ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
ชื่อโครงการ
การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นฐานเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่จังหวัดน่านคำสำคัญ
การจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่,ผู้ประกอบการในพื้นที่,การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมบทคัดย่อ
โครการการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local enterprise) บนฐานทรัพยากรพื้นฐาน เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่จังหวัดน่าน เป็นโครงการที่สืบเนื่องจากการศึกษาสำรวจปัญหาและความต้องการภายใต้โครงการการศึกษาวิจัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพเชิงพื้นที่จังหวัดน่าน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม โดยดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย ได้แก่ การวิจัยเพื่อสร้างศักยภาพพืชที่เหมาะสมสภาพพื้นที่จังหวัดน่าน คือมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเป็นพืชที่ทนแล้งเหมาะกับพื้นที่ภูเขาสูงที่ใช้น้ำน้อย และยังเป็นพืชที่ตลาดยังมีความต้องการต่อเนื่อง ได้ดำเนินการ 2 ชุดโครงการย่อย ได้แก่ 1. โครงการการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและผู้ประกอบการชุมชน เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ธุรกิจมะม่วงหิมพานต์จังหวัดน่าน โครงการย่อยที่ 2 โครงการพัฒนายกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เพื่อส่งเสริมและเพิ่มพัฒนาศักยภาพเชิงพื้นที่จังหวัดน่าน ทั้งสองโครงการเป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรผู้ปลูกและผู้แปรรูปเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และโครงการที่ 3 ถือเป็นการวิจัยพื้นที่เพื่อสร้างโอกาสให้กับทรัพยากรถิ่น ได้แก่ สมุนไพร ในโครงการย่อยที่ 3 โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผลิตสมุนไพรตามห่วงโซ่อุปทานในจังหวัดน่าน เพื่อผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ระหว่างผู้ปลูกและผู้แปรรูปเป็นสร้างอาชีพเสริมเพื่อเสริมรายได้หลักให้กับเกษตรกร มะม่วงหิมพานต์ในจังหวัดน่าน มีการปลูกเป็นพื้นที่อันดับ 2 ของภาคเหนือที่รองจากจังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดของประเทศ โดยพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ในทุกอำเภอของจังหวัด ปี 2563 มีพื้นที่ปลูกรวมทั้งสิ้น 38,937 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 34,276 ไร่ พื้นที่ปลูกมากที่สุดได้แก่ อําเภอเวียงสา 6,552.87 ไร่ อำเภอนาหมื่น 5,617.59 ไร่ และอําเภอแม่จริม 5,457.71 ไร่ เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงหิมพานต์ โดยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ยังไม่ค่อยมีการรวมกลุ่ม เกษตรกรยังขาดความรู้ในการเพาะปลูก และไม่มีกระบวนการปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว มีผู้ประกอบการแปรรูปเมล็ดมะม่วงหิมพานต์น้อยราย และส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย สำหรับการแปรรูปจะเป็นการแปรรูปเบื้องต้นคือการกะเทาะเปลือกเป็นเมล็ดขาว ส่วนการแปรรูปขั้นกลางจะอยู่ในรูปแบบมะม่วงหิมพานต์อบเกลือ/ทอดคั่วเกลือ ปัญหาสำคัญคือผู้ประกอบการยังไม่ได้พัฒนากระบวนการผลิตตามมาตรฐาน ขาดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ การจัดจำหน่ายส่วนมากจำหน่ายได้ในพื้นที่ ทางโครงการจึงไปพัฒนาให้เกิดการเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์หรือดูดซับทรัพยากรเมล็ดมะม่วงในพื้นที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ เกิดการรวมกลุ่มเพื่อรวบรวมผลผลิตและจำหน่ายเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ในพื้นที่ เพื่อให้มีพลังในการสร้างอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น ผ่านการจัดการบริหารงานภายในกลุ่ม โดยมีหลักเกณฑ์เพื่อแนวทางปฏิบัติทั้งการพัฒนาคุณภาพ ควบคุมมาตรฐานผลผลิต สร้างความเชื่อถือต่อผู้รับซื้อ ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะม่วงหิมพานต์ดิบ เช่น การคัดแยกขนาดเมล็ด การลดความชื้น เพื่อให้เกิดการผลิตเมล็ดมะม่วงที่มีคุณภาพ เพื่อเชื่อมต่อสู่การแปรรูปและตลาดในพื้นที่ ในการแปรรูปเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ได้ดำเนินการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเมล็ดมะม่วงหิมพานต์เดิม และพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเม็ดมะม่วงหิมพานต์รูปแบบใหม่ รวมทั้งเตรียมความพร้อมการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนก่อนออกสู่ตลาด สำหรับสมุนไพรนั้นเป็นโจทย์ที่ทางโครงการเล็งเห็นถึงความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่และสมุนไพรเป็นพืชที่มีโอกาสทางการตลาดสูงหลังจากผ่านสถานการณ์การระบาด COVID-19 มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์สมุนไพรในพื้นที่จังหวัดน่าน การปลูกสมุนไพรจังหวัดน่านเป็นการปลูกตามบ้านเรือน ใช้ภูมิปัญญาพื้นที่เป็นหลัก ผู้แปรรูปยังนำเข้าสมุนไพรจากนอกพื้นที่เพื่อผลิต ทางโครงการไปเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการทั้งระบบการผลิตสมุนไพรและเชื่อมห่วงโซ่ อุปทานระหว่างผู้ผลิตและผู้แปรรูปเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์สมุนไพรที่เป็นความต้องการของตลาด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก่อเกิดการใช้ประโยชน์ของสมุนไพรในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทั้งสามโครงการ เน้นการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่น และพัฒนากระบวนการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตเพื่อพัฒนาเป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับพื้นที่ ให้ทั้งสองเป้าหมายมีความสามารถทำงานเชื่อมต่อทางธุรกิจระหว่างกัน โดยสร้างเครือข่ายผู้ปลูก ผู้รวบรวม ผู้แปรรูปขั้นต้น ผู้แปรรูปขั้นสูง และผู้จัดจำหน่าย โดยใช้ทรัพยากรในพื้นที่เป็น key agent เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเกิดห่วงโซ่คุณค่าใหม่ที่มีการเชื่อมโยงคน ของและตลาดที่ชัดเจนตามแนวทางการดำเนินงานของ บพท. จะส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน สร้างอาชีพในชุมชน เกิดรายได้ผู้ประกอบการและกลับคืนมาสู่เกษตรกรผู้ปลูก พร้อมทั้งยกระดับขีดความสามารถผู้ประกอบการและเกษตรกร เน้นพัฒนาให้มีความเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น (Local enterprise) ให้สามารถทำงานร่วมกับภาคธุรกิจในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ได้ และผู้ประกอบการ สามารถเพิ่มหรือประยุกต์ใช้ทุนทรัพยากรพื้นที่ได้เพิ่มขึ้น และโครงการหวังว่า ผู้ประกอบการหรือประชาชนก็จะหันกลับมามองคุณค่าและมูลค่าของพื้นที่ ทรัพยากรบนบ้านเกิดตัวเอง เกิดการอนุรักษ์ และหวงแหนพื้นที่จังหวัดน่านของตนเองต่อไป
Title
The project of developing the capabilities of local entrepreneurs (Local enterprise) based on basic resources to build a fundamental economy and circular economy in Nan ProvinceKeywords
New network chain,Local enterprises,FairtradeAbstract
Project to develop the capacity of entrepreneurs in local enterprise based on basic resources to build grassroot economy and circular economy in Nan Province is the project from the study and survey of problems and needs under the study project to enhance area-based potential in Nan Province, with participatory action research by working with stakeholders and area networks. It consists of three sub-projects, namely research to create ‘cashew’ as a potential plant suitable for Nan Province, since it is tolerant of drought and suitable for high mountain areas with less water available. It is always a plant in the needs of the market. Therefore, two sub-projects are conducted: the project to develop the capacity of farmers and community entrepreneurs to create a new value chain for cashew business in Nan Province, and the project to develop processing products from cashew to enhance area-based potential in Nan Province. The both projects aim to enhance production potential and create value addition to cashew farmers and processors. The third project is area-based research to create opportunities for local resources of herbs. The third project aims to develop the capacity of herb entrepreneurs in the value chain in Nan Province, to support a group formed by area users who are growers and processors to create part-time jobs and extra incomes to the farmers. Cashew is grown in areas of 2,000 rai in Nan Province. Most of the growers are small farmers, do not gather each other, a lack of knowledge in cultivation, and do not have quality product improvement in post-harvest period. There are few cashew processing entrepreneurs, and most of them are small entrepreneurs. They conduct the primary processing by shelling into white seeds, and the intermediate processing by baking or roasting salted. The main problems are that the entrepreneurs have not yet developed production process standards and created value addition to the product, and mostly distributed within the areas. Therefore, the project helps to create value addition and utilization or absorb more cashew resources in the areas, to make changes, which are a group formed to collect products and distribute cashew in the areas. They have power to bargain through management within the group. They have guidelines for quality product development, standard control to products, trust building to buyers, and technologies to increase production efficiency of raw cashew, such as seed sorting and moist reduction, for quality cashew production, and connect to processing and marketing in the areas. For cashew processing, the project helps to enhance quality of old processing products from cashew and develop new processing products from cashew, including preparing the readiness of the entrepreneurs and community businesses before entering to the real market. In the case of herbs, it is a problem that the project recognizes its potential of entrepreneurs in the areas, and herbs are plants with high market opportunities in Post COVID-19. There is potential for herb utilization in Nan Province. Herb planting in Nan Province is home planting with local wisdom. Its processors import herbs from outside areas for its production. The project enhances the potential of the entrepreneurs in the entire production system of herbs, and connects the supply chain between producers and processors. It aims to increase utilization of herbs that are in market demand, to make changes and increase utilization of herbs in the areas. All three projects focus on scientific and technological knowledge and application to increase production efficiency and local resource values. They also develop supply chain management and production processes to develop businesses which are compatible with the areas. The both objectives can work and connect businesses each other, by creating networks of growers, collectors, primary processors, advanced processors and distributors, and by using local resources as key agents to make changes to value chain which connect people, products and market clearly, according to operation guidelines of PMU A. It affects job and career creation in the community, income generation to the entrepreneurs and the farmers, and capability enhancement to the entrepreneurs and the farmers. It also develops local enterprises to work with the businesses inside or outside the areas, and develop entrepreneurs to increase or apply more local resource capital. The project expects that entrepreneurs or people will turn back to appreciate the values of their homeland and their resources, leading to conservation and concern for Nan Province in the future.