ชื่อโครงการ
การยกระดับพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่สู่ตลาดการแข่งขันคำสำคัญ
พืชพื้นถิ่น,ห่วงโซ่คุณค่าใหม่,ผู้ประกอบการในพื้นที่,พริกไทยพันธุ์ปะเหลียนบทคัดย่อ
“โครงการยกระดับพริกไทยตรังพันธุ์ปะเหลียนด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่สู่ตลาดการแข่งขัน” เป็นโครงการแผนงานขนาดใหญ่ที่ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 18 เดือน มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1) เพื่อพัฒนาและยกระดับเกษตรกร ผู้ประกอบการในพื้นที่ในการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่สู่ตลาดการแข่งขัน
2) เพื่อพัฒนาคุณภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์พริกไทยพันธุ์ปะเหลียนสู่ตลาดการแข่งขัน
3) เพื่อสร้างการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าและสร้างชุดเครื่องมือการบริหารเศรษฐกิจชุมชนพืชพื้นถิ่นพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้ชุดโครงการ มีโครงการย่อยทั้งหมด 4 โครงการ โดยโครงการย่อยที่ 1 ถึงโครงการย่อยที่ 3 เป็นโครงการที่มุ่งเน้นในการแก้ปัญหาทั้งในกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยมีโครงการย่อยที่ 4 เป็นโครงการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของชุดโครงการวิจัย ทั้งนี้การดำเนินงานมีเป้าหมายที่สำคัญคือ การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ จำนวน 10 ราย มีอัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่เป้าหมายและมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 และชุมชน/กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 15 ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า สามารถพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเกษตรกลุ่มวิสาหกิจและผู้ประกอบการ โดยรวมเท่ากับ 16 ราย มูลค่าของพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 23.13-77.78% และสามารถขับเคลื่อนรายได้ของกลุ่มเป้าหมายโดยภาพรวมเพิ่มขึ้น 41.89%
Title
Upgrading Palian Pepper With a New Value Chain to Increase the Capabilities of Local Enterprise for the Competitive Market ProducedKeywords
Plant Lacal,New Value Chain,Local Enterprise,Palian PepperAbstract
“Upgrading Palian Pepper with a New Value Chain to Increase the Capabilities of Local Enterprise for the Competitive Market Produced” is a significant project that requires a total of 18 months to complete. Three significant objectives are included:
1) To improve and develop farmers/local entrepreneurs within the locality to build new value chains and boost their competitiveness in local markets.
2) To improve the quality of Palian pepper products and enhance their competitiveness on the market.
3) To use science and technology to build a value chain and tools for managing the Palian pepper local communitys economy. The planned project consists of 4 sub-projects. The first through third sub-projects are concerned with finding solutions to issues in the upstream, midstream, and downstream processes. An assessment of the outcomes and impacts is in the fourth sub-project. Developing the potential of 10 entrepreneurs is the primary objective of operations followed by the community economic value and product value in the targeted area must increase by 10%. The communitys or target groups income must rise by at least 15%. The results of the research found that This project able to develop the potential of agricultural groups, enterprises, and entrepreneurs, totaling 16 people by concentrating on enhancing the potential of those involved in the process from upstream to downstream. The value of Palian pepper increased by 23.13–77.78%. Moreover, they were able to generate a 41.89% rise in the target groups income. ?