การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัยในบทบาทกลไกสนับสนุนความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จังหวัดระยองโดยความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองและภาคีเครือข่าย ระยะที่ 2

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 32 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F640112
นักวิจัย นางประภาภัทร นิยม
หน่วยงาน สถาบันอาศรมศิลป์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ระยอง

ชื่อโครงการ

การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัยในบทบาทกลไกสนับสนุนความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จังหวัดระยองโดยความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองและภาคีเครือข่าย ระยะที่ 2

คำสำคัญ

เมืองแห่งการเรียนรู้,โครงการวิจัยเชิงบูรณาการ,สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัย,จังหวัดระยอง

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้การวิจัยเชิงปฏิบัติการผ่านปฏิบัติการเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City Lab) ที่ผสมผสานวิธีห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) และการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ๑.) สร้างนวัตกรรมกลไกระบบนิเวศการเรียนรู้ของจังหวัดระยอง โดยการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัยจังหวัดระยองเพื่อสนับสนุนความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืน ๒.)สร้างองค์ความรู้ในการจัดระบบการพัฒนาชุดสาระการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ของจังหวัดระยองในการพัฒนาคนให้ทันการพัฒนาเมือง ๓.) พัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ของคนระยองทั้งออนไลน์และออฟไลน์ (Learning Space & Learning Platform) ที่ประมวลและจัดระบบชุดสาระการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ เพื่อสร้างช่องทางการเข้าถึงการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของจังหวัดระยอง ๔.) ประเมินผลลัพธ์ของการทดลองพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับภาคีเครือข่าย และ/หรือกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ผลที่ได้รับ คือ ๑.) การค้นพบกลไกขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสู่ระยองเมืองน่าอยู่ สู่การเป็นจังหวัดจัดการศึกษาด้วยตนเองด้วย “โมเดลตำบลจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง” ในการเชื่อมร้อยมุมมองภาพรวมระดับบุคคลเชิงพื้นที่สู่ “กระบวนการเรียนรู้ระดับเมือง” ๒.) เกิดการรวบรวมองค์ความรู้ที่นำมาพัฒนาเป็นชุดสาระการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ของจังหวัดระยองจำนวน ๕ ชุด ได้แก่ ชุดนักสร้างบ้านแปงเมือง ชุดกระบวนการค้นหาต้นทุนชุมชน ชุดสัมผัสคุณค่าผ้าตากะหมุก ชุดสนุกไม่จักกะบอก (สนุกสนาน) รู้รักษ์ภาษาถิ่นระยอง และชุดลิ้มรสอาหารท้องถิ่นเมืองระยอง ๓.)การพัฒนาแพลตฟอร์มขับเคลื่อนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ให้เกิดการเชื่อมโยงการรับรู้ตั้งแต่ระดับหน่วยย่อย บุคคล ตำบลไปสู่ความเข้าใจเป้าหมายการพัฒนาระดับจังหวัดและสังคมในวงกว้างไปพร้อมกัน ๔.) เกิดการขยายผลการประสานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกับสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย ทั้งในเชิงพื้นที่ระดับตำบลและเชิงเนื้อหาจากปราชญ์ท้องถิ่นหรือบุคคลผู้มีองค์ความรู้เฉพาะในพื้นที่ต่างๆ เข้ามารวมตัวกัน เพื่อรวบรวมองค์ความรู้สู่การจัดระบบทำเป็นชุดสาระการเรียนรู้ รวมทั้งพัฒนาพื้นที่แหล่งเรียนรู้ ที่สามารถนำไปขยายผลรองรับการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ใหม่ในการพัฒนาคนระยองทุกช่วงวัยให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเมืองและรู้รักษ์คุณค่ารากเหง้าและอัตลักษณ์ของเมืองให้คงไว้ได้

Title

Transdisciplinary Research for the Operation of Rayong Inclusive Learning Academy as Supportive Mechanism in Promoting Rayong Learning City with the Co-operation of Provincial Administration Organization of Rayong and Local Partnership Phase 2

Keywords

Transdisciplinary Research,Inclusive Learning Academy,Learning City,Rayong Province

Abstract

This is a report of an action research project through the Learning City Lab, combining Social Lab methodologies and Design Thinking. The objectives are: 1) To innovate the educational ecosystem of Rayong Province by establishing a lifelong learning institute to sustainably support the city as a learning community; 2) To develop a knowledge framework for organizing learning content and resources that meet the developmental needs of Rayong, enabling individual and urban development; 3) To create a new learning platform and space for the people of Rayong, both online and offline, which organizes learning content and resources effectively in alignment with the provinces context; and 4) To evaluate the outcomes of the experimental learning spaces for networks and other targeted groups. The results are as follows: 1) The study identified mechanisms driving educational innovation, transitioning Rayong into a self-managing educational province, from a “Self-Managed Sub-District Model” to a “City-Level Learning Process;” 2) The collection of knowledge was used to develop learning content and resources that serve Rayongs needs, resulting in 5 sets: Traditional House Building, Community Capital Exploration, Appreciating Local Textiles, Local Rayong Language Enrichment, and Local Culinary Enjoyment; 3) The study results informed the development of a platform to drive urban learning development both online and offline, linking perceptions from individuals at the community level to a comprehensive understanding of provincial and societal goals, fostering simultaneous growth; and 4) The study propelled an expansion of collaborative efforts through a network driving urban learning, involving all age groups and local knowledge holders, converging to systematize learning content and develop learning spaces, which can be scaled to create a new environmental learning system, ensuring Rayongs lifelong learners keep up with urban changes while preserving its roots and identity.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น