การพัฒนาต้นแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ผ่านระบบกลไกความร่วมมือ เชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 285 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F640107
นักวิจัย รองศาสตราจารย์ กตัญญู แก้วหานาม
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กาฬสินธุ์

ชื่อโครงการ

การพัฒนาต้นแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ผ่านระบบกลไกความร่วมมือ เชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์

คำสำคัญ

เมืองแห่งการเรียนรู้,พื้นที่การเรียนรู้,การพัฒนาท้องถิ่น,การบริหารแบบร่วมมือ

บทคัดย่อ

โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาต้นแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ผ่านระบบกลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนกลไกในระดับเมือง ให้มีบทบาทและศักยภาพการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ และพัฒนาต่อยอดสู่ความภาคภูมิใจจากพลเมือง (Citizen engagement) พัฒนากรอบหลักสูตรท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองน่าศึกษาที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย และสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนหลักสูตรท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับพื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Learning Space) และเชื่อมโยงพื้นที่การเรียนรู้ ใช้แบบการวิจัย (Research Design) เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยใช้ทั้งระเบียบวิธีเชิงปริมาณ (Quantitative methods) และ ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative methods) ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ที่ชัดเจนคือ “พัฒนาเมืองกาฬสินธุ์ ให้เป็นเมืองอุดมสุข” นำมาซึ่งผลการดำเนินงาน 1) การสร้างการรับรู้เรื่องการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกับภาคีความร่วมมือในจังหวัดกาฬสินธุ์และสามารถสร้างประเด็นสาธารณะร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน 2) พัฒนากลไกการขับเคลื่อนเมืองอุดมสุขตามนโยบายของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนหลักสูตรท้องถิ่น พื้นที่เรียนรู้ท้องถิ่น และการสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเรียนรู้ท้องถิ่น 3) การปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่นที่อิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการ ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ 4) เกิดตลาดวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น 5) นักจัดการเรียนรู้เมือง (City Learning Administrator) สามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่เส้นทางการเรียนรู้ 9 ชุมชนได้ ข้อเสนอแนะคือ 1.พัฒนากระบวนการบริหารความร่วมมือท้องถิ่น เพื่อระบุช่องว่าง และ/หรือความซ้ำซ้อนของกระบวนการการบริหารความร่วมมือ การระบุบทความร่วมมือของหน่วยความร่วมมือภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ และมีการบริหารจัดการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายนโยบายและส่งเสริมกลไกการมีส่วนร่วมโดยประชาชนในท้องถิ่น การพัฒนานักจัดการเรียนรู้เมือง (City Learning Administrator) อย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดความชัดเจนในการบริหารจัดการและเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. ขับเคลื่อนพื้นที่เรียนรู้มีชีวิต (Living learning Space) ให้มีการวิเคราะห์กลไกเชิงพื้นที่ และพัฒนาให้พื้นที่เรียนรู้มีชีวิต จะทำให้เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีพื้นที่เรียนรู้มีชีวิต อาทิ หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ ตลาดวัฒนธรรมเมืองเก่า มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพัฒนาเป็นพื้นที่ Learning Space จะทำให้เกิดพื้นที่เหมาะสมสำหรับช่วงวัยเรียน วัยรุ่น และวัยทำงานในการเป็นพื้นที่เรียนรู้ พัฒนาทักษะ ทัศนคติ วัฒนธรรมและศิลปะการขับเคลื่อนพ้นที่เรียนรู้มีชีวิตจะมีความชัดเจนและเกิดรูปธรรมมากยิ่งขึ้น จากฐานความรู้ด้านการออกแบบชุมชนเมืองเพื่อยกระดับกิจกรรมเศรษฐกิจ พื้นที่การเรียนรู้ในพื้นที่เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ 3.ฟื้นฟูนิเวศการเรียนรู้เมือง พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ พัฒนาสื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละบุคคล หรือแต่ละกลุ่ม หลักสูตรที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ยุคใหม่ อาชีพใหม่ตามสมรรถนะของผู้เรียนที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดการตอบสนองกันตามธรรมชาติ นิเวศการเรียนรู้จะเชื่อมโยงทั้งมิติของความต้องการของผู้เรียนรู้ รวมทั้งทิศทางการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ได้ครบประเด็น

Title

The Model of Learning City through an area base collaboration approach for local economic development A case study of Kalasin Municipality.

Keywords

Learning City,Learning Space,Local Governance,Collaborative Governance

Abstract

Research project on the development of the Learning City model through spatial cooperation mechanisms for the development of the local economy. Case Study Kalasin City Municipality aims to drive mechanisms at the city level to play a role and potential in driving the city of learning and to develop towards citizen engagement; develop a local curriculum framework to become a city suitable for all ages; create a participatory learning process to drive local curricula linked to learning spaces and link learning spaces. Research design uses mixed methods research. The study found that the clear local development policy of Kalasin Municipality, “Developing Kalasin City into a Happiness and Well-Being City,” led to the results of 1) raising awareness of the development of the city of learning in collaboration with the cooperation parties in Kalasin province and 2) creating public issues to drive the community economy. 2) develop the mechanism to drive happiness and well-being in accordance with the policy of Kalasin Municipality in line with the local curriculum drive. 3) Adapting the Kalasin Municipal Schools local history and culture curriculum to their needs. 4) Local cultural markets were created as a mechanism to promote the local economy. 5) City Learning Administrators can be linked to nine learning areas. Recommendations are 1. Identify gaps and redundancies in the cooperation management process by developing local cooperation management processes. Identifying collaborative chapters of cooperative units under the City of Learning Steering Committee. And it manages the cooperation of the parties and the policy network and promotes mechanisms of participation by local citizens. The continued development of city learning administrators will provide clarity in management and sustainability in the development of lifelong learning. 2. Create a living/learning environment. By analyzing spatial mechanisms and developing a living-learning area, Kalasin Municipality will have a living-learning area such as the Kalasin City Art Gallery. The old town cultural market is constantly active, and the development into a learning space will create a suitable space for school-age. Adolescents and working-aged people are learning spaces, developing skills, attitudes, culture, and the arts. The drive to learn to live becomes clearer and more concrete. from a knowledge base on urban design to enhance economic activity. Learning areas in Kalasin Municipality 3. Revitalize urban learning ecosystems by creating learning resources, learning materials, and other learning materials that promote individual or group learning. A curriculum that meets modern learning needs and new careers based on increased learner performance to achieve a natural response. The learning ecosystem ties together the learners different needs and the way the learning city is going to grow.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น