ชื่อโครงการ
การขับเคลื่อนแพลตฟอร์มการเรียนรู้โดยใช้มัสยิดเป็นฐานในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานีคำสำคัญ
มัสยิด,แหล่งเรียนรู้,นวัตกรรมชุมชน,คุณภาพชีวิต,สังคมพหุวัฒธรรมบทคัดย่อ
โครงการวิจัยการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มการเรียนรู้โดยใช้มัสยิดเป็นฐานในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานีมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ของ 10 แหล่งเรียนรู้ (10 Best Practices) ที่มีมัสยิดเป็นฐาน ต้นแบบสำหรับเป็นแนวทางการการพัฒนา
2) เพื่อสร้างโมเดล – บทบาท รูปแบบและกลไกของมหาลัยฟาฏอนีในกระบวนการสร้างการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม
3) เพื่อบริหารจัดการองค์ความรู้ให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นหมวดหมู่ เข้าใจได้ง่าย และน่าสนใจ
4) เพื่อกำหนดเป็นนโยบายให้กับชุมชนในพื้นที่และหน่วยงานภาครัฐสู่การขับเคลื่อนและพัฒนา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยเลือกมัสยิดในพื้นที/ตำบล ในจังหวัดปัตตานีที่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมพหุวัฒนธรรมในจังหวัดปัตตานีประกอบด้วย
1) มัสยิดอัตตะอาวุน ตำบลบางปู
2) มัสยิดนูรุลชารีฟ ตำบลตะโละดือรามัน
3) มัสยิดตะลุบัน ตำบลตะลุบัน
4) มัสยิดดารุลอามาน (โสร่ง) ตำบลเขาตูม
5) มัสยิดกลางปัตตานี ตำบลอาเนาะรู
6) มัสยิดอีบาดุรเราะห์มาน (บราโอ) ตำบลปูยุด
7) มัสยิดนัจมุดดีน ตำบลทรายขาว
8) มัสยิดสุลตานมูซัฟฟาร์ชาห์ (กรือเซะ) ตำบลตันหยงลูโละ
9) มัสยิดรายอ ตำบลจะบังตีกอ
10) มัสยิดอัลมุฟลีฮีน (ปาลัส) ตำบลควน
เก็บข้อมูลจากอิหม่าม คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด สัปปุรษ ปราชญ์ชาวบ้าน เยาวชนและตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ชุมชนละ 10 คน จะได้จำนวนทั้งหมด 100 คน (10 พื้นที่ๆ 10 คน) การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ศึกษาเอกสารพร้อมการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สนทนากลุ่ม (Focus Group), การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และการจัดเวทีคืนข้อมูล เครื่องมือวิจัยเป็นนวัตกรรมกระบวนการประกอบด้วย Islamic of Knowledge (IOK) กระบวนการชูรอ, Peace Model, Hybrid Learning Platform และ SOAR Analysis การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์ตามเนื้อหา (Content Analysis) แบ่งรูปแบบหัวข้อเรื่อง (Categories) จากการถอดบทเรียน การสนทนา และเวทีแลกเปลี่ยน เป็นองค์ความรู้ แปลงสารจากกระบวนการขับเคลื่อนต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ ผลการศึกษาต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมชุมชนด้านคุณภาพชีวิตของสังคมพหุวัฒธรรมโดยมัสยิดเป็นฐานในจังหวัดปัตตานีพบว่า
- มัสยิดอีบาดุรเราะห์มาน (บราโอ) ตำบลปูยุด: องค์ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาอิสลามสู่สันติในสังคมพหุวัฒนธรรม
- มัสยิดนัจมุดดีน ตำบลทรายขาว: องค์ความรู้เกี่ยวกับความสามัคคีในสังคมพหุวัฒนธรรมและความเป็นเอกลักษณ์ของภาษาที่โดดเด่น
- มัสยิดสุลตานมูซัฟฟาร์ชาห์ (กรือเซะ) ตำบลตันหยงลูโละ: องค์ความรู้เกี่ยวกับเอกลักษณ์ความเป็นมลายูและความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมในสังคมพหุวัฒนธรรม
- มัสยิดรายอ ตำบลจะบังตีกอ: องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์มลายูที่รุ่งเรืองในอดีต “มัสยิดวังหลวง”
- มัสยิดอัลมุฟลีฮีน (ปาลัส) ตำบลควน: องค์ความรู้เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม
ผลการศึกษา บทบาท รูปแบบ แนวทางและการเสริมสร้างชุมชนต้นแบบสำหรับการเรียนรู้ที่มีนวัตกรรมเศรษฐกิจชุมชนฐานรากโดยมีมัสยิดเป็นฐานจนเป็นชุมชนพึ่งตนเอง ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของมัสยิด และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนพบว่า
- มัสยิดอัตตะอาวุน ตำบลบางปู: องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของกลุ่มเยาวชนภายใต้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์-อนุรักษ์ “Amazing Bangpu”
- มัสยิดนูรุลชารีฟ ตำบลตะโละดือรามัน: องค์ความรู้เกี่ยวกับ “กองทุนคิดมัต” – กองทุนช่วยเหลือสาธารณประโยชน์และสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านโดยพลังเยาวชนในการพัฒนาชุมชน
- มัสยิดตะลุบัน ตำบลตะลุบัน: องค์ความรู้เกี่ยวกับ “บัยตุลมาล” – กระบวนการจัดการคลังชุมชน
- มัสยิดดารุลอามาน (โสร่ง) ตำบลเขาตูม: องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตวิญญาณและทักษะชีวิตแก่กลุ่มคนพิเศษ (ลูกยาตีม-เด็กกำพร้าและมุอัลลัฟ-มุสลิมใหม่)
ในสังคมให้มั่นคง และมัสยิดกลางปัตตานี ตำบลอาเนาะรู: องค์ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงพหุวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวสัญลักษณ์ประจำจังหวัด ผลการศึกษาได้ต้นแบบและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรมโดยใช้มัสยิดเป็นฐาน และเป็นกระบวนการเสริมสร้างชุมชนต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ที่มีนวัตกรรมเศรษฐกิจชุมชนฐานราก เป็นชุมชนพึ่งตนเอง ใช้กระบวนการจัดการองค์ความรู้ในอิสลาม IOK (Islamization of knowledge : IOK) คือ มัสยิดที่มีองค์ความรู้อิสลามเป็นฐานและมีพัฒนาการทางความรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อขยายขีดความสามารถที่ไม่เพียงแค่การเรียนรู้เท่านั้น การพัฒนาความรู้ใหม่ และความเข้าใจที่ถ่องแท้ถึงองค์ความรู้ในอิสลาม โดยมีมัสยิดเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ ซึ่งมีเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ของมัสยิด ประกอบด้วย ตักวา (ความยำเกรง) อะห์ซัน (หลักความดี) อะห์ดัฟ (เป้าหมายและวิสัยทัศน์) ญามาอะห์ (การทำงานและเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม) อูคูวะห์ (การมีสายสัมพันธ์แห่งภราดรภาพ) และดะวะห์ (การเผยแผ่อิสลาม) การศึกษา บทบาท รูปแบบและกลไกของมหาลัยฟาฏอนีในกระบวนการสร้างการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานีและแนวทางการพัฒนามัสยิดในการมีส่วนร่วมพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรมพบว่า ได้พัฒนาโมเดลสันติภาพ “Peace Model” เป็นรูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนโดยใช้มัสยิดเป็นฐานให้เกิดความสันติสุขในสังคม ผ่านกระบวนการกิจกรรมต่างๆ ของโมเดลสันติภาพ (Peace Model) ที่ได้ร่วมกันออกแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยฟาฏอนี และ 10 มัสยิดต้นแบบในการพัฒนาร่วมกัน ได้จัดอบรมการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพวัตกรชุมชนหรือนักปราชญ์ชาวบ้านของมัสยิดต้นแบบจำนวน 20 คน ให้เป็นผู้ขับเคลื่อนชุมชนมีคุณสมบัติพร้อมตามสมรรถนะที่ให้เกิดในหลักสูตร พบว่า นวัตกรมีคุณสมบัติด้านความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถการบริหารจัดการมัสยิดให้เป็นระบบ ตลอดจนสร้างองค์ความรู้และสามารถเพิ่มทักษะจำเป็นที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขับเคลื่อนชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะภาวะผู้นำ บทบาทและหน้าที่ของผู้นำ ทักษะการยึดหยุ่นทางสังคม ทักษะการจัดทำแผนพัฒนามัสยิด ทักษะการคิด (Design Thinking) และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล การจัดทำอนาซีด (การร้องเพลง อะคาเปล่า – Vocal Only) 3 บทเพลงสันติภาพ ครอบคลุม 3 ด้านคือคุณภาพชีวิต ด้านเศรษฐกิจและด้านพหุวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและสังคมได้หันมาสนใจการสร้างสังคมสันติสุขผ่านบทเพลงที่มีเนื้อหาคำสอนของหลักสันติภาพเกี่ยวการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติ เผยแพร่ผ่านช่องยูทูป และเพจของมัสยิดศูนย์กลางแห่งสันติภาพ (Masjid Learning Platform )
พบว่ามีผู้สนใจรับชมเป็นจำนวนมากในระยะเวลาสั้นๆที่มีการเผยแพร่ออกสู่สังคมออนไลน์ กล่าวคือ บทเพลงที่มีชื่อว่าสันติภาพที่งดงาม มีผู้เข้ารับชม จำนวน 16,531 คน รองลงมาบทเพลงชื่อเศรษฐกิจนำความเจริญสู่ประชาชาติ มีผู้เข้ารับชมจำนวน 1,236 และบทเพลงชื่อคุณภาพชีวิตของคนในสามจังหวัดภาคใต้ มีผู้เข้ารับผม จำนวน 253 คน ตามลำดับ อีกทั้งได้มีการเผยแพร่อานาซีดในเวทีวิชาการและโครงการสัมมนาต่างๆ ผ่านการถ่ายทอดสด FTU TV ของมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรับชมในครั้งนี้ กว่า 500 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายจากหลากหลายพื้นที่หลากหลายองค์กร เพื่อให้เข้าถึงผู้คนและเยาวชนในการสร้างความเข้าใจต่อกระบวนการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมและเกิดสันติภาพในวงกว้างต่อไป การจัดทำหนังสือคุตบะห์ (เพื่อปาฐกถาธรรมทุกวันศุกร์ในการมาละหมาดรวมกันที่มัสยิดของผู้ชายในหมู่บ้าน) เพื่อเป็นสื่อหนึ่งที่จะเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับสันติภาพ เสริมสร้างพัฒนาศักยภาพนชุมชนได้เข้าใจการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอันจะนำไปสู่สังคมสันติสุข มัสยิดทีร่วมโครงการผ่านนวัตกรชุมหรือนักปราชญ์ชาวบ้านให้เป็นผู้นำอ่านคุตบะห์ในวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ ผลปรากฏว่าพื้นที่มีการล๊อกดาวเป็นระยะเวลาหลายเดือนตามประกาศพระราชกำหนดฉุกเฉิน ในช่วงสถานการณ์ของโรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 จึงทำให้มัสยิดในขณะนั้นได้ปิดทำการ ไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจใดๆ จนถึงขณะนี้ไม่สามารถประเมินผลได้ตามจุดประสงค์การจัดทำหนังสือคุตบะห์เพื่อเป็นสื่อหนึ่งในที่จะเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับสันติภาพได้ การบริหารจัดการองค์ความรู้ให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นหมวดหมู่ เข้าใจได้ง่าย และน่าสนใจในรูปแบบ Hybrid Learning Platform ทั้ง Online และ Offline
ผลการศึกษา
(1) ได้ชุดความรู้ของ 10 มัสยิด ที่สามารถจัดประเภทด้านการท่องเที่ยว เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ การท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์อารยธรรม ประกอบด้วยมัสยิดอัตตะอาวุน ตำบลบางปู มัสยิดกลางปัตตานี ตำบลอาเนาะรู มัสยิดนัจมุดดีน ตำบลทรายขาว มัสยิดสุลตานมูซัฟฟาร์ชาห์ (กรือเซะ) ตำบลตันหยงลูโละ และมัสยิดรายอ ตำบลจะบังตีกอ ด้านการศึกษาและมนุษยธรรม เป็นคุณธรรมจริยธรรมจากคัมภีร์และคำสอน สันติศึกษาและคุณภาพชีวิต และการช่วยเหลือมนุษย์ธรรม ประกอบด้วยมัสยิดดารุลอามาน (โสร่ง) ตำบลเขาตูม มัสยิดอีบาดุรเราะห์มาน (บราโอ) ตำบลปูยุด และมัสยิดอัลมุฟลีฮีน (ปาลัส) ตำบลควน ด้านการเงินและเศรษฐกิจ เป็นระบบการจัดเก็บเงิน “บัยตุลมาล” และกองทุนเงินชุมชน “คิดมัต” ประกอบด้วยมัสยิดนูรุลชารีฟ ตำบลตะโละดือรามัน และมัสยิดตะลุบัน ตำบลตะลุบัน นำเสนอและถ่ายทอดในรูปแบบ อีบุค – eBook: The 10 Best Masjids of Pattani แผนที่ – Map: เส้นทางและตำแหน่งแหล่งเรียนรู้ที่มีมัสยิดเป็นฐานในจังหวัดปัตตานี มิวสิควีดีโอ – MV: “ดีน อัสสาลาม” บทเพลงแห่งสันติภาพ และ คลิปวิดีโอของแต่ละ 10 มัสยิด
(2) ได้สร้างและพัฒนาช่องทางการสื่อสาร การเผยแพร่ผ่าน “Online” เฟสบุคแฟนเพจ (มัสยิดศูนย์กลางแห่งสันติภาพ) และช่องยูทูป (Masjid Learning Platform) เนื่องจากสถาการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 การพัฒนาช่องทางการสื่อสารแบบ “Offline” และ “On Ground” จึงได้เปลี่ยนรูปแบบช่องทางการสื่อสารเผยแพร่เป็นออนไลน์
(3) และได้นวัตกรที่มีคุณสมบัติด้านความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถการบริหารจัดการข้อมูลที่เป็นความรู้เนื้อหาข่าวสารต่างๆ สามารถเผยแพร่ผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเหมาะสมกับบริบทพื้นที่และความต้องการ สร้างการมีส่วนร่วมและเป็นพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นการส่งเสริมความรู้ด้วยสื่อแก่คนในชุมชนได้ย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดทำและนำเสนอแผนเชิงนโยบายขับเคลื่อนแพลตฟอร์มการเรียนรู้โดยใช้มัสยิดเป็นฐานในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ได้ 10 แผนพัฒนามัสยิดที่เข้าร่วมโครงการ จากการทดสอบความรู้ก่อนอบรม นวัตกรชุมชนโดยรวมได้คะแนนเฉลี่ย 4.55 คะแนน เนื่องจากคำถามที่วัดความรู้จะเชิงลักษณะเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำแผน นวัตกรชุมชนไม่เคยรับรู้มาก่อนเกี่ยวกับ SOAR Analysis แต่สำหรับการกำหนดวิสัยทัศน์แต่ละชุมชนสามารถกำหนดได้ อีกทั้งจากการทดสอบความรู้หลังอบรม นวัตกรชุมชนโดยรวมได้คะแนนเฉลี่ย 8.33 คะแนน อาจเป็นเพราะว่านวัตกรได้เรียนรู้เชิงปฏิบัติที่สามารถสร้างแผนได้จริง โดยมีการร่วมวิพากษ์วิจารณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง 10 มัสยิด ทำให้มีทักษะการจัดทำแผนและมีคะแนนค่าเฉลี่ยหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม ทำให้มัสยิดมีแผนพัฒนาตนเองซึ่งประกอบไปด้วย
1) ข้อมูลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
2) การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3)วิสัยทัศน์
4) พันธกิจ
5) ประเด็นกลยุทธ์
6) เป้าประสงค์
7) โครการ ที่สามารถนำไปขับเคลื่อนร่วมกับระหว่างชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Title
The Implementation of Masjid-Based Learning Platform in Multicultural Society of Pattani Province, ThailandKeywords
Mosque,Learning Platform,Community Innovation,Quality of Life,Multicultural SocietyAbstract
Research project of “The Implementation of Masjid-Based Learning Platform in Multicultural Society of Pattani Province, Thailand” aims
1) to study and consolidate the knowledge of 10 best practice mosque-based learning sites as a model for developing
2) To create a model – roles and mechanisms of Fatoni University of the learning process in a multicultural society
3) to manage the knowledge (KM) in a categorical form easy to understand and interesting
4) To formulate a policy for local communities and government agencies to implement and develop.
Population and sample use specific by selecting 10 mosques in the area/sub-district In Pattani Province, which has a prominent role in improving the quality of life of multicultural society. Collecting the data from Imam, Mosque Islamic Committee, Village Philosopher, Youth and representatives of government and private agencies, 10 people per community will get a total of 100 people (10 areas 10 people). This study is a qualitative research by action research process, studing the document with field data collection by In-depth Interview, focus group, workshop and staging data return. The research tool is an innovative process consisting of Islamic of Knowledge (IOK), Shura Process, Peace Model, Hybrid Learning Platform and SOAR Analysis. Qualitative data analysis using the content analysis, divide the topic format (Categories) from the lesson learn, discussion and knowledge exchanging, converting substances from upstream, midstream to downstream propulsion processes.
The results of the study the model of learning and community innovation on the quality of life in multicultural society by using mosque as the base in Pattani province found that
- IbadurRahman Mosque (Brao) Puyud Subdistrict: Knowledge of Islamic Education towards Peace in Multicultural Society
- Najmuddin Mosque, Sai Khao Subdistrict: Knowledge of the Unity in Multicultural Society and Language Uniqueness
- Sultan Musaffar Shah Mosque (Krue Se)Tanyong Lulo Subdistrict: Knowledge of Melayu Identity and Intercultural Relationships in Multicultural Society
- Raya Mosque, Chabangtikor Sub-district: Knowledge of the prosperous Melayu in the as the “Royal Mosque”
- Al-Mufliheen Mosque (Palas) Khuan District: Knowledge about Community assistance in a multicultural society.
The study of the roles model, formats, guidelines and building a community for learning with innovative community-based economy with a mosque as a base, a self-reliant community, reducing the income inequality of mosques, and participate in the development of the communitys foundation economy found that
- Attaawoon Mosque, Bang Pu Sub-district: Knowledge about the work of youth groups under “Amazing Bangpu Ecotourism”
- Nurul Sharif Mosque Taloduraman Subdistrict: Knowledge about “Kid Mat Fund” – Fund for Public Benefit and Strengthening the Village by youth power in community development
- Taluban Mosque, Taluban Sub-district: Knowledge of Baitulmal – Community Treasury Management Process
- Darul Aman Mosque (Sarong), Khao Tum Subdistrict: Knowledge on Welfare, Spirit Immunity and Life Skills for Special People (Child Yatem-Orphan and Muallaf-New Muslim) in the society to be stable
- Pattani Central Mosque Anoru Sub-district: Knowledge of Multicultural Tourism Provincial symbolic attraction.
The results of the study were model and guidelines for improving the quality of life in a multicultural society using mosques as a base and a process of enhancing model communities for learning with innovative community-based economy, a self-reliant community using the process of managing the knowledge in Islam, IOK (Islamization of knowledge: IOK). It is a mosque with Islamic knowledge as a base and has continued to develop knowledge. This is to expand the ability not only to learn but also to develop of new knowledge and a thorough understanding of the knowledge in Islam. The mosque is an important factor for success in learning where information technology has played an important role in the learning of the mosque together with Taqwa (Reverence), Ahsan (the principle of goodness), Ahdaf (Goal and Vision), Jamaah (Working and learning together as a team), Ukuwah (Relationship of Brotherhood) and Dawah (Propagation of Islam) The study of the roles, format and mechanisms of Fatoni University in the learning process in the multicultural society, Pattani province and the mosque development approach to participate in the development of quality of life in multicultural society found that, the developed a “Peace Model” as a model to drive the community by using mosques as a base for peace in society through various activities of the Peace Model that was jointly designed by experts from Fatoni University and 10 model mosques in joint development, organized a training to strengthen and develop the potential of community innovators or village scholars of 20 model mosques to be community drivers who are qualified according to the competencies that occur in the course. It was found that the innovators have knowledge, understanding, and the ability to manage mosques in a systematic way as well as to create a knowledge and be able to increase the necessary skills related to effective community-driven operations is the skill of working as a team leadership skills leadership roles and social flexibility skills, masjid development planning skills, design thinking skills, and digital technology skills. The preparation of Anasheed (Singing acapella – Vocal Only) 3 peace songs covers in 3 aspects, it is the quality of life, economic and multicultural aspects to encourage youth and society to focus on building a peaceful society through songs that contain the teachings of the peace principle on peaceful coexistence in a multicultural society. Publish via YouTube channel and the page of the Masjid Learning Platform has seen a huge amount of attention in the short time it has been released online, namely the Beautiful Peace Song. There are 16,531 viewers, followed by the song titled Economy Brings Prosperity to the Nation. There were 1,236 viewers and the song titled the Quality of Life of People in the three Southern Provinces. There were 253 people who received respectively. Anasyeed was also published in academic forums and seminar projects. Through the FTU TV live broadcast of Fatoni University, there were more than 500 participants in this audience, with target groups from various areas and organizations. To reach people and youth in building an understanding of the process of coexistence in a multicultural society and to bring about a wider peace. The preparation of khutbah (to give a speech every Friday in prayer at the mosque in the village for men) as a medium for disseminating peace content strengthen and develop the potential of the community to understand how to live together in a multicultural society that will lead to a peaceful society. Mosques participating in the project through innovators or local scholars to lead Khutbah readings on Fridays of every week. As a result, the area has been locked down for several months according to the Emergency Decree during the epidemic of the coronavirus or COVID-19, the mosque at that time was closed unable to practice any religion until now, the objectives of the Khutbah could not be assessed as a medium for disseminating peace-related content. Knowledge management in a categorical form easy to understand and interesting in the form of Hybrid Learning Platform, both online and offline the results of study are
(1) Obtain the knowledges set of 10 mosques that can be classified as Tourism: It is a natural conservation tourism, multicultural tourism and civilization history tourism. They are Masjid Attaawoon – Bangpu sub district, Pattani Central Mosque – Anokru sub district, Najmuddin Mosque – Sai Khao sub district, Sultan Musaffar Shah Mosque (Krue Se) – Tanyong Lulo sub district and the Raya Mosque – Chabangteegor Sub district. Education and humanitarian: It is a moral virtue from scriptures and teachings, peace education and quality of life and helping humanity. They are Darul Aman Mosque (Sarong) – Khao Tum sub district, Ibadur Rahman Mosque (Brao) – Puyud sub district, and Al-Muflihin Mosque (Palas) – BanKhuan sub district. The financial and economic: It is a money collection system “Baytulmal” and the community money fund “Kidmat”. They are Nurul Sharif Mosque – TalokduRaman sub district and Taluban Mosque – Taluban sub district. Presented and transmitted in the eBook: The 10 Best Masjids of Pattani, Map: the routes and locations of mosque-based learning sites in Pattani, Music Video – MV: “Dean Assalaam” Song of Peace and video clips of each the 10 mosques.
(2) Establish and develop communication channels publication via “Online”: Facebook fan page (Masjid Center of Peace) and YouTube channel (Masjid Learning Platform) due to the epidemic situation of COVID-19 the development of communication channels such as “Offline” and “On Ground” has therefore changed to publish online.
(3) and has acquired innovators who are qualified in knowledge, understanding, and have the ability to manage information that is knowledge and news content can be disseminated through a variety of communication channels appropriate to the context area and needs. To create participation and a space for exchanging knowledge and to promote knowledge through media to people in the community effectively Preparation and presentation of a policy plan to implement a learning platform using mosques as a base in multicultural society in Pattani province has 10 plans to develop mosques that participate in this project. From the pre-training knowledge test the overall community innovators scored an average of 4.55 points because the questions measuring knowledge were based on the tools used in planning. Community innovators were not previously aware of SOAR analysis, but for defining the vision, each community could define it. Also, from the knowledge testing after training the overall community innovators scored an average of 8.33, possibly because the innovators learned practical methods that can actually create plans by joining the criticism the exchange of knowledge among the 10 mosques resulted in planning skills and higher average scores after training than before. Make the mosque self-development plan which consists of
1) environmental analysis data
2) stakeholder analysis
3) vision
4) mission
5) strategic issues
6) goals
7) projects that can be driven together with the community and local government organizations