การเพิ่มศักยภาพตัวแบบเชิงธุรกิจและโครงข่ายการตลาดเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากจากทรัพยากรไผ่จังหวัดปราจีนบุรีอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการเรียนรู้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 53 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A17F640110
นักวิจัย ผศ ดร วารุณี อริยวิริยะนันท์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การสร้างแผนธุรกิจเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตด้านเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจน
แพลตฟอร์ม อื่นๆ (ในกรณีที่แผนไม่สอดคล้องกับ Platform 1-4)
โปรแกรม P17 การแก้ปัญหาเร่งด่วนของประเทศ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ปทุมธานี, ปราจีนบุรี

ชื่อโครงการ

การเพิ่มศักยภาพตัวแบบเชิงธุรกิจและโครงข่ายการตลาดเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากจากทรัพยากรไผ่จังหวัดปราจีนบุรีอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการเรียนรู้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

คำสำคัญ

ทรัพยากรไผ่,ตัวแบบเชิงธุรกิจ,โครงข่ายการตลาด,การเรียนรู้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

บทคัดย่อ

โครงการวิจัย “การเพิ่มศักยภาพตัวแบบเชิงธุรกิจโครงข่ายการตลาดเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากจากทรัพยากรไผ่จังหวัดปราจีนบุรีอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการเรียนรู้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า” มีวุตถุประสงค์เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี โดยใช้ไผ่ซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นถิ่นที่มีศักยภาพสูงและเป็นเครื่องมือสำคัญในการบรรเทาผลกระทบในภาคเกษตรและภาคบริการจากโรคระบาดโควิด 19 ผ่านการใช้ตัวแบบเชิงธุรกิจและโครงข่ายการตลาด ไปพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นร่วมกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ในส่วนต้นน้ำที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร ได้สร้างแผนธุรกิจการปลูกไผ่เพื่อการขยายปริมาณการผลิตภายใต้ความต้องการของผู้ประกอบการการใช้ไผ่ สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการทั้งภายในและข้างเคียงจังหวัดปราจีนบุรี เกิดหลักสูตรการอบรมการปลูกไผ่ 2 หลักสูตร เพื่อเป้าหมายด้านความยั่งยืนของอาชีพในมิติการจัดการพื้นที่ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่บ้านไทรงาม 57 เปอร์เซ็นต์ สมีไผ่เพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ได้โดยลดต้นทุนการซื้อไผ่จากแหล่งอื่น ในส่วนกลางน้ำได้เพิ่มโอกาสการเข้าถึงช่องทางการตลาด พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานคุณภาพ และมูลค่าเพิ่มของสินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ใน 3 ประเภท คือ 1.ต้นแบบการทำธุรกิจชุมชนที่ที่มีอาชีพการผลิตเสื่อลำแพนและสินค้าหัตถกรรมอื่นๆ ของกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มวิสาหกิจสหแสงชัยเสื่อลำแพนบ้านค้อ วิสาหกิจชุมชนในตำบลเกาะลอยและตำบลบ้านหอย โดยพัฒนาต่อยอดสินค้าตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ ได้แก่ วิธีการป้องกันมอดและเชื้อรา วิธีการย้อมสีธรรมชาติ การควบคุมพิกัดขนาดเส้นตอกที่ให้มีความกว้างเท่ากันอย่างสม่ำเสมอ และสอนวิธีบริหารจัดการห่วงโซ่โมดูลการผลิตที่เกิดขึ้นเพื่อความยั่งยืนของชุมชน ขยายผลการขับเคลื่อนโมเดลธุรกิจกับเครือข่าย เกิดโอกาสการสร้างรายได้และผลกำไรได้หลายช่องทางมากยิ่งขึ้น โดยมีรายได้รวมของวิสาหกิจชุมชนสหแสงชัยเสื่อลำแพนบ้านค้อ มีความเปลี่ยนแปลงทางรายได้เพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ 2.การเพิ่มศักยภาพการผลิตและการตลาดให้กับหน่อไม้ผ่านกระบวนการแปรรูปโดยกลุ่ม โดยปรับปรุงกระบวนการผลิตและยกระดับหน่อไม้ให้เป็นผลิตภัณฑ์หน่อไม้ดองมะพร้าวที่มีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐานอาหาร และสามารถขยายตลาดไปยังภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมได้ ผลจากการวิจัย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิต 20 เปอร์เซ็นต์/การผลิต และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 33 เปอร์เซ็นต์ 3.การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้และบริการด้านสุขภาพบนฐานทรัพยากรไผ่ ได้ตัวแบบธุรกิจบริการด้านสุขภาพฐานทรัพยากรไผ่ร่วมกับการพัฒนาหลักสูตรการสร้างอาชีพระยะสั้นที่ก่อให้เกิดรายได้ 5 หลักสูตร องค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคธุรกิจบริการสุุขภาพ/การท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยออกมาในรูปโปรแกรมและกิจกรรมการบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีการคำนวณค่าบริการที่ชัดเจน และเพิ่มทักษะการบริการสุขภาพให้กลุ่มอาชีพในชุมชน นอกจากนี้ ได้พัฒนาคน (กลไก) และระบบการเรียนรู้โดยขับเคลื่อนให้มีกิจกรรมความร่วมมือที่ยั่งยืน พัฒนากลไกจัดการที่เป็นคนรุ่นใหม่ในการเชื่อมประสานการจัดการห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเติมช่องว่างที่กลุ่มอาชีพเดิมต้องการตัวช่วย เกิดการพัฒนาคนที่จะขับเคลื่อนงานในพื้นที่ทั้งคนรุ่นใหม่และคนที่ทำอาชีพแล้ว ขยายผลร่วมกับผู้ประกอบการในห่วงโซ่และภาคีสนับสนุนที่ยึดโยงบนฐานทรัพยากรไผ่ เกิดนวัตกรรมกระบวนการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนอาชีพได้ในระดับต้นแบบ เพื่อพัฒนาอาชีพในชุมชนที่สามารถทำงานต่อในระดับแผนงานจังหวัดได้

Title

Local economic empowerment for sustainable of Business model and Marketing network base on Bamboo resources in Prachinburi Province by Co-supply chain knowledge.

Keywords

Bamboo resource,Business model,Marketing network,Co-supply chain Knowledge

Abstract

The “potentiality enhancement of business model in marketing for sustainable local business from bamboo resources in Prachin Buri Province through the co-supply chain knowledge” research project focuses on escalating values and worth for Prachin Buri by installing bamboo, local natural resources with immense potential which recognizes as a primary instrument to counteract the impact caused by the outbreak of Covid-19 on agricultural and administrative sections. The designated business model and marketing network were introduced as well as the co-supply chain knowledge to develop local economy. In terms of farmers, the business plan regarding bamboo planting in order to elevate the production corresponding to the demands from bamboo entrepreneurs has been installed. The network of bamboo entrepreneurs, both local and from neighboring provinces, was organized into 2 workshops on bamboo farming, intended for the sustainability of this profession in terms of area management. According to this, the Baan Sai Ngam bamboo production group has reduced their cost of buying bamboo from other areas to 57 percent. Market channeling has increased, in midstream, along with the standards of product qualities and adding values to local products using 3 procedures. 1) the business model in communities whose practice of lampan bamboo mats and other handicraft products was their primary craft e.g., Saeng Chai community enterprise group for lampan mats at Baan Kho and community enterprises at Kho Loy sub-district and Baan Hoy sub-district. The wisdom from upstream process were enhanced such as anti-moth and fungus techniques, natural dyeing process, the standard control for even bamboo strip upon weaving and the knowledge of production chain module management for the sustainability of the community, which could expand and increase business models with networks. By doing so, it would help communities increase income and interests from more channels. The result was evident since Saeng Chai community enterprise group for lampan mats at Baan Kho’s incomes was increased 29 percent. 2. To strengthen the production and marketing potentiality of processed bamboo shoots by the modification of production process and elevate normal processed bamboo shoots into processed bamboo shoots in coconut water, packed with decent quality and safety according to food standards. The processed bamboo could be distributed to the service and industrial sections. The results illustrated that this method helped community enterprises reduce production waste at 20 percent/production with 33 percent of their income increased. 3. To develop learning and healthcare service hub based on bamboo resources. The business plan on healthcare services based on bamboo resources collaborating with occupational class, local administrative and healthcare service/tourism sections in the area had agreed on programming and healthcare tourism activities with precise service fees and improve healthcare service skills for local occupational class. Additionally, the research team also installed the learning system and development of personnel (device) by encouraging sustainable collaboration, improving managing mechanism for younger generations to connect with co-supply chain knowledge and fill what is lack in the original occupation class. This, therefore, encourage human development for younger generations and those who experienced in related occupations, building network for entrepreneurs and associates related to bamboo resources. The innovation of management to encourage model occupations was established in order to develop careers in local community to strengthen provincial projects.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น