรายได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ความต้องการใช้ไพลในประเทศไทยและในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากกระแสของประชาชนได้ให้ความสนใจในการดูแลรักษาสุขภาพ บำบัด และฟื้นฟูด้วยวิธีทางธรรมชาติและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ซึ่งสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง และสกัดสารสำคัญผสมกับยา อาหาร และเวชสำอางอื่น ๆ ได้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ประกอบกับแนวโน้มความต้องการและการใช้สมุนไพรในอนาคตจะมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น

Title

Value added creation and product enhancement for Plai herbal with the value chain by Rajamangala University of Technology Isan

Keywords

Organic herbs,Enterprises,Value chain management,Herbal products,Plai herbal

Abstract

Currently, Thailand is facing the outbreak of the Coronavirus (Covid-19) causing factories, shops, and various service places to shut down. In order to control the spread of the virus and the safety of employees, most of the laborers have to migrate back to their hometowns and work in agriculture. This research project has foreseen the potential of entrepreneurs in the community. In order to create knowledge potential in the development of the communitys grassroots economy to increase the farmer income, the possibility of a group of herb growers for farmers to be able to get through the Covid-19 crisis has been found. The researchers are interested in promoting and upgrading entrepreneurs to create value for the grassroots community economy with the extension of new wisdom and innovation in order to be a model for building a production base for adequate and sustainable livelihoods. The project will study and jointly develop the potential of farmers, manage the production system from upstream, midstream, and downstream, as well as creating appropriate marketing channels. As a result, farmers will have the skills and expertise in the sustainable Plai production system, resulting in job creation and income increases. Nowadays, the demand for Plai in Thailand and abroad is increasing rapidly and continuously. This is due to the trend of people becoming more interested in health care, treatment and rehabilitation through natural methods and natural products. And herbs are natural products that can be used directly in those processes and their important extracts can be used as ingredients of drugs, food, and other cosmeceuticals. In addition, the demand and use of herbs in the future tend to increase even more.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น