ชื่อโครงการ
การพัฒนาตัวแบบเชิงธุรกิจการผลิตปูทะเลตลอดห่วงโซ่อุปทานโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อสร้างเป็นสินค้าเศรษฐกิจชนิดใหม่รองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤติด้านเศรษฐกิจในจังหวัดปัตตานีคำสำคัญ
ปูทะเล,ตัวแบบทางธุรกิจ,ปัตตานี,สัตว์เศรษฐกิจบทคัดย่อ
ภายใต้สภาวะที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การวิจัยและพัฒนาเพื่อแสวงหาแนวทางสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น ปูทะเล นับว่าเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพสูงมากที่จะพัฒนาเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่ในจังหวัดปัตตานีและประเทศไทยในอนาคต ปัจจุบันองค์ความรู้ทางด้านการเพาะเลี้ยงปูทะเลมีการผลิตและพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนสามารถนำไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการได้ โครงการมีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย
(1) เพื่อพัฒนาตัวแบบเชิงธุรกิจการผลิตปูทะเลตลอดห่วงโซ่อุปทานโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ของประชาชนภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของจังหวัดปัตตานีทั้งตัวแบบระดับฟาร์มและตัวแบบเครือข่ายระดับจังหวัด
(2) เพื่อพัฒนาและสร้างปูทะเลให้เป็นสินค้าเศรษฐกิจชนิดใหม่รองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤติด้านเศรษฐกิจของประเทศ และ
(3) เพื่อบูรณาการกลไกการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาตัวแบบเชิงธุรกิจการผลิตปูทะเลในจังหวัดปัตตานี
การพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงปูทะเล และยกระดับรายได้ของผู้เข้าร่วมโครงการให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และมีเป้าหมายสำคัญ คือ สร้างตัวแบบทางธุรกิจจำนวน 3 ตัวแบบ การยกระดับรายได้ของผู้ร่วมโครงการและการสร้างห่วงโซ่การผลิตปูทะเล เพื่อเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่ของจังหวัดปัตตานีในสถานการณ์วิกฤติทั้งตัวแบบระดับฟาร์มและตัวแบบเครือข่ายระดับจังหวัด โดยใช้พื้นที่บ่อกุ้งทิ้งร้าง ความต้องการของชุมชน ความรู้ทางวิชาการและเครือข่ายเป็นต้นทุนสำคัญ โครงการนี้กำหนดกรอบการดำเนินงานกประกอบด้วย
(1) การผลิตแม่ปูไข่นอกกระดอง การพัฒนาสายพันธุ์และเทคนิคการกระตุ้นแม่ปูให้ออกไข่นอกกระดอง
(2) การผลิตลูกปูระยะ megalopa การพัฒนาระบบและเทคนิคการอนุบาลลูกปูระยะ zoea สู่ megalopa
(3) การสร้างตัวแบบธุรกิจการอนุบาลลูกปูจากระยะ megalopa สู่ระยะ crab2 และพัฒนาวิธีอนุบาลลูกปูระยะ C2 สู่ปูขนาด 2.5 ซม.
(4) การสร้างตัวแบบธุรกิจการเลี้ยงปูในบ่อดินรูปแบบต่าง ๆ
(5) การสร้างตัวแบบธุรกิจและพัฒนาวิธีการขุนปูระบบคอนโดน้ำหมุนเวียน ระบบตะกร้าลอยน้ำและระบบบ่อคอนกรีต และ
(6) การพัฒนาการผลิตและแปรรูปปูนิ่มและระบบตลาดปูทะเล
มีวิธีการการดำเนินงานโดยใช้เครือข่ายประกอบด้วยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดปัตตานี (AIC) คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดปัตตานี สำนักงานประมงจังหวัดปัตตานี ศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนจังหวัดปัตตานี และชมรมผู้เลี้ยงปูจังหวัดปัตตานี โดยมีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ผลักดันเชิงนโยบาย ผลจากกการดำเนินงานสามารถสรุปตามกรอบต่างได้ดังนี้
(1) สามารถพัฒนาเทคนิคและวิธีการผลิตแม่ปูทะเลให้สามารถออกไข่นอกกระดอง และผลิตแม่ปูทะเลที่มีไข่นอกกระดองสำหรับนำไปใช้เพาะฟักลูกปูทะเลให้มีไข่ออกนอกกระดองทั้งสิ้น 100 ตัว ตามแผนที่กำหนดไว้ โดยเป็นแม่ปูที่สามารถปล่อยไข่เป็นลูกปูระยะซูเอียที่สมบูรณ์ทั้งสิ้น 57 ตัว โดยเป็นการผลิตจากโรงเลี้ยงแม่ปูมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ทั้งสิ้น 82 ตัว เป็นการผลิตจากระบบปกติ 52 ตัวและระบบน้ำหมุนเวียน 30 ตัว และผลิตโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 18 ตัว ประมาณราคาแม่ปูที่มีไข่นอกกระดองสมบูรณ์ที่ผลิตได้ประมาณ 400,000 บาท นอกจากนั้นได้พัฒนาสายพันธุ์ปูทะเลโดยการนำพันธุ์ปูทะเลไข่แก่นอกกระดองจากประชากรธรรมชาติ หรือประชากร F0 สามารถผลผลิตลูกปูระยะ megalopa จากประชากร F0 ได้ และดำเนินการเพาะพันธุ์ประชากร F1 ที่ได้จากการเลี้ยงในบ่อดิน โดยนำแม่ปูประชากร F1 ที่มีไข่ในกระดองเข้าระบบเลี้ยงขุนและสามารถผลิตแม่ปูประชากร F1 ที่มีไข่นอกกระดองในระบบเลี้ยงขุน โดยแม่พันธุ์ประชากร F1 สามารถผลิตลูกปูระยะ megalopa ได้และนำลูกปูไปเลี้ยงในบ่อดินให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ประชากร F2 ต่อไป เทคนิคและวิธีการที่พัฒนาขึ้นในการกระตุ้นให้แม่ปูทะเลสามารถปล่อยไข่ออกนอกกระดองได้อย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาสายพันธุ์ของปูทะเลที่กำลังดำเนินการนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปูทะเลของประเทศต่อไป
(2) สามารถผลิตลูกปูระยะเมกาโลปาทั้งสิ้น 480,157 ตัว โดยจำแนกตามหน่วยผลิตต่างๆ คิดเป็นร้อยละผลการผลิตเทียบแผนเท่ากับ 64.02 ต่ำกว่าแผนร้อยละ 35.98 เนื่องจากเทคนิคการเพาะปูมีความซับซ้อนและยุ่งยาก มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและปรับปรุงต่อไป สามารถพัฒนาระบบและเทคนิคการอนุบาลลูกปูระยะซูเอียสู่ระยะเมกาโลปา ทำให้เกิดองค์ความรู้ในการเพาะและอนุบาลลูกปูทะเล เพื่อให้ผลของการศึกษาระบบและเทคนิคในการเพาะและอนุบาลปูทะเลที่ชัดเจนและครอบคลุมยิ่งขึ้น และงานวิจัยส่วนนี้สนับสนุนให้เกิดนักเพาะฟักและอนุบาลลูกปูทะเลที่มีความเชี่ยวชาญสูงขึ้นตลอดจนสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจได้ต่อไป ผลจากการผลิตลูกปูในบทนี้สามารถนำส่งต่อไปยังห่วงโซ่การอนุบาลในระยะถัดไปเพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสมสำหรับการลงไปเลี้ยงในบ่อดินต่อไป
(3) สามารถพัฒนาฟาร์มเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่สามารถอนุบาลลูกปูจากระยะเมกาโลปาสู่ระยะ C2 จำนวน 3 แห่ง และสามารถผลิตลูกปูระยะ C2 และ C3 ทั้งสิ้น 157,454 ตัว สามารถนำลูกปูดังกล่าวไปลงเลี้ยงในบ่อดินของเกษตรกรและของมหาวิทยาลัย รวมทั้งบางส่วนมีการนำไปปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อเพิ่มปริมาณปูทะเลในบริเวณดังกล่าวด้วย การอนุบาลลูกปูทะเลระยะนี้เป็นห่วงโซ่การผลิตที่สามารถนำไปดำเนินการเชิงธุรกิจ เนื่องจากใช้พื้นที่น้อย วิธีการไม่ยุ่งยาก ผลกำไรต่อหน่วยค่อนข้างสูงและสามารถมีผลผลิตออกมาได้เร็ว
(4) สามารถพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงปูทะเลจำนวน 4 แห่ง มีเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำฟาร์มเลี้ยงปู 24 แห่ง โดยมีเกษตรกรที่ยึดการเลี้ยงปูเป็นอาชีพหลักจำนวน 5 ราย คิดเป็นพื้นที่ 143.7 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตปูทะเลขายแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 12 ราย มีรายได้จากการขายผลผลิตรวมทั้งสิ้น 1,640,100 บาท เป็นรายได้จากการขายปูทั้งสิ้น 1,302,100 บาท รายได้จากการขายกุ้งที่เลี้ยงน่วมกับปูทั้งสิ้น (เกษตรกร 4 ราย) 338,000 บาท ต้นทุนใช้ในการเลี้ยงที่ยังไม่รวมค่าลูกปูทั้งสิ้น 256,816 บาท มีผลกำไรจากการเลี้ยงทั้งสิ้น 1,383,284 บาท
(5) สามารถสร้างธุรกิจและพัฒนาเกษตรกรขุนปูทะเลในระบบคอนโดน้ำหมุนเวียนจำนวน 23 ราย สร้างต้นแบบการขุนปูระบบแพลอยน้ำจำนวน 4 แห่ง และผู้ขุนปูทะเลทั้งสองระบบจำนวน 23 ราย ที่เกษตรกรร่วมลงุทุนในการพัฒนาธุรกิจดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 สามารถสร้างรายได้และเป็นอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรดังกล่าวซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (6) สามารถสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับปูนิ่มและคุณภาพของปูนิ่มจากการขุนรูปแบบต่างๆ การพัฒนาต้นแบบระดับงานวิจัย แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเกษตรกรเพื่อสร้างธุรกิจปูนิ่มในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เนื่องจากมีข้อจำกัดบางประการ ส่วนการพัฒนาด้านการตลาดพบว่ามีการพัฒนารูปแบบการขายที่หลากหลาย ปูที่ผลิตได้ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีภายใต้การสนับสนุนของโครงการมีตลาดรองรับที่เพียงพอ มีรูปแบบการจำหน่ายที่หลากหลายและผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เมื่อเปรียบเทียบตัวชี้วัดและผลการดำเนินงานแล้ว (7) ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เยี่ยมชมการดำเนินงานด้านปูทะเลของจังหวัดปัตตานีที่สนับสนุนโดยโครงการนี้ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในวันที่ 15 ธันวาคม 2564 และได้กำหนดให้มีการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปูทะเลขึ้นในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและใกล้เคียงต่อไป ผลจากการดำเนินโครงการนี้ สามารถสร้างและพัฒนาห่วงโซ่การผลิตปูทะเลให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการขึ้นในจังหวัดปัตตานี พร้อมสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อห่วงโซ่การผลิตระดับต่างๆ และการวิเคราะห์รูปแบบโมเดลทางธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับห่วงโซ่การผลิตเฉพาะที่สำคัญ อันสามารถนำไปสู่การนำไปใช้และขยายผลเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปูทะเลให้เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่เป็นทางเลือกเพื่อรองรับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยต่อไป
Title
Development of business model for the whole supply chain of mud crab production with stakeholders’ participation to create new product supporting economic changes and crisis in Pattani provinceKeywords
mud crab,business model,Pattani,economic animalAbstract
This study aimed to
(1) develop business model for the whole supply chain of mud crabs culture in Pattani province,
(2) develop and create mud crabs as a new economic species and
(3) integrate all stake holders in deveoping the model.
It is successful in
(1) developing technique to induce brried female crab as broodstock,
(2) producing system and teachnique for zoea to megalopa nursing,
(3) craeting model for nursing crabs from megalopa to crab2 and C2 to 2.5 cm crabs,
(4) developing business model for crab culture in arth pond,
(5) developing technique for crab fattening in RAS in condo, floating basket and concrete pond
(6) developing technique for soft shell crab production and mud crab marketing.