ชื่อโครงการ
การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่วัดเจดีย์(ไอ้ไข่) และพื้นที่รายรอบคำสำคัญ
วัดเจดีย์(ไอ้ไข่),การจัดการทุนทางวัฒนธรรม,แผนที่วัฒนธรรม,พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์,เศรษฐกิจฐานรากบทคัดย่อ
โครงการวิจัย “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่วัดเจดีย์(ไอ้ไข่) และพื้นที่รายรอบ” ได้กำหนดผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ คือมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุน ทรัพยากร วัฒนธรรม ในพื้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10% ต่อปี โครงการวิจัย นี้มีวัตถุประสงค์ของ ประกอบด้วย 1) เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมทั้งในด้านสถาปัตยกรรม ความเชื่อ ประเพณี ภูมิปัญญา และศิลปะการแสดงพื้นถิ่นในวัดเจดีย์(ไอ้ไข่) และพื้นที่รายรอบ 2) เพื่อจัดทำแผนที่วัฒนธรรมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วัดเจดีย์(ไอ้ไข่) ชุมชน ภาคส่วนราชการ และภาคส่วนเอกชน ในการนำทางทุนวัฒนธรรมไปพัฒนาคุณค่าทางเศรษฐกิจ และ 3) เพื่อจัดทำแนวทางการจัดการทุนทางวัฒนธรรม และแผนการส่งเสริมผู้ประกอบการวัฒนธรรมและกลุ่มวิสาหกิจวัฒนธรรม ที่เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก ผลการดำเนินงานวิจัยของโครงการ ประกอบด้วย 1) ทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ จะกล่าวถึงทุนวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ตามบริบทของชุมชนรายรอย ทั้งในด้านสภาพแวดล้อมทางสถาปัตยกรรม ด้านความศรัทธา ความสัมพันธ์ดั้งเดิมของชุมชน และหัตถกรรม ด้านอาหาร ด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน และทุนวัฒนธรรมด้านรูปปั้นไก่ชนแก้บนไอ้ไข่วัดเจดีย์ 2) การยกระดับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมการพัฒนาเครือข่ายและผู้ประกอบการอาหารอัตลักษณ์ การเสริมสร้างเครือข่ายศิลปินท้องถิ่นและการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาไก่ปูนปั้นที่มีอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการจัดลานวัฒนธรรมวัดเจดีย์(ไอ้ไข่) ร่วมกับภาคีเครือข่าย 3) แผนธุรกิจทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่วัดเจดีย์(ไอ้ไข่) และพื้นที่รายรอบ ผลการดำเนินการตัวชี้วัดโครงการ มีจำนวนผลงานที่บรรลุเป้าหมาย 100% ได้แก่ 1) แผนที่ทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมและเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวัดเจดีย์(ไอ้ไข่) และพื้นที่รายรอบก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ดำเนินงานแล้วเสร็จ โดยแผนที่วัฒนธรรมที่จัดทำขึ้น ได้นำเสนอครอบคลุมวัดเจดีย์และชุมชนรายรอบ จำนวน 33 รายการ ครอบคลุม งานช่างฝีมือดังเดิม สถาปัตยกรรม พื้นที่วัฒนธรรม อาหารภูมิปัญญาและศิลปการแสดง 2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/ผู้ประกอบการ/สินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ จำนวน 17 รายจากที่ต้องการอย่างน้อย 10 ราย 3) ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมท้องถิ่น จำนวน 17 ผลิตภัณฑ์ จากที่ต้องการอย่างน้อย 10 ผลิตภัณฑ์ 4) ดำเนินการจัดทำแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ (1) การพัฒนาเส้นทางสัญจรเพื่อให้สามารถเดินทางถึงกันได้ทั้ง 3 พื้นที่ที่ได้คัดเลือก ได้แก่ วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่) อุทยานไก่ และวัดเบิก เพื่อเป็นการกระจายตัวกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมออกสู่พื้นที่รายรอบ (2) ดำเนินการออกแบบเพื่อพัฒนาปรับปรุง “วัดเบิก” เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน มีขอบเขตการพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ด้านประเพณีวัฒนธรรมของผู้คนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง และการออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในวัดเบิก (3) สร้างพื้นที่แสดงโนรา ณ ศาลาพักคอยทรงไทยบริเวณ (4) การจัดทำกิจกรรมลานวัฒนธรรมวัดเจดีย์และออกแบบลานวัฒนธรรมวัดเจดีย์ (5) สร้างแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้ประกอบการในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านเขาหลัก กลุ่มสิชลมัดย้อม (6) จัดอบรมส่งเสริมผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม ได้แก่ ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่เชื่อมโยงภูมิปัญญา จัดอบรมพัฒนาทักษะการปั้นไก่ และ จัดอบรมการตลาด 5) ดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่แผนที่ทางวัฒนธรรมของโครงการ ผลการประเมินความคุ้มค่าของโครงการด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่าโดยภาพรวมของชุดโครงการ มีมูลค่าผลตอบแทนทางการเงิน ROI มีค่า 2.35 ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม พบว่า มูลค่าผลประโยชน์จากการลงทุน เท่ากับ 1,952,971.33 บาท มูลค่าการลงทุน เท่ากับ 596,130.09 และ SROI มีค่า 3.27
Title
The Cultural Capital Management for Developing the Area of Wat Chedi (Ai Khai) and PeripheryKeywords
Wat Chedi (Ai Khai),Cultural capital management,Cultural mapping,Sacred space,Grassroots economyAbstract
The research project “Cultural Capital Management for the Development of Wat Chedi (Ai Khai) Area and Surrounding Areas” has determined essential achievements that the value of the creative economy based on capital, resources, and culture in the area increasing by 10% per year. This research project has the objectives of 1) to explore and collect cultural capital information in terms of architecture, beliefs, traditions, wisdom, and local performing arts in Chedi Temple (Ai Khai) and the surrounding area, 2) to create a cultural map with promoting the participation of network partners, namely Walailak University, Wat Chedi (Ai Khai), community, government and the private sectors in guiding cultural capital to develop economic value, and 3) to formulate a guideline for cultural capital management and a plan to promote cultural entrepreneurs and cultural enterprise groups that strengthens the foundation economy. The research results of the project consist of the following: 1) cultural capital in the area: cultural capital was discussed in various aspects according to the context of the surrounding communities. Both in the architectural environment faith the traditional relationship of the community and food handicrafts, folk performing arts, and the cultural capital for the statue of cockfighting on Wat Chedi (Ai Khai); 2) Upgrading cultural products consisting of cultural learning resources, cultural products, network development, and identity food entrepreneurs, strengthening networks of local artists, inheriting local wisdom, developing stucco chicken with a local identity, and the organization of cultural courtyard at Chedi Temple (Ai Khai) in collaboration with network partners; and 3) cultural capital business plan for the development of Wat Chedi (Ai Khai) area and surrounding areas. Project performance indicators achieve the 100% goal, including: 1) A participatory cultural map and a cultural tourism route to Wat Chedi (Ai Khai) and the surrounding areas, creating benefits for adding value and developing the community economy. The created cultural map covers 33 cultural items of traditional craftsmanship, architecture and cultural areas, food, wisdom, and performing arts. 2) 17 potential community enterprises/entrepreneurs/cultural products and services out of at least 10 wanted. 3) Local cultural products in 17 products out of at least 10 desired products. 4) Implementation of the guidelines for the development of cultural products or services, namely (1) the development of travel routes to allow access to all three selected areas, i.e., Chedi Temple (Ai Khai), Chicken Park, and Wat Berk, in order to distribute The cultural tourism activities are released to surrounding areas; (2) Carry out a design to develop and improve “Wat Berk” as a learning center for community culture. The development scope is divided into two parts: cultural traditions of people in the community and nearby areas and the design of improving the physical environment inside Wat Berk; (3) creating a Nora display area at the Thai-style pavilion in the area; (4) organizing activities for the Wat Chedi cultural courtyard and designing the Wat Chedi cultural courtyard; 5) create guidelines for product development in collaboration with local entrepreneurs, such as Ban Khao Lak Bamboo Weaving Group, and Sichon Tie Dye Group; (6) organize training to promote cultural entrepreneurs, namely promoting the development of new products that link local wisdom, training on chicken molding skills, and marketing training. 5) Prepare public relations media to disseminate the cultural map of the project. Evaluation results of economic and social projects: it was found that overall the project has a return on investment (ROI) of 2.35. The analysis of socioeconomic returns showed that the investment benefit value was 1,952,971.33 baht, the investment value was 596,130.09, and the social return on investment (SROI) was 3.27.