ชื่อโครงการ
การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่เมืองพะเยาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบบนพื้นฐาน BCG โมเดลคำสำคัญ
เมืองแห่งการเรียนรู้,BCG โมเดล,การเรียนรู้ตลอดชีวิต,เมืองพะเยาบทคัดย่อ
การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่เมืองพะเยาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบบนพื้นฐาน BCG โมเดล ใช้หลักการด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก ผสมผสานกับ วิธีบริหารงานด้วยวิธีคู่ตรงข้ามของ Waters & Viches ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ BCG โมเดลเป็นฐาน เพื่อนำไปสู่ Green politics และการยกระดับชีวิตและคุณภาพชีวิตชุมชนพะเยา ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน แบบ Activities based model การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเดิมให้มีมูลค่าแบบ BCG โดยมีกระบวนการที่นำมาใช้เพิ่มเติมเช่นการ Cross-learning คือ การนำชุมชนมาทำกิจกรรมร่วมกับนิสิต เพื่อเรียนรู้ไอเดียใหม่ในการผสมผสาน BCG โมเดลเข้ากับผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น ผ่านกิจกรรมในหลักสูตร “UP to Reskill/ Upskill” ที่สามารถเก็บหน่วยกิตมหาวิทยาลัยพะเยา การประสานความร่วมมือระหว่างภาคี องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา และมหาวิทยาลัยพะเยา และการสร้างการรับรู้ด้วยการทำประชาสัมพันธ์ออกสื่อทีวีท้องถิ่น ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีการติดตามและประเมินผลความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบบนพื้นฐาน BCG โมเดล ด้วยแบบประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านความรับผิดชอบ แบบประเมินชุดความคิด แบบประเมินผลกระทบของโครงการ แบบประเมิน Carbon Emission ของผลิตภัณฑ์ และฐานข้อมูล Carbon footprint การติดตามประเมินผลการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่เมืองพะเยาผ่านการวิเคราะห์ลักษณะของความสนใจและอำนาจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยเครื่องมือ Stakeholder Analysis Matrix และการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกับการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis)
Title
A development of Phayao learning city management mechanism and system using BCG modelKeywords
Learning City,BCG Model,Lifelong Learning,PhayaoAbstract
A development of Phayao learning city management mechanism and system using BCG model have used UNESCO guidelines for building learning cities combined with Waters & Viches theory of binaries opposition to drive the economy of Phayao learning city and raise the life quality of Phayao community through the “Activities based model” and develop valuable local community products based on “BCG model”. A development of local products use variety method such as Cross-learning activities which is bringing the people to do activities with students to learn new ideas for integrating BCG models with existing local products through the “UP to Reskill/ Upskill” course that can transfer credits to the University of Phayao course, The cooperation of Phayao provincial administrator organization Phayao municipality and University of Phayao, and the public relations through various local media. The researcher have tracking and evaluation of the success of informal workers life improvement quality on the basis of BCG model with the 21st Century Skills Assessment Scale on Responsibility, Mindset Assessment Form, Project Impact Assessment Form, carbon emission of products and carbon footprint database, monitoring and evaluation of system development and learning city management mechanisms in Phayao city area through analysis of the nature of the interests and powers of the stakeholders with the “Stakeholder Analysis Matrix Tools” and analysis of factors affecting the learning city operation together with analysis of strengths, weaknesses, opportunities and obstacles (SWOT Analysis).