กลไกความร่วมมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพื้นที่การเรียนรู้ของจังหวัดปทุมธานี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 75 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F640125
นักวิจัย รศ.ดร. ภาวิณี เอี่ยมตระกูล
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ปทุมธานี

ชื่อโครงการ

กลไกความร่วมมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพื้นที่การเรียนรู้ของจังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ

เมืองแห่งการเรียนรู้ พื้นที่การเรียนรู้ เศรษฐกิจฐานราก การออกแบบและการพัฒนาพื้นที่ การมีส่วนร่วม กระบวนการคิดเชิงออกแบบ

บทคัดย่อ

ชุดโครงการกลไกความร่วมมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพื้นที่การเรียนรู้ของจังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วยโครงการย่อย 2 โครงการ คือ โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี โครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อคนทุกกลุ่มในจังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลไกการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้สู่ความยั่งยืนผ่านการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาภายใต้เครือข่ายภายในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี รวมถึงพัฒนาพื้นที่ต้นแบบของเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม อันจะนำไปสู่ยกระดับการเรียนรู้ของประชาชนในจังหวัดปทุมธานีผ่านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของเมืองสู่การสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพื้นที่ต้นแบบเมืองแห่งการเรียนรู้โดยมีพื้นที่ศึกษา คือ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เทศบาล คือ เทศบาลนครรังสิต เทศบาลเมืองบึงยี่โถ เทศบาลตำบลธัญบุรี และเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ โดยการดำเนินงานของโครงการย่อยภายในชุดโครงการเป็นการศึกษาร่วมกันของกลไกการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้กับการออกแบบพื้นที่ต้นแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ จากผลการศึกษาพบว่า พื้นที่สามารถแบ่งออกเป็น 4 ย่านการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ย่านการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงถึงความเป็นมาของคลองรังสิตประยูรศักดิ์ผ่านประตูน้ำจุฬาลงกรณ์และการค้าขายก๋วยเตี๋ยวเรือ 2) ย่านการเรียนรู้อาหารและสุขภาพเชื่อมโยงพื้นที่ของกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพร วัฒนธรรมอาหารจีนที่ยังคงมีอยู่ในพื้นที่ การส่งเสริมพื้นที่สุขภาพคนเมืองจากการปรับปรุงพื้นที่ศูนย์กีฬาเทศบาลเมืองบึงยี่โถที่จะสนับสนุนกิจกรรมทางสุขภาพของศูนย์การแพทย์บึงยี่โถ 3) ย่านนันทนาการเพื่อการเรียนรู้เน้นส่งเสริมพื้นที่ออกกำลังกายและกิจกรรมการที่หลากหลายเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ใกล้เคียง เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ สวนสัตว์ดุสิตแห่งใหม่ และ 4) ย่านการเรียนรู้ธรรมชาติและระบบนิเวศ ที่สภาพพื้นที่ยังคงความสมบูรณ์ของพื้นที่เกษตรกรรม ต้นจามจุรีสองฝั่งริมคลอง การมีวิถีชีวิตริมคลอง การมีเส้นทางที่เหมาะสมต่อการสนับสนุนเส้นทางปั่นจักรยาน ในด้านของกลไกการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้พบว่าพื้นที่ศึกษามีเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ นักพัฒนาชุมชน ปราชญ์ และประชาชนภายในชุมชน อีกทั้งเมื่อพิจารณากลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ที่ผ่านมา พบว่า มีกลไกทั้งใน ด้านการวางแผน (Planning) ด้านการส่งเสริมกิจกรรมมีส่วนร่วม (Involvement) ด้านการสนับสนุนงานมหกรรมและการจัดกิจกรรม (Celebration) แต่อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยการสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่การเรียนรู้ที่ไม่โดดเด่น ทั้งในเชิงของกิจกรรม และพื้นที่ รวมถึงข้อจำกัดในการเข้าถึงทำให้การรับรู้ของภาคประชาชนต่อการเข้าใช้พื้นที่เรียนรู้จึงอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นข้อเสนอแนะกลไกที่นำมาปรับใช้จึงมุ่งเน้นไปที่การการส่งเสริมกิจกรรมมีส่วนร่วม (Involvement) ร่วมกับการสนับสนุนงานมหกรรมและการจัดกิจกรรม (Celebration) และการระดมทุนจากเครือข่ายเพื่อการพัฒนา (Funding) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอัตลักษณ์ของพื้นที่การเรียนรู้ผ่านการส่งเสริมการเข้าถึงพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน อย่างไรก็ตามจากการพิจารณาศักยภาพในแต่ละกิจกรรมชี้ให้เห็นว่ามีระดับศักยภาพในการขับเคลื่อนที่แตกต่างกัน ดังนั้นการปรับใช้กลไกที่เหมาะสมร่วมกับการส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกันของเครือข่ายจึงเป็นโจทย์สำคัญที่ควรปรับปรุง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ให้สามารถเป็นพื้นที่ที่นอกจากสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนแล้วนั้น ยังเป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ให้กับประชาชนเพื่อต่อยอดโอกาสสู่คุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

Title

Mechanisms of Public Participation to Promote The Local Economic Development Through The Learning Spaces of Pathum Thani Province

Keywords

Learning City,Learning Space,Local Economy,Physical Design and Development,Participation,Design Thinking

Abstract

The mechanisms for public participation towards promoting the local economic development of Pathum Thani province through the learning spaces consists of 2 sub-projects. The first one (Project 1) is “The Development of Mechanisms for Driving the Learning City in Promoting the Local Economy of Pathum Thani”. And Project 2 is “Development of Prototype Area-Based Learning towards Inclusive City for Pathumthani”. The objective is to develop a mechanism to drive the learning city towards sustainability, leveraging promotion of participation processes in the development network in Pathum Thani area. Also, to develop a pilot area for a sustainable learning city within Pathum Thani province through a participatory process. Achieving these objectives will lead to upgrading of the rate of learning in Pathum Thani Province and judicious utilization of the citys resources in building a local economy through the Learning City area. The study area is Thanyaburi District, Pathum Thani Province, which is divided into 4 municipalities, namely: Rangsit City Municipality, Bueng Yitho Town Municipality, Thanyaburi Subdistrict Municipality, and Sananrak Town Municipality. The result from this study showed that a potential strategic development area can be divided into 4 learning districts. 1) Historical learning area: this area connects to the history of Rangsit Prayoonsak Canal through Chulalongkorn Pratunam and boat noodle. 2) Food and health learning district: this district links the area of herbal enterprises, Chinese food culture that persists in the area, promotion of urban health areas by upgrading the Bueng Yito Municipal Sports Center area to support the health activities of Bueng Yitho Medical Center, 3) Recreational areas for learning: this area focuses on promoting areas for exercise and a variety of activities to link nearby learning resources, e.g., the Science Museum, the new Dusit Zoo. 4) Learning areas for nature and ecosystems: the condition of the area is that of agricultural areas with green corridor along both sides of the canal and its livability can attract active space for walking and cycling. When the mechanisms to drive activities related to learning is considered, it was found that in the past mechanisms such as planning, involvement, and celebration were used. However, due to the fact that creation of an identity for the learning area demonstrated no outstanding results in terms of activities and areas, as well as in accessibility limitations, the publics perception for accessibility to learning areas with relatively low level has a leverage. Therefore, the proposed mechanisms for learning space development focused on promoting the involvement and collaboration, alongside promoting the activities and events including funding allocation to develop the identity of the learning area through promoting access to learning areas/activities. However, considering the potential of each activity, different levels of potential in driving mechanism were indicated. So, adoption of appropriate mechanisms alongside the promotion of network collaboration plays an important role that should be improved upon to promote and develop the area, while enhancing local economy and creating learning opportunities leading to a better quality of life for citizens in the study area.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น