ชื่อโครงการ
สมุทรสงครามอยู่ดี : การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ฐานนิเวศวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชนคำสำคัญ
เศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม,เศรษฐกิจสร้างสรรค์ นิเวศวัฒนธรรม,แผนที่วัฒนธรรม,การจัดการมรดกวัฒนธรรม,เศรษฐกิจสร้างสรรค์,นิเวศวัฒนธรรม,ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บทคัดย่อ
“โครงการสมุทรสงครามอยู่ดี: การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ฐานนิเวศวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน” เป็นโครงการที่มุ่งจัดการองค์ความรู้และเก็บข้อมูลปฐมภูมิทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสิ่งแวดล้อม และนิเวศวิทยาวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อนำไปสู่การจัดระบบฐานข้อมูลสารสนเทศแผนที่ทางวัฒนธรรม (Geographic Informative Cultural Atlas) เพื่อสร้างระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อความเข้าใจต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ภายใต้กลไกภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมกันหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้-เสียอย่างใกล้ชิด (Stakeholder Engagement) โดยมีเป้าหมายไปสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่ให้เกิดความเข้มแข็งในมิติสังคม และเศรษฐกิจที่สามารถนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลในการวางแผนกำหนดยุทธศาสตร์ และการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม และการจัดการองค์ความรู้เพื่อด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ และนำไปสู่การประเมินผลตามตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจชุมชนบนฐานคิดของเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม ตลอดจนการศึกษาและการประเมินสภานภาพปัจจุบันด้านต่างๆ ของสินค้าทางวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีจำหน่าย เพื่อนำมาสู่ขั้นตอนการวิจัยแบบปฏิบัติการ และการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อยกระดับสินค้าทางวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ที่คัดสรร เพื่อพัฒนาให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อ หรือผู้รับบริการอย่างแท้จริง สำหรับผลการดำเนินงานในระยะ 9 เดือนที่ผ่านมา ทางโครงการฯ ได้ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศนิเวศวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวนทั้งสิ้น 121 แหล่ง และได้ดำเนินการจัดทำโครงการ “เรือรื่นธารารมย์ ชมชื่นอัมพวา: การนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมทางน้ำ” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผสานทั้งมิติทางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และมิติทางมรดกวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน สืบเนื่องจากวิถีวัฒนธรรมของสมุทรสงครามนั้นผูกพันกับแม่น้ำและระบบนิเวศอย่างแยกขาดออกจากกันไม่ได้ อันเป็นผลลัพธ์มาจากการร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา และวิเคราะห์ศักยภาพ กับภาคีเครือข่ายภาคราชการ ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจผู้ประกอบการท้องถิ่นในพื้นที่ ที่ร่วมกันขับเคลื่อนและสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ นอกจากนี้ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “สมุทรสงคราม กินดี อยู่ดี ใช้ดี มีศิลป์” เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะทางศิลปะและการออกแบบ เพื่อสร้างความรับรู้และถ่ายทอดคุณค่าของผลผลิตและศิลปวัฒนธรรม ให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น สำหรับการประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ผลงานวิจัย ทางโครงการฯ ได้ดำเนินการจัดนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับนิเวศวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 2 แห่ง คือ 1) โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ ชุมชนตลาดน้ำอัมพวา และ โรงเรียนธรรมชาติป่าชายเลน ชุมชนบางบ่อ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
Title
Living Better Samutsongkram: Driving the Creative Economy based on Cultural Ecology and Communities Way of LivingKeywords
Cultural Management,Cultural Based Economy,Creative Economy Cultural Ecology,Cultural Atlas,Geographic Information SystemAbstract
The objective of the research project titled “Living Better Samutsongkram: Driving the Creative Economy based on Cultural Ecology and Communities Way of Living” is to effectively manage and preserve primary cultural information that showcases the intricate interplay between individuals, their surroundings, and the ecological aspects, ultimately giving rise to a distinctive way of life in the aforementioned provinces affected by conflict. The primary objective of the Geographic Informative Cultural Atlas is to establish a comprehensive geographic information system that facilitates the comprehension of both environmental and cultural expenses. The mechanism entails the active participation of government agencies, civil society, the public and private sectors, and stakeholders in order to foster regional development, enhance social and economic aspects, and cultivate artistic and cultural knowledge for the advancement of urban areas in the Samutsongkhram Provinces. This approach ultimately aims to evaluate cultural communities based on economic indicators. This research project demonstrates the correlation between cultural and natural assets through the utilization of cultural ecology as a means of integration. Through the utilization of the projects output, (1) Geographic information system of cultural ecology, 121 sources. (2) The cultural areas that have been established through the process of “conservation” in collaboration with four areas. (3) The cultural area is formed by the process of “rejuvenation” of two areas. (4) The implementation of activities and workshops aimed at fostering cultural awareness and enhancing community engagement A total of 11 activities were conducted, involving a total of over 400 participants. (5) To encourage entrepreneurship and support the cultural products of local communities, it is imperative to cultivate artistic and design abilities. This will serve to raise awareness and effectively convey the worth of 24 productive and cultural arts. (6) Promote creativity and improve the areas capacity for delivering cultural services through the establishment of a route that facilitates the promotion of ecological, cultural, and river-based tourism. There are two possible routes. The outcome of the research project has created a network of work and collaboration mechanisms from all sectors in the area and supported local entrepreneurs with a deep understanding of their own culture. At the same time, they can present concepts and activities to develop and drive communities in new dimensions, but not on a basis that is consistent and appropriate to the local context.