ชื่อโครงการ
การจัดการพื้นที่และทุนทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างเสริมศักยภาพผู้ประกอบการและวิสาหกิจวัฒนธรรม: การขยายพื้นที่และต่อยอดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานีคำสำคัญ
คำสำคัญ,พื้นที่ทางวัฒนธรรม,ทุนทางวัฒนธรรม,ผู้ประกอบการวัฒนธรรม,วิสาหกิจวัฒนธรรม,เศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม,ปัตตานีบทคัดย่อ
จังหวัดปัตตานีมีต้นทุนทางภูมิประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาภายในท้องถิ่น ก่อให้เกิดเอกลักษณ์ของสังคมพหุวัฒนธรรมที่โดดเด่น สามารถนำมาเป็นต้นทุนในการพลิกฟื้นเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในมิติต่างๆ เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรม การวิจัยโครงการ “การจัดการพื้นที่และทุนทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างเสริมศักยภาพผู้ประกอบการและวิสาหกิจวัฒนธรรม: ต่อยอดการพัฒนาเศรษฐกิจ ฐานวัฒนธรรมในวงแหวนพหุวัฒนธรรมเมืองปัตตานี” นี้ เป็นโครงการต่อเนื่องในระยะที่ 3 นี้ มุ่งต่อยอดผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา โดยการหนุนเสริมพื้นที่และกิจกรรมทางวัฒนธรรม (Cultural Space and Cultural Activity) ส่งเสริมผู้ประกอบการวัฒนธรรม (Cultural Entrepreneur) ที่มีอยู่เดิมให้มั่นคง และการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการวัฒนธรรมใหม่ รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าและบริการทางวัฒนธรรม (Cultural Product & Service) เพื่อยกระดับมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากและมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานวัฒนธรรม และการสื่อสารทุนทางวัฒนธรรมสู่สาธารณะ (Cultural Communication) จากแนวทางดังกล่าวนำมาสู่การกำหนดวัตถุประสงค์ของงานวิจัย 5 ข้อ คือ 1) เพื่อยกระดับคุณภาพและความเข้มแข็งของผู้ประกอบการเดิมเชิงลึก ต่อยอดการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ และพัฒนาเป็นวิสาหกิจวัฒนธรรม รวมทั้ง การส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ 2) เพื่อจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมโดยการเชื่อมโยงวงแหวนนอก-ในปัตตานี เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์ความหลากหลายทางด้านพหุวัฒนธรรมให้โดดเด่น เป็นทุนในการพัฒนาผู้ประกอบการท่องเที่ยวฐานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวประสบการณ์สัมผัสและพัฒนาพื้นที่กลางพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี 3) เพื่อออกแบบสารและสื่อเพื่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชน รวมทั้งใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่ชุมชนมีอยู่เพื่อเป็นฐานในการกำหนดรูปแบบสื่อและพื้นที่การสื่อสารที่เหมาะสมกันพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย 4) เพื่อวัดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการและศึกษาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมเชิงพื้นที่จังหวัดปัตตานี และ 5) เพื่อถอดบทเรียนจากการทำงานในภารกิจมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ และ การเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น ทั้งนี้ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัย 2 ลักษณะ คือ การวิจัยและพัฒนา (Research and development) และ การพัฒนานวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Innovation development and technology transfer) ผลลัพธ์จากการวิจัยตามวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 1) การจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมเดิมในย่านเมืองเก่าปัตตานี และการจัดการพื้นที่ขยาย 3 อำเภอ คือ โคกโพธิ์ มายอ และสายบุรี รวมทั้งการค้นหารวบรวมทุนทางวัฒนธรรมของทั้งสามพื้นที่เพื่อออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเฉพาะพื้นที่และเส้นทางการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงวงแหวนพหุวัฒนธรรมชั้นในสู่วงแหวนพหุวัฒนธรรมชั้นนอกเมืองปัตตานี 2) การเสริมองค์ความรู้และทักษะอาชีพเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจวัฒนธรรมเดิม การยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมเดิมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และการส่งเสริมผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมรุ่นใหม่ๆ 3) กลยุทธ์การสื่อสารวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบการสื่อสารและต้นทุนทางวัฒนธรรมที่นำมาเป็นเนื้อหาการสื่อสาร 4) บทเรียนแห่งความสำเร็จของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ 4.1) การสร้างเป้าหมายร่วมและสื่อสารเป้าหมายผ่านกิจกรรม 4.2) ความต่อเนื่อง 4.3) การขับเคลื่อนโดยใช้องค์ความรู้ของ และ 4.4) การต่อยอดขยายผลโดยกลุ่มภาคีเครือข่าย
Title
Management of Cultural Space and Cultural Capital to Enhance and Promote Cultural Entrepreneurs and Cultural Enterprises: Expanding and Enabling Pattanis Cultural EconomyKeywords
Keywords,cultural space,cultural capital,Cultural Entrepreneurs,Cultural Enterprises,Cultural Economy,PattaniAbstract
The province of Pattani possesses historical, social, cultural, and local intellectual capital, which has given rise to the unique identity of a vibrant multicultural society. This, in turn, can be leveraged as an asset for community revitalization and strengthening across various dimensions, thereby driving economic development through cultural capital. The research project, “Spatial and Cultural Resource Management for Enhancing the Competence of Cultural Entrepreneurs and Cultural Enterprises: Advancing Economic Development within the Cultural Ring of Pattani City,” represents the third phase of a continuous initiative aimed at building upon previous project outcomes. This project aims to: Elevate the quality and resilience of existing cultural entrepreneurs by fostering deep-level entrepreneurship, designing new cultural products, and developing cultural enterprises. It also seeks to promote new-generation cultural entrepreneurs. Manage cultural spaces by connecting the external and internal cultural rings of Pattani, linking unique cultural tourism routes, and highlighting the diverse cultural assets as a basis for developing cultural tourism entrepreneurs and enhancing experiential cultural tourism in the central cultural ring of Pattani Province. Design and produce media and communication materials that create economic value for the existing cultural capital within the community. This involves utilizing the available cultural capital as a foundation for determining suitable media and communication formats for the target community. Measure the economic and social returns of the project and study sustainable development strategies for the local cultural economy in Pattani Province. Extract lessons from university-led community development initiatives and the prototype of cultural capital management for elevating community economies and local identities. This research project will employ two research methodologies: Research and Development (R&D) and Innovation Development and Technology Transfer. The outcomes of this research project will encompass: The management of cultural spaces in the old city area of Pattani and the expansion of cultural space management in three districts: Khok Pho, Maiyo, and Sai Buri. It will also include the identification and pooling of cultural capital from all three areas to design specific local cultural tourism routes and connect the internal and external cultural rings of Pattani. Strengthening knowledge and occupational skills to develop cultural entrepreneurship among existing cultural entrepreneurs, enhancing the quality of traditional cultural products, developing new cultural products, and promoting new-generation cultural entrepreneurs. Effective cultural communication strategies, considering the components of communication and the cultural capital used as communication content. Lessons from the success of universities in driving cultural capital, including goal setting, continuous efforts, knowledge-driven initiatives, and scalability through network-based community groups.