ชื่อโครงการ
การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าใหม่สำหรับธุรกิจข้าวเม่านางรองคำสำคัญ
การพัฒนา,ห่วงโซ่คุณค่าใหม่,ธุรกิจ,ข้าวเม่าบทคัดย่อ
ชุดโครงการการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าใหม่สำหรับธุรกิจข้าวเม่านางรอง เป็นชุดโครงการที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ออกแบบกระบวนการวิจัยที่มีทั้ง Gap fulfillment และ Capacity Building ที่เน้นการบูรณาการร่วมกันกับภาคีเครือข่ายตลอดทั้ง Supply Chain เพื่อให้ชุมชนเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นและพึ่งตนเองได้ในสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนไป โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยในการพัฒนางานวิจัยพาณิชย์ที่มีผลกระทบสูงที่ตอบสนองการแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพตามโจทย์สำคัญระดับพื้นที่ 2)จัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่สำหรับเกษตรกรต้นน้ำผ่านกลไกการดูดซับทรัพยากรพื้นถิ่นสู่ธุรกิจข้าวเม่านางรอง 3)เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตข้าวเม่าเพื่อยกระดับธุรกิจข้าวเม่านางรอง 4)ยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการแปรรูปข้าวเม่าเพื่อปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจตลาดสมัยใหม่ 5)บริหารจัดการข้อมูลและความเสี่ยงทั้งระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจข้าวเม่านางรอง ด้วยวิธีการ ใช้แผนภาพ Outcome mapping การเติม intervention การทำ supply-demand balancing ในห่วงโซ่คุณค่า การวิเคราะห์ Gab Analysis, Data Analysis เป็นต้น ผลการดำเนินงานวิจัยสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยสามารถยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 11 กลุ่มให้มีการพัฒนาคุณภาพการปลูกข้าวเม่าโปร สู่การพัฒนามาตรฐานกระบวนการผลิตข้าวเม่าด้วยการคัดเกรดข้าวเม่า การทำบรรจุภัณฑ์ข้าวเม่าโปรสู่การพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าให้ได้มาตรฐาน ลดการสูญเสียระหว่างการขนส่งด้วยบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพิ่มปริมาณและประสิทธิภาพการขาย ส่งผลให้เกิดมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าโปรขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จากปริมาณการผลิตทั้งหมด และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มผู้ผลิตข้าวเม่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 สามารถลดปัญหาเรื่องแรงงานและสามารถจูงใจให้คนรุ่นใหม่กลับมาสานต่อธุรกิจข้าวเม่าได้ เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่โดยมีอัตราการเติบโตมูลค่าเศรษฐกิจฐานชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ10 เมื่อเปรียบเทียบจากก่อน-หลังเข้าไปดำเนินงาน ในการเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการเรียนรู้และปรับใช้นวัตกรรมนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสืบทอดการแปรรูปข้าวเม่าให้เกิดความต่อเนื่อง และเกิดการเรียนรู้ในการจัดการปัญหาในชุมชนสู่การรวมกลุ่มที่เข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ SDGs. และสามารถปรับเปรียนระบบการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมการทำงานวิจัยเชิงพื้นที่จากเดิมให้นักวิจัยหาวันทำงานในพื้นที่เอง เปลี่ยนเป็นกำหนดวันทำงานในพื้นที่เป็นวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ของทุกสัปดาห์เพื่อไม่ให้กระทบกับวันทำการเรียนการสอนปกติ เป็นต้น
Title
Developing New Value Chain for Nang Rong Pounded Unripe Rice Business.Keywords
Developing,New Value Chain,Business,Pounded Unripe RiceAbstract
New Value Chain Development Project for Khao Mao Nang Rong Rice Business It is a set of projects that Buriram Rajabhat University Has designed a research process that includes both gap fulfillment and capacity building that focuses on integrating with network partners throughout the supply chain so that the target community can earn more and become self-reliant in the changing situation. with the following objectives: 1) Development the universitys management system and mechanism to develop high-impact commercial research that responds to problem-solving and development of potential for important issues at the local level. 2)Manage a new value chain for upstream farmers through a mechanism to absorb local resources to the Khao Mao Nang Rong rice business. 3)Increase the efficiency of the Khao Mao production process to raise the Nang Rong Khao Mao business. 4)Upgrading the capabilities of rice processing entrepreneurs to adapt to the modern market business. 5)Manage information and risks in the whole system to increase the efficiency of the Nang Rong rice business. By using Outcome mapping, intervention, supply-demand balancing in the value chain, Gab Analysis, Data Analysis, etc. The results of the research can create a change for the better in the area of Nong Sano sub-district, Nang Rong district, Buriram province. By being able to upgrade and develop the capabilities of 11 community enterprise groups to improve the quality of rice cultivation. To develop the standard of the Khao Mao production process by grading Khao Mao Making Khao Mao Pro packaging to develop the processing of Khao Mao products to meet the standards Reduce wastage during transportation with packaging. and the development of digital platforms to increase sales volume and efficiency. As a result, the added value of Khao Mao Pro rice products is not less than 10 percent of the total production. And can increase the income for the Khao Mao producers by not less than 15 percent, can reduce labor problems and can motivate the new generation to return to continue the Khao Mao business. There was economic and social development in the area with a 10 percent increase in community-based economic value. when comparing from before and after going into operation to strengthen the capacity of the community in learning and adapting innovation, applying knowledge to change, allowing youth to participate in inheriting Khao Mao processing for continuity. And learning to manage problems in the community to form a strong, self-reliant and sustainable group This is in line with the strategy of the country SDGs. And can adjust the universitys research management system to promote area-based research from the original, allowing researchers to find work days in the area themselves Changed to set working days in the area as Friday-Saturday-Sunday. of every week so as not to affect normal teaching days, etc.