การเพิ่มสมรรถนะการประกอบการของธุรกิจพื้นถิ่นภายใต้วิกฤตโควิด-19 ด้วยกลยุทธ์ทางการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงิน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 49 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A17F640015
นักวิจัย นายบัณฑิต อินณวงศ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การสร้างแผนธุรกิจเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตด้านเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจน
แพลตฟอร์ม อื่นๆ (ในกรณีที่แผนไม่สอดคล้องกับ Platform 1-4)
โปรแกรม P17 การแก้ปัญหาเร่งด่วนของประเทศ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 16 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 15 ตุลาคม 2022
ระยะเวลา 5 เดือน
สถานที่ทำวิจัย นครปฐม, ปทุมธานี

ชื่อโครงการ

การเพิ่มสมรรถนะการประกอบการของธุรกิจพื้นถิ่นภายใต้วิกฤตโควิด-19 ด้วยกลยุทธ์ทางการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงิน

คำสำคัญ

ธุรกิจพื้นถิ่น,สมรรถนะการประกอบการ,การบริหารเงินทุนหมุนเวียน,สภาพคล่องทางการเงิน

บทคัดย่อ

ธุรกิจ Local Enterprise เป็น key actor สำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน เพราะนอกจากหนุนเสริมกลไกดูดซับทรัพยากรพื้นถิ่น ยังผลักดันให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ จากวิกฤติการระบาดของโควิด-19 ในครั้งนี้ ส่งผลให้ธุรกิจ local enterprise มีเปราะบางสูงและกระทบการดำเนินธุรกิจหลายมิติในวงกว้าง ปัจจุบันบางรายต้องต่อสู้เพื่อประคับประคองรักษาการจ้างงาน หรือบางรายถึงขั้นต้องยอมปิดตัวลง

ดังนั้น local enterprise จำเป็นต้องเสริมสมรรถนะการประกอบการด้วยการวางแผนบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ดี โดยเฉพาะการสร้างสภาพคล่องของธุรกิจ ดังคำเปรียบเทียบไว้ว่า กำไรคือ อาหาร แต่สภาพคล่องคือ อากาศ สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity) คือ ความสามารถของสินทรัพย์ทางการเงินในการเปลี่ยนเป็นเงินสดโดยไม่สูญเสียมูลค่ามาก โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการทำงานร่วมกับ Local Enterprise ซึ่งหมายถึง กลุ่มที่มีการใช้ทรัพยากรพื้นถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้า เป็นแหล่งสร้างงานภายในชุมชน ที่มีภาวะทางการเงิน 2 รูปแบบคือ กลุ่มจมน้ำ (ธุรกิจขาดกำไรและขาดสรูปคล่อง) เป็น first priority และกลุ่มปริ่มน้ำ (ธุรกิจมีกำไรแต่ขาดสรูปคล่อง หรือธุรกิจขาดทุนแต่พอมีสรูปคล่อง) เป็น second priority มีเป้าประสงค์เพื่อเพิ่มสมรรถนะธุรกิจ Local enterprise ผ่านการออกแบบและวางกลยุทธ์การบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้เกิดสภาพคล่องธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤติช่วงระยะสั้น 3-6 เดือนนับจากนี้

โครงการได้ทำการประชาสัมพันธ์ประกาศรับสมัคร Local enterprise จำนวน 500 ธุรกิจ จากนั้นได้สร้างกระบวนการอัดฉีดความรู้ผ่านกิจกรรมประตูเศรษฐีบานที่ 1 และประตูเศรษฐีบานที่ 2 เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) โดยกระบวนการเรียนรู้นี้ทำให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้นั้นได้ด้วยตนเอง โดยการใช้กระบวนการ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เครื่องมือทางการเงินที่ทางโครงการได้พัฒนาขึ้นมา ในการให้เกิดการจัดการเรียนรู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนคนให้อยู่บนฐานข้อมูลและเหตุผลมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเกิดวางแผนการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวผู้ประกอบการเอง ร่วมกับการใช้ LE-Financing Application ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล/ประมวล/วิเคราะห์/ติดตามและแสดงผลสภาพคล่องของธุรกิจแบบ Real time โดย 500 Local enterprise เก็บข้อมูลทางการเงินผ่าน LE-Financing Application เพื่อใช้ประเมินสถานการณ์ทางการเงินปัจจุบันของธุรกิจ และสถานะธุรกิจแบบปริ่มน้ำหรือจ่มน้ำ และแผนการดำเนินงานของธุรกิจจากความต้องเงินสนับสนุนของโครงการ เพื่อคัดกรอง Local enterprise เหลือ 261 ธุรกิจ

โดยโครงการจะสนับสนุนเงินทุนวิจัยให้ Local Enterprise 20,000 – 80,000 บาท พิจารณาความเหมาะสมจากผลกระทบของธุรกิจต่อเศรษฐกิจชุมชน และวงเงินที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ รูปแบบการอัดฉีดเงินแบ่งเป็น 3 งวด (งวดที่ 1 50% งวดที่ 2 25% งวดที่ 3 25%) โดย Local Enterprise สามารถกดปุ่ม SOS ผ่าน LE-Financing Application เมื่อต้องการเงินอัดฉีดจากโครงการ โดยสิทธิ์ในการกดปุ่มได้เพียงเดือนละ 1 ครั้ง Local enterprise สามารถ D-I-Y (Do it yourself) วงเงินที่ต้องการ(ภายใต้วงเงินในแต่ละงวด) และเวลาที่ธุรกิจต้องการเงินอัดฉีดจากโครงการ อีกทั้งหลังการได้รับเงินสนับสนุนต้องบันทึกผลทางการเงินของธุรกิจผ่านแอปพลิเคชั่น ซึ่งผลลัพธ์ของการให้เงินสนับสนุนจะแสดงใน Finance forecasting ผ่านระบบแอปพลิเคชั่น ควบคู่กับกระบวนการ coaching และ consulting เพื่อออกแบบกลยุทธ์ในการสร้างสภาพคล่องจากทีมประสานงาน-LE สำหรับ Local enterprise ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ข้อมูลผู้สมัครที่สนใจเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 630 ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจทั้งหมด 73 จังหวัดทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในภาคเหนือ 31% ภาคใต้ 25% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20% ภาคกลาง 17% ภาคตะวันออก 4% และภาคตะวันตก 3% ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทสินค้าถึง 77% และเป็นธุรกิจประเภทบริการ 23% โดยธุรกิจทั้ง 2 รูปแบบ มีปัญหาเช่นเดียวกัน คือปัญหาด้านการเงินเป็นหลักรองลงมาคือปัญหาเรื่องการตลาดและแบรนด์ โดยนำข้อมูลผู้ที่ผ่านเข้าสู่กิจกรรมประตูเศรษฐีบานที่ 1 จำนวน 500 ธุรกิจชุมชนมาวินิจฉัยสุขภาพการเงินจากชุดข้อมูลที่เก็บในระบบสองแสนชุดข้อมูล โดยแบ่งหมวดการตรวจวินิจฉัยออกเป็น 4 เรื่อง เรื่องแรก รายได้ พบว่ามีรายได้ลดลง 30% ในขณะที่ กำไร ขาดทุนถึง 45% สภาพคล่องอยู่ได้เพียงแค่ 44 วัน และเรื่องสุดท้ายคือภาระหนี้สินซึ่งถือเป็นโรคมะเร็งทางการเงินของธุรกิจ พบว่า มีหนี้สินสูงถึง 87% จากนั้นได้ดำเนินการคัดเลือกธุรกิจเพื่อผ่านเข้ากิจกรรมประตูเศรษฐีบานที่ 2 จำนวน 258 ธุรกิจ นำข้อมูลสถานะสภาพคล่องของธุรกิจในแต่ละวันมาวิเคราะห์พบว่า ธุรกิจสถานะวิกฤตจาก 39% 10 วันหลังการได้รับความรู้มีปริมาณลดลงเหลือเพียง 17% เมื่อดูที่สีเหลืองคือสถานะการเงินสภาพคล่องติดขัดก็มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่องโดยเมื่อวันที่ 10 เหลือเพียง 3% และเมื่อไปดูที่สีเขียวพบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 38% ณ วันที่ 10 โดยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่อในช่วงที่โครงการมีการอัดฉัดเงินทุนเพิ่มเสริมสภาพคล่องโดยแบ่งระยะการอัดฉัดเป็น 3 งวด เดือนละ 1 งวด พบว่า สามารถเพิ่มสถานะการเงินสีเขียวได้สูงถึง 89% เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบการอัดฉีดเงินให้กับทางธุรกิจ ทางโครงการได้แบ่งช่วงการอัดฉีดเงินออกเป็น 3 งวด ทางธุรกิจที่ผ่านเข้าทำงานร่วมกับโครงการจะทำงานร่วมกัน 5 เดือน โดยทางโครงการจะเริ่มอัดฉีดเงินในเดือนที่ 3 ที่ได้ทำงานร่วมกัน โดยโครงการจะเงินทุนสนับสนุนเดือนละ 1 ครั้ง เดือนที่ 1 (อัดฉีดวงเงินไม่เกิน 50% ของเงินที่ได้รับสนับสนุน) เดือนที่ 2 (อัดฉีดวงเงินไม่เกิน 25% ของเงินที่ได้รับสนับสนุน) และเดือนที่ 3 (อัดฉีดวงเงินไม่เกิน 25% ของเงินที่ได้รับสนับสนุน) ทั้งนี้เงื่อนไขการจะขอรับเงินในแต่ละเดือนธุรกิจต้องเป็นผู้กดสัญญาน SOS เข้ามาในระบบ พร้อมระบุจำนวนเงินที่ต้องการ และเหตุผลที่จะนำเงินไปใช้ โดยจากข้อมูลธุรกิจทั้งหมด 258 ธุรกิจ ในเดือนแรกมีการกด SOS เพื่อรับเงินอุดหนุนจากโครงการอยู่ที่ช่วง 17,000 – 23,000 บาท ซึ่งจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าช่วงเงินที่ได้รับในเดือนแรกก็สามารถเปลี่ยนสถานะเรื่องสภาพคล่องได้ ปริมาณเงินอัดฉีดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 42,000 บาท ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ที่ตัวเงินอัดฉีด เงินเปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นเพื่อให้เกิดผลได้ดีขึ้น แต่ปัจจัยหลักของการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ความรู้ที่ใส่ให้กับผู้ประกอบการ พร้อมเงื่อนไขของการบันทึกข้อมูลให้เกิดนิสัยการบันทึก และสอนการวิเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกพร้อมการวางแผนเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถมองเห็นปัญหาและวางแผนจัดการปัญหานั้นได้ด้วยตนเอง

Title

Inclination of local enterprise capacity building within COVID-19 crisis via working capital management strategic for business liquidity

Keywords

local enterprise,capacity building,working capital management,liquidity

Abstract

Local enterprises play important role to drive local economy. They involve to use efficient local resources and to produce job creation. Covid-19 crisis has severity affected on global and local economies, especially local enterprises from high-risk disruption. Many businesses attempted to help their employment but some was shut down due to loss of finance management ability. Under VUCA environment, liquidity of local enterprises is more important than profit for running their business.

In this work, we focus on coach local enterprises to manage their working capital and to generate cash flow within 3-6 months as a solving short term business problem. They were also consulted to improve financial literacy ability via their business finance strategies.Inclusion criteria of enrollment was local enterprises who had high severity business finance problem from loss both profits and liquidities as a major priority group. A minor group was local enterprises who either had still profits but not liquidities or had liquidities but not profits.

In this project, we educated about finance literacy with two steps calling path of rich door number 1 and 2, respectively. Both paths were operated on LE-Financing Application that was developed by our team for collecting financial data of local enterprises. The application could collect, analyzed, evaluated, monitor, and displayed data of business liquidity on a real time. The local enterprises were also routine practice to analyze, to decide, and to manage on reasonable numeric data by themselves. In addition, the local enterprises were subsidized in range of 20,000 to 80,000 Baht depending on size of local economy impact. The enterprises who had a finance trouble were be need to help some money. They could call SOS option on the application once a month during research period.

They were then specified the amount of money of subsidy and duration time. Payment was be divided into 3 times that were about 50%, 25%, and 25% of total subsidy. About 630 local enterprises were enrolled about 31%, 25%, 20%, 17%, 4%, and 3% in North, South, Northeast, Middle, East, and West, respectively. Most business involve local products (about 77%) and service (about 23%). Results was shown that the major business problem was now finance, especially liquidity. The minor problem was marketing and branding. Financial data of enterprises including income, profit, cash flow, and debt were recorded on the application. There were about 500 enterprises was passed through path of rich door number 1. It was indicated that their income decreased about 30%. Profit and loss statements also declined about 45% comparing to before Covid-19 outbreak. Moreover, cash flow in their business remained for 44 days and debt crisis was found about 87% of total enterprises. About 258 enterprises remained after financial literacy coaching within path of rich door number 2. Results were illustrated that the number of local enterprises in major priority group decreased to 17% after coaching for 10 days comparing to baseline (about 39%). The enterprises who were recorded yellow code of the cash flow statement decreased to 3%. Moreover, the enterprises who were up to light green code was increased to 38% after coaching. About 89% of total local enterprises who were light green code of financial data were also improved after first subsidy at month 3 of study period. The payment was also in range of 17,000 to 23,000 Baht. Average of subsidy was about 42,000 Baht in our study. It might result from two key successes. First key success is the enterprises who are more realized business financial literacy during coaching and consulting.

They might shift their mindsets to new entrepreneurs who are recoded financial data on routine. Moreover, they can analyze and manage business financial data by themselves. Second, subsidy in each payment might be the right time. This study can conclude that the local enterprises who are realized business finance can generate awareness and assessment of their business via financial discipline.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น