การพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟอาราบิก้าในชุมชนจังหวัดเชียงรายตลอดห่วงโซ่อุปทาน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 25 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640028
นักวิจัย ดร. ชลิดา ธนินกุลภรณ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 16 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 15 พฤศจิกายน 2022
ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
สถานที่ทำวิจัย เชียงราย

ชื่อโครงการ

การพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟอาราบิก้าในชุมชนจังหวัดเชียงรายตลอดห่วงโซ่อุปทาน

คำสำคัญ

ผู้ประกอบการใหม่ ผู้ประกอบการชุมชน กาแฟอาราบิก้า

บทคัดย่อ

ชุดโครงการการพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟอะราบิกาในชุมชนจังหวัดเชียงรายตลอดห่วงโซ่อุปทาน มีเป้าหมายเพื่อยกระดับศักยภาพเกษตรกรและผู้ประกอบการในชุมชน รวมถึงการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรพื้นถิ่นของจังหวัดเชียงราย มุ่งเน้นผลผลิตของพืชกาแฟอะราบิกา โดยจัดกระบวนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องอย่างหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน เชื่อมโยงตลาดทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ เพิ่มช่องทางการขายที่ต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงการสร้าง ความเข้มแข็งของเครือข่ายชุมชนทั้งต้นน้ำ (เกษตรกร) กลางน้ำ (ผู้ผลิต-ผู้แปรรูป) และปลายน้ำ (ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงให้เกิดการซื้อขายผลิตภัณฑ์) การวิจัยครั้งนี้มี 2 โครงการย่อย โดยโครงการย่อยที่ 1 การพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Startup) และการเชื่อมโยงตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการขายที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เพื่อทำหน้าที่ใน ข้อต่อของการแปรรูปกาแฟคั่วและรับซื้อเมล็ดกาแฟคุณภาพในราคาที่สมเหตุสมผล มุ่งเน้นกลุ่มผู้คนรุ่นใหม่ ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาหรือกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมกาแฟ ซึ่งวัตถุประสงค์ในการเลือกกลุ่มเป้าหมายนี้ นอกเหนือจากการสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อรับซื้อเมล็ดกาแฟคุณภาพแล้ว ยังเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ เป็นแหล่งจ้างงานให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่หรือผู้ว่างงานอีกเหตุผลหนึ่ง และโครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการการกาแฟอะราบิกาในชุมชนจังหวัดเชียงรายตลอดห่วงโซ่อุปทาน มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูก-ผู้แปรรูปกาแฟอะราบิกา จำนวน 11 ชุมชนของจังหวัดเชียงราย ให้สามารถยกระดับศักยภาพในกระบวนการผลิตแต่ละห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมกาแฟ ให้รู้จักบทบาทของตนเอง มีองค์ความรู้ มีทักษะ มีความเชื่อมั่นในการเพิ่มมูลค่าด้วยการผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการกลุ่มในเชิงธุรกิจ ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การจัดอบรม การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก จัดให้มีการศึกษาดูงาน ลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการช่วยในการวิเคราะห์ ทดสอบผลิตภัณฑ์ การสร้างสรรค์ออกแบบเรื่องราวที่มาของผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ เชื่อมโยงการออกตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้า ทำการทวนสอบองค์ความรู้ประเมินผล โดยตั้งเป้าหมายให้มียอดขายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 และมีมูลค่าสินค้ากาแฟเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ผลการวิจัย พบว่า โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Startup) และการเชื่อมโยงตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการขายที่ยั่งยืน ก็เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยเกิดการรับซื้อเมล็ดกาแฟจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งที่เข้าร่วมโครงการและอยู่นอกโครงการจำนวนทั้งสิ้น 15 ชุมชน เป็นชุมชนที่อยู่ในโครงการจำนวน 11 ชุมชน และอยู่นอกโครงการจำนวน 4 ชุมชน ปริมาณเมล็ดกาแฟที่รับซื้อจำนวน 1.5 ตัน เป็นจำนวนเงินประมาณ 693,513 บาท และยังมีแผนการสั่งซื้อเมล็ดกาแฟล่วงหน้าในปีถัดไปประมาณ 6 ตัน คาดการณ์ว่าจะเกิดการซื้อขายเมล็ดกาแฟจากผู้ประกอบการชุมชนในวงเงินประมาณ 2.8 ล้านบาท ในขณะเดียวกันยังมีรายได้เกิดขึ้นประมาณ 2.3 ล้านบาท มีการจ้างงานเกิดขึ้นจำนวน 7 ตำแหน่ง เกิดการลงทุนในธุรกิจจำนวน 6,770,650 บาท และโครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟอะราบิกาในชุมชนจังหวัดเชียงรายตลอดห่วงโซ่อุปทาน พบว่าการพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟอะราบิกาในชุมชนจังหวัดเชียงรายพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นโดยสามารถยกระดับคุณภาพของเมล็ดกาแฟเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยใช้วิธีการประเมินจาก Cupping Score ซึ่งแต่เดิมค่าต่ำสุดจากร้อยละ 64 เพิ่มเป็นร้อยละ 75 และสูงสุดร้อยละ 78 เพิ่มเป็นร้อยละ 84 ซึ่งส่งผลให้มูลค่าของเมล็ดกาแฟเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 21-23 โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 33.17 นอกเหนือจากนั้นยังเกิดการลงทุนในธุรกิจเพิ่มประมาณ 990,000 บาท และก่อให้เกิดรายได้สู่ชุมชนในด้านการจ้างแรงงานในการจ้างเก็บกาแฟเชอรี่ การจ้างสีเมล็ดกาแฟและคัดกาแฟสาร จำนวนประมาณ 1,450,246 บาท

Title

Capacity development of farmers and Arabica coffee entrepreneurs in communities of Chiang Rai Province throughout the supply chain.

Keywords

Startup,Local enterprises, Arabica coffee

Abstract

The project “Capacity development project for farmers and Arabica coffee entrepreneurs in Chiang Rai communities throughout the supply chain” aims to raise the potential of farmers and entrepreneurs in the community as well as to create new generation of entrepreneurs to increase the value of indigenous agricultural products of Chiang Rai Province. This project focuses on the productivity of Arabica coffee plants by organizing the process of developing the potential of personnel who are the target groups involved in various forms. The project also promotes product development to meet quality and standards as well as connect markets both regionally and nationally to increase continuous and sustainable sales channels. The strengthening of community networks, including upstream (farmers), midstream (producers-processors), and downstream (distributors or those involved in linking product trading), is also included in the project. This project consists of 2 sub-project. The first project, Developing a new generation of entrepreneurs (Startup) and connecting markets to increase sustainable sales channels, focused on incubate new entrepreneurs in order to complete the upstream, i.e. roaster and coffee bean buyer with reasonable price. The new entreprenuers in this sub-project is graduate or the start up in early state in coffee business. The objectives for this selection are not only generating the new value chain which buys the coffee bean with appropriate value but also creating the new job for young people and unemployed. The latter project, Capability Development of Farmers and Arabica Coffee Entrepreneurs in Chiang Rai Communities Throughout the Supply Chain, focused on upgrading the potential of community enterprises who are growers and processors of Arabica coffee. There are a total of 11 communities in Chiang Rai province who participated in this project. They were developed in term of production process of each value chain of the coffee industry. The development also included realizing their role in coffe value chain as well as improving their skill and knowledges to encourage their confidence in increase income by producing good quality coffee beans. Moreover, this sub-project promoted knowledge and understanding of group management in business with a variety of methods consist of training, in-depth counseling, site visit, and workshop. Quality analysis test, creating the stories telling, designing unique packaging, linking the market and verify the knowledge are also incorporate in this sub-project. The goal is to increase sales by not less than 15 percent and increase the value of coffee products by not less than 10 percent. The reults in sub-project 1 were as expected. The purchase of coffee beans from community enterprise groups, both participating and outside the project, totaled 15 communities, of which 11 communities were in the project and 4 were outside the project. The amount of coffee beans bought in the amount of 1.5 tons, approximately 693,513 baht, and there are also plans to pre-order coffee beans in the next year, about 6 tons. It is expected that there will be trading of coffee beans from community entrepreneurs in the amount of about 2.8 million baht, at the same time there will be about 2.3 million baht in revenue. There were also 7 jobs created and investment in the business amounted to 6,770,650 baht. For sub-project 2, the group of community entrepreneurs who participated in the project were able to raise the quality of coffee beans even more. Using the Cupping Score assessment method, the lowest score from 64 percent increased to 75 percent and the highest score from 78 percent increased to 84 percent. As a result, the value of coffee beans increased from the original 21-23 percent, with revenue increasing by approximately 33.17 percent. In addition, there is also an additional business investment of about 990,000 baht and causing income to the community in terms of hiring workers, i.e. coffee cherry picking, coffee bean coloring and coffee extracting, amounting to about 1,450,246 baht.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น