การสร้างนวัตกรรมอาชีพการเกษตร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 พื้นที่จังหวัดสงขลา (สงขลาโมเดล)

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 53 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A17F640008
นักวิจัย นายทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การสร้างแผนธุรกิจเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตด้านเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจน
แพลตฟอร์ม อื่นๆ (ในกรณีที่แผนไม่สอดคล้องกับ Platform 1-4)
โปรแกรม P17 การแก้ปัญหาเร่งด่วนของประเทศ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 เมษายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 มีนาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย สงขลา

ชื่อโครงการ

การสร้างนวัตกรรมอาชีพการเกษตร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 พื้นที่จังหวัดสงขลา (สงขลาโมเดล)

คำสำคัญ

นวัตกรรมอาชีพเกษตร,เศรษฐกิจฐานราก,สงขลาโมเดล

บทคัดย่อ

โครงการสงขลาโมเดล เป็นโครงการเพื่อการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมและบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก และปรับเปลี่ยนแนวคิด (Mindset) การทำการเกษตรของเกษตรกร โครงการสงขลาโมเดลประกอบด้วยโครงการย่อย 7 โครงการ ตามลักษณะกิจกรรมทางการเกษตร ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล เป็ดไข่ วัวเนื้อ ปลาดุก และ ผักอินทรีย์ ดำเนินการในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ และ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา วิธีการดำเนินโครงการประกอบด้วย การรวบรวมกลุ่มเกษตรกร การอบรมถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละโครงการย่อย ให้คำปรึกษาและแนะนำเกษตรกร การอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำการเกษตร การเก็บข้อมูลพื้นฐานและการประเมินโครงการด้วยแบบสัมภาษณ์ เพื่อประเมินทัศนคติต่อโครงการสงขลาโมเดล รวมถึงการยอมรับ (Adoption) ของเกษตรกร และผลสัมฤทธิ์ด้านรายได้และการลงทุนของโครงการ ผลการศึกษาพบว่า มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 247 ราย โดยมียางพาราเป็นกิจกรรมการเกษตรหลัก (39.40 %) มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 10.91 ไร่/ครอบครัว มีสมาชิกเฉลี่ย 4.31 คน/ครอบครัว เป็นแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 2.29 คน/ครอบครัว มีหนี้สิน 71 % เกือบทั้งหมดเป็นหนี้ในระบบ โดยมีมูลค่าหนี้เฉลี่ย 36,300 บาท/ครอบครัว ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 พบว่า 66.00 % มีรายได้เฉลี่ยลดลง 70.20 % มีต้นทุนทางการเกษตรเพิ่มขึ้น 906.38 บาท/เดือน กว่าครึ่งมีรายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเกษตรกรได้รับผลกระทบด้านการอพยพย้ายถิ่นและการศึกษาของบุตรหลานเพียงเล็กน้อย เกษตรกรมีทัศนคติในระดับเห็นด้วยมากต่อการอบรมเพื่อปรับเปลี่ยน Mindset การทำการเกษตร รวมถึงมีระดับการนำหลักการจากการอบรมปรับเปลี่ยน Mindset ไปปฏิบัติในระดับปฏิบัติทุกครั้ง ทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการสงขลาโมเดลอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เกษตรกรมีระดับองค์ความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการสงขลาโมเดลเฉลี่ย 67.10% และมีระดับการยอมรับ (Adoption) โดยการนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติทุกครั้ง รายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกรจากการเข้าร่วมโครงการเฉลี่ยที่ 2,034.04 บาท/เดือน คิดเป็น 18.99% ของรายได้เดิมก่อนเข้าร่วมโครงการ การดำเนินงานของโครงการสงขลาโมเดลเกิดนวัตรกรจากทุกโครงการย่อยทั้งสิ้น 34 ราย Business model ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ คือ การสร้างเกษตรกรให้มีความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) มีการต่อยอดการดำเนินงานของโครงการสู่หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ผลตอบแทนการลงทุนของโครงการสงขลาโมเดลโดยวิธี ROI พบว่าให้ผลตอบแทน 57% ในระยะเวลา 3 ปี และ SROI มีผลตอบแทนทางสังคมที่การลงทุน 1.00 บาท จะได้รับผลตอบแทนที่มีมูลค่า 1.25 บาท

Title

Creating of innovation platform in agricultural career for local economy development and mitigation effects from COVID-19 in the area of Songkhla Province (Songkhla Model)

Keywords

Agricultural innovation platform,foundation economy,Songkhla model

Abstract

Songkhla model project was a project for developing agricultural career and relieve effect of COVID-19 pandemic. The project aimed to transfer scientific knowledge to farmers for increase income, enhancing grassroot economy and transform farmers’ agricultural mindset into appropriate mindset. The project consists of 7 sub-projects (para rubber, oil palm, orchard, laying duck, beef cattle, catfish, and organic vegetable) conducted in area of Rattaphum district and Singhanakhon district Songkhla province. Methodology for this project consist of farmer gathering, organise workshop for knowledge transferring in each sub-project, consulting, and guiding farmer by expert, organise workshop for agricultural mindset steering. In addition, schedule interview was employed for farmers basic information data collection and farmers’ attitude on mindset steering workshop, overview of the project, adoption of the project and achievement of the project in term of income and project investment. The results showed that 247 farmers participated in the project para rubber sub-project was a major agricultural activity (39.40%). Farmers had average area of 10.91 rai, mean family member was 4.31 people with average labour force 2.29 people/family, 71% of farmer family had debt with average value 36,300 baht/family most of debt were in official finance system. COVID-19 pandemic effected 66.00% earned less family income, agricultural cost increased 72.00% at 906.38 baht/month, more than 50% had to pay more in household expenditure. However, farmer family in the study had less effect on family migrate back domicile and children education due to the pandemic. Regarding mindset workshop, farmer had latitude level at agree and practice following principle from mindset workshop in regularly level. Besides, farmers had latitude level at agree for Songkhla project and they gained knowledge in average 67.10% before participating the project. Regarding adoption of knowledge from the project, farmers practiced following knowledge from the project in regularly level. In term of income increasing, farmers earned more 2,034.04 baht/month of 18.99% from participate the project. From 7 sub-projects, 34 innovators were raised. Business model from this project can be analysed as entrepreneurship building in farmers. The project had a chance to extend the works to official provincial organizations by people who directly in charge which are Vice Governor of Songkhla province and President of Songkhla Provincial Administration Organization. Finally, ROI of the project was 57% in 3 years and SROI was 1.00 baht with return 1.25 baht.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น