การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 48 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640043
นักวิจัย รองศาสตราจารย์ สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 16 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 15 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย สงขลา

ชื่อโครงการ

การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

คำสำคัญ

นวัตกรรมชุมชน,นวัตกรชุมชน,เศรษฐกิจฐานราก,ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา,จังหวัดสงขลา

บทคัดย่อ

แผนงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนานวัตกรรมชุมชนสำหรับยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา และเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมชุมชนสู่แผนงานระดับท้องถิ่นในการสร้างรายได้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ชุมชนเป้าหมาย โดยมหาวิทยาลัยฯ มีการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยพัฒนาพื้นที่ ที่ให้ความสำคัญต่อกระบวนการมีส่วนร่วม ตั้งแต่นักวิจัย ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ชุมชน ท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสนับสนุนแผนงานชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการส่วนต้นน้ำ ประกอบด้วย กลไกการพัฒนากรอบการวิจัย และการสร้างกลไกความร่วมมือกับภาคีในพื้นที่ 2) การบริหารจัดการส่วนกลางน้ำ ประกอบด้วย การอำนวยความสะดวกให้กับนักวิจัย การพัฒนาเสริมทักษะให้กับนักวิจัย และ 3) การประเมินติดตามรายงานผลการวิจัย และการบริหารจัดการส่วนปลายน้ำ ประกอบด้วย ตรวจสอบคุณภาพผลงาน การสร้างการยอมรับของผลผลิตงานวิจัย ผลการดำเนินงานของแผนงานการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีการสร้างกลไกความร่วมมือกับภาคีในพื้นที่ อบรมให้ความรู้การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย และมีการติดตามรายงานความก้าวหน้าระยะ 3 และ 6 เดือน ขณะเดียวกัน ในเดือนที่ 9 มีการติดตามความก้าวหน้าในพื้นที่ชุมชนของโครงการย่อยต่าง ๆ และในเดือนที่ 12 มีการติดตามรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งผลจากการดำเนินงานวิจัยใน 7 อำเภอ 12 ตำบล มีนวัตกรรมชุมชนที่เกิดขึ้นภายใต้แผนงานวิจัย มีดังนี้ 1) นวัตกรรมกระบวนการแจ้งเตือนความแรงของคลื่นและคุณภาพน้ำ 2) นวัตกรรมระบบคิวอาร์โค้ดสำหรับติดตามการเลี้ยงปลากะพง 3) นวัตกรรมตู้อบกล้วยสู่การผลิตแป้งกล้วย 4) นวัตกรรมเครื่องบดกล้วยสู่การผลิตแป้งกล้วย 5) นวัตกรรมสูตรและกรรมวิธีการผลิตแป้งกล้วยสำหรับชุมชน 6) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางกล้วยในงานแฟชั่น 7) นวัตกรรมวัสดุตกแต่งผนังจากกาบกล้วย 8) นวัตกรรมวัสดุตกแต่งผนังใยตาลโตนด 9) นวัตกรรมเครื่องอบเมล็ดพันธุ์ข้าวอัจฉริยะ 10) นวัตกรรมกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ 11) นวัตกรรมตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลานิล 12) นวัตกรรมกระบวนการผลิตปลานิลแดดเดียวคุณภาพสำหรับชุมชน 13) นวัตกรรมเส้นทางการท่องเที่ยววิถีโหนด นา เล ด้วยเทคโนโลยี AR และ 14) นวัตกรรมแพลตฟอร์มระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงนวัตกรรมเชิงพื้นที่และการพัฒนานวัตกรสู่ปราชญ์ชุมชน เป็นต้น นอกจากนี้ จากการดำเนินงานวิจัยมีนวัตกรชาวบ้านเกิดขึ้นภายใต้แผนงานวิจัยรวม 215 คน โดยนวัตกรชาวบ้านที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วย นวัตกรชาวบ้าน ระดับที่ 2 มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา จำนวน 14 คน ระดับ 3 มีความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 107 คน ระดับที่ 4 มีความรู้ความเข้าใจในการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อได้ จำนวน 62 คน และระดับที่ 5 มีความสามารถในการพัฒนาแผนเข้าสู่หน่วยงานภาครัฐได้และเชื่อมประสานได้ จำนวน 32 คน และสามารถสร้างตัวแบบการเรียนรู้และนวัตกรรม (LIP) ได้จำนวน 28 แพลตฟอร์ม พร้อมทั้งได้กลไกการผลักดันแผนงานนวัตกรรมเข้าสู่แผนงานตำบล/ท้องถิ่น จำนวน 10 โครงการ ท้ายที่สุด แผนงานวิจัยสามารถยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงรายได้ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 105.65

Title

The Development on Community Innovation for Raising Local Economy in Songkhla Lake Basin, Songkhla Province

Keywords

Community Innovation,Community Innovator,Local Economic,Songkhla Lake Basin,Songkhla Province

Abstract

The objectives of the community innovation development research are to develop community innovations for enhancing the basic economy in the Songkhla Lake Basin, Songkhla Province and to drive the community innovations into local plans for generating income and increasing the competitiveness in target communities. The university has been a development of a system and mechanism for managing research and developing the area that attaches importance to the participatory process including researchers, university, administrators, and local community. The stakeholders supporting the community innovation development research for sustainable development divided into 3 steps are 1) upstream management consists of mechanisms for developing research frameworks and establishing a mechanism for cooperation with local partners, 2) midstream management consists of facilitating researchers and developing skills for researchers, and 3) downstream management consists of assessing the research report, quality checks, and building acceptance of research output. Results of the development on community innovation for raising local economy in Songkhla lake basin, Songkhla Province have establishing a mechanism for cooperation with local partners, training to educate about the impact assessment of research, and progressing the reports followed for 3 and 6 months. Meanwhile, in 9 months, the progress was monitored in the community areas of the sub-projects, and in 12 months, a full research report was followed. As a result of the research in 7 districts and 12 sub-districts, there were community innovations that occurred under the research plan as follows: 1) innovative water quality monitoring system used in raising snapper, 2) innovative tracking system for snapper products by identifying the origin of products in QR code, 3) innovation of hot air incubator for banana flour production, 4) grinder innovation banana powder, 5) innovative formula and production process of banana flour for the community, 6) banana rubber product innovation in fashion event, 7) innovative wall decoration materials from banana bracts, 8) innovative materials for wall decoration in palm sugar, 9) innovative smart rice seed dryer, 10) innovative quality local rice seed production process, 11) solar-powered tilapia drying tank for raising community standards, 12) innovation of quality tilapia production process for communities, 13) innovation of Node Na Le way of tourism with AR technology, and 14) innovation of maintenance management system platform innovation, spatial innovation, and development of innovations to community sage, etc. In addition, from the research operation, there were 215 community innovators under this project. There were 215 community innovators producing in the Songkhla lake basin, consisting of 14 community innovators at level 2 with the ability to analyze problems, 107 community innovators at level 3 with ability to solve problems, 62 community innovators at level 4 with knowledge and understanding of knowledge transfer, and 31 community innovators at level 5 with ability to develop plans for government agencies and connection. Further, 28 platforms of learning and innovation platform (LIP) were created, as well as a mechanism to drive innovation programs into 10 sub-district/local programs. Finally, the community has a change in income by average increase about 105.65%

สำหรับสมาชิกเท่านั้น