การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมสองฝั่งคลองแบบมีส่วนร่วม สู่การพัฒนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 8 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640094
นักวิจัย นายนิก สุนทรธัย
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 สิงหาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน
สถานที่ทำวิจัย สมุทรปราการ

ชื่อโครงการ

การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมสองฝั่งคลองแบบมีส่วนร่วม สู่การพัฒนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

คำสำคัญ

ทุนทางวัฒนธรรม ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วม บางเสาธง,ทุนทางวัฒนธรรม,ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม,เศรษฐกิจสร้างสรรค์,การมีส่วนร่วม,บางเสาธง

บทคัดย่อ

ชุดโครงการวิจัยการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมสองฝั่งคลองแบบมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการนี้ กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ 6 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือ และแผนความร่วมมือกับภาคีหลักในการจัดการทุนวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น (2) เพื่อยกระดับการจัดทำแผนที่วัฒนธรรมให้ครอบคลุมฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ และใช้แผนที่ทางวัฒนธรรมมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (3) เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการวัฒนธรรมด้านผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม นำไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ หรือพื้นที่เชิงวัฒนธรรม และจัดตั้งวิสาหกิจวัฒนธรรม (4) เพื่อสร้างผู้ประกอบการวัฒนธรรมเพื่อสังคมสู่นวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นบางเสาธง (5) เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักท้องถิ่นบางเสาธงให้กับเด็กและเยาวชน และ (6) เพื่อบูรณาการงานภายในโครงการ รวมไปถึงการบูรณาการศาสตร์ และพันธกิจของมหาวิทยาลัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำให้เกิดผลการศึกษาวิจัยที่สำคัญ อาทิ การพัฒนากลไกการจัดการทุนวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น ภายใต้โมเดลวัฒนธรรมสัมพันธ์เพื่อความยั่งยืน (TSC Sustainable Cultural Model) การจัดทำกรอบแผนความร่วมมือการจัดการทุนวัฒนธรรมฯ 5 ด้าน การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดงานเทศกาลศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ การยกระดับการจัดทำแผนที่วัฒนธรรมให้ครอบคลุมฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรม และใช้แผนที่ทางวัฒนธรรมมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่ การเกิดรูปแบบการประกอบการเพื่อสังคม และกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่เป็นนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นบางเสาธง ภายใต้ชื่อ “กลุ่มรัก(ษ์)บางเสาธง” การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นรัก(ษ์) บางเสาธง และหลักสูตรฝึกอบรมผลิตสื่อสร้างสรรค์ สำหรับเยาวชนในอำเภอบางเสาธง การพัฒนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม โดยเพิ่มช่องทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อการสร้างรายได้ ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อผลการดำเนินงานวิจัย 5 ประการ ได้แก่ (1) ข้อเสนอแนะต่อระบบกลไกการพัฒนาในพื้นที่และแผนความร่วมมือ (2) ข้อเสนอแนะต่อการสื่อสาร เผยแพร่ และใช้ประโยชน์จากแผนที่วัฒนธรรม และข้อมูลทุนวัฒนธรรมในอำเภอบางเสาธง (3) ข้อเสนอแนะต่อการสร้างจิตสำนึกรัก(ษ์) บางเสาธงผ่านการขยายผลหลักสูตรท้องถิ่น และสื่อสร้างสรรค์ (4) ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม และสินค้า/บริการทางวัฒนธรรมของอำเภอบางเสาธง เพื่อการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และ (5) ข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมและขยายผลอุดมการณ์และแนวคิดการประกอบการเพื่อสังคม

Title

The Mobilization of Bipartisan’s Cultural Capital by Community Participation towards the Development of Cultural Entrepreneurs with The Creative Economy, Bang Sao Thong District, Samutprakan

Keywords

Cultural Capital,Cultural Entrepreneurs,Creative Economy,Community Participation,Bang Sao Thong

Abstract

A series of research projects to drive cultural funds on both sides of the canal with participation towards the development of cultural entrepreneurs with the concept of the inventive economy in Bang Sao Thong District, Samut Prakan Province, and six research objectives were defined: (1) to develop cooperation mechanisms; and a plan for cooperation with key partners in managing cultural funds to enhance community economy and local awareness; (2) to elevate the cultural map maneuver be extensive on tangible and intangible cultural heritage databases and use the cultural map as a tool for area evolution to raise the community economy; (3) to develop cultural entrepreneurs in cultural products, leading to the development of cultural products and services in the area or cultural area and founding a cultural enterprise; (4) to assemble cultural entrepreneurs for society towards Bang Sao Thong local community innovation; (5) to strengthen awareness of Bang Sao Thong locality among children and youth, and (6) to integrate work within the project, including integration science and the mission of the university. This research resulted in significant research results, such as the development of cultural funds management mechanisms to enhance the community economy and local awareness under TSC Sustainable Cultural Model, the preparation of a framework for cooperation in managing cultural funds in 5 areas, the preparation of a memorandum of understanding for cooperation in organizing local performing arts festivals, Sisa Chorakhe Yai Subdistrict, exalting cultural mapping to cover cultural heritage databases and use the cultural map as a tool for developing the area, the formation of the social entrepreneurship model and a group of social entrepreneurs who own community innovation in the Bang Sao Thong local community under the name “Rak Bang Sao Thong Group,” creating Rak Bang Sao Thong local curriculum and creative media production training course for youth in Bang Sao Thong District, development of cultural entrepreneurs by adding new marketing channels for generating income. In this respect, the research team has five recommendations for research results, namely (1) suggestions for the development mechanism system in the area and collaboration plans; (2) suggestions for communication, propagation, and utilization of cultural maps and cultural funds information in Bang Sao Thong District; (3) suggestions for building Rak Bang Sao Thong awareness through result extension and creative media; (4) suggestions for the development of cultural entrepreneurs and cultural products/services of Bang Sao Thong District for continuous and sustainable income; and (5) suggestions for boosting and augmenting the ideology and conception of social entrepreneurship.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น