ชื่อโครงการ
การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรมคำสำคัญ
วิทยาสถาน,พื้นที่การเรียนรู้,เมืองแห่งการเรียนรู้,พิพิธภัณฑ์มีชีวิต,การพัฒนาอย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหากลไกในการบริหารจัดการ สร้างกระบวนการขับเคลื่อนและเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่งรูปแบบแนวทางการพัฒนาเพื่อเป็นฐานในการต่อยอดในการพัฒนาลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ในมิติต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วม และพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ของเมือง (Learning Space) ในย่านเมืองสำคัญของลำปางเพื่อยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นและคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ในการศึกษาประกอบด้วย โครงการย่อยจำนวน 3 โครงการ โดยในแต่ละโครงการมีการกำหนดเครื่องมือในการวิจัยที่หลากหลาย ประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสารจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Research) ทั้งโดยการสำรวจพื้นที่จริง การจัดเวทีประชาคม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประชุมเชิงปฏิบัติการ สนทนากลุ่ม (Focus Group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมทั้งเวทีวิพากษ์เพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูล มีกระบวนการสังเคราะห์ วิเคราะห์ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อค้นหาและพัฒนาระบบและกลไกในการขับเคลื่อนจังหวัดลำปางไปสู่ “เมืองแห่งการเรียนรู้”อย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่การบริหารจัดการเมืองลำปางที่มีความเจริญก้าวหน้า ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นการเติบโตของเมืองลำปางอย่างยั่งยืน โดยสรุปผลการวิจัยใน 3 ประเด็นดังนี้ ประเด็นที่ 1 วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาระบบและกลไกในการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วม o ระบบและกลไกในการศึกษาท้องถิ่น (Local Study) o พัฒนาระบบและกลไกในการขับเคลื่อนเมืองแห่งลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน o ระบบและกลไกในการพัฒนาและการบริหารเมืองแห่งการเรียนรู้ ประเด็นที่ 2 พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ของเมือง (Learning Space) ในย่านเมืองสำคัญของลำปางในการยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นและคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม o การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย o พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และกระบวนการสร้างคุณค่าจากทุนทางสังคมวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยเสน่ห์ทางการท่องเที่ยววิถีชีวิตย่านท่ามะโอ ประเด็นที่ 3 สร้างแบรนด์อัตลักษณ์เมืองลำปางให้เป็นที่รู้จักและสร้างเสน่ห์ทางการท่องเที่ยว จากการวิจัยได้สรุปข้อค้นพบจากการถอดบทเรียนนำเสนอในรูปแบบ Learning City LAMPANG Model เพื่อนำเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้ภูมิทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นฐานในการพัฒนามีองค์ประกอบในการบริหารจัดการในมิติต่าง ๆ
Title
The Development of Lampang Learning City from Sociocultural BackgroundKeywords
Learning Academy,Learning Space,Learnign City,Living Mesuem,Sustainable DevelopmentAbstract
The study “The Development of Lampang Learning City from Sociocultural Background” initially aims at to figure out how to drive and form Lampang learning city networking in order to come up with Lampang learning city development model. The objective of this study are to to develop system and mechanism for driving Lampang learning city from sociocultural background through participatory processes, and to develop a learning space in lampangs major urban towns to concretely enhance the local economy and the quality of life of the local people. This study was conducted with three sub research projects which equipped with a variety of research tools, consist of analyzing documents from related documents and research, and collecting field research data from both by area study, organizing a congregational forum., knowledge exchange forums, workshops, focus group discussions, and in-depth interviews, as well as critical forums to confirm the accuracy of the data. The finding of the study is summarized in 3 following aspects; Firstly, the analysis of the process for developing systems and mechanisms to drive Lampang learning city from a sociocultural background by participatory processes can be classified into three aspects including system and mechanism for Lampang local study, system and mechanism for driving Lampang learning city from a sociocultural background by participatory processes and system and mechanism for developing and managing Lampang learning city. Secondly, the development of the city learning space in Lampang major urban towns to concretely enhance the local economy and the quality of life of the local people is proposed into two areas; the development of learing space and living mesuem at Sob Tui, and the development of learning space and value creation process from sociocultural background for strengthening Local Economy with the Uniqueness of Local Life Tourism at Thama-O. Lastly, the creation of brand identity of Lampang. The findings of the study is presented in the Learning City LAMPANG Model to demonstrate the way to drive Lampang learning city through a participatory process under the social and culturalb ackgrounds as a basis for development.