ชื่อโครงการ
การพัฒนาเมืองยะลาผ่านแนวความคิดเกษตรฮาลาลพรีเมี่ยม เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากฐานรากชนบทสู่เมืองอย่างยั่งยืนคำสำคัญ
เกษตรฮาลาล,ผลผลิตเกษตรพรีเมี่ยม,โคเนื้อฮาลาลพรีเมี่ยม,อาหารสัตว์,หญ้าเนเปียร์,ไฟฟ้าพลังงานสะอาด,วิสาหกิจชุมชน,นวัตกรรมการมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
ความต้องการบริโภคเนื้อโคฮาลาลของประชากรในจังหวัดยะลามีปริมาณสูง สาเหตุสำคัญประการหนึ่งเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ซึ่งความนิยมบริโภคเนื้อโคผูกพันกับศาสนกิจในศาสนาอิสลาม จึงปรากฏมูลค่าทางเศรษฐกิจของโคเนื้อในจังหวัดยะลาในปี 2562 มีประมาณ 866 ล้านบาท จากผลผลิตโคที่ออกสู่ตลาดราว 32,000 ตัว นอกจากนี้ปริมาณความต้องการของตลาดมีมากกว่าปริมาณที่ผลิตได้ไม่ต่ำกว่า 11,000 ตัวต่อปี ดังนั้นโคเนื้อฮาลาลจึงเป็นเศรษฐกิจที่ควรส่งเสริมศักยภาพ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อ พบว่าโคซึ่งจำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่ถูกนำเข้ามาจากนอกพื้นที่ทั้งภาคใต้ตอนบน และภาคกลาง จึงไม่ก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรผู้เลี้ยงโคและผู้บริโภค ทั้งที่จังหวัดยะลามีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคอยู่ถึง 17,166 ราย (ในปี 2562) แต่ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงโคสายพันธ์พื้นบ้านเลี้ยงแบบปล่อยไล่ทุ่ง ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของตลาดเมือง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายในการสร้างห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อฮาลาลต้นแบบเพื่อเชื่อมโยงระหว่างแหล่งผลิตโคจากพื้นที่ชนบทและตลาดเนื้อสดและเนื้อเกรดพรีเมียมในพื้นที่ตัวเมืองยะลา โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 4 ประการดังนี้ 1) เพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานใหม่ สำหรับโคเนื้อมาตรฐานฮาลาลพรีเมียมที่สามารถเชื่อมโยงชนบทสู่เมืองยะลา 2) เพื่อพัฒนาและเพิ่มพื้นที่แปลงหญ้าเนเปียร์สำหรับโคเนื้อและรองรับการมีศูนย์ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด 3) เพื่อพัฒนาอาหารโคที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ได้มาตรฐานจากวัตถุดิบในพื้นที่ และ 4) เพื่อพัฒนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรฮาลาลและกลไกความร่วมมือระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน องค์กรบริหารส่วนตำบล และเทศบาลนครยะลา ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1) ต้นแบบห่วงโซ่อุปทานโคขุนมาตรฐานฮาลาลพรีเมียม โดยมีแหล่งผลิตจากเกษตรกร 2 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 20 ราย มีกำลังการผลิตโคสูงสุดจำนวนคราวละ 100 ตัว และตลาดรองรับเกรดเนื้อสดและเกรดเนื้อพรีเมียม ห่วงโซ่อุปทานต้นแบบเกิดจากการพัฒนากลไกหลายด้าน เช่น ด้านพัฒนามาตรฐานโครงสร้างคอกและฝึกอบรม ด้านแหล่งทุน ด้านแหล่งโคต้นน้ำ ด้านการตลาด เป็นต้น 2) พื้นที่แปลงหญ้าเนเปียร์สำหรับแหล่งอาหารหยาบของโค และแหล่งวัตถุดิบศูนย์ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น 20 ไร่ และมีผลผลิตเฉลี่ย 6 ตันต่อไร่ 3) อาหารข้นที่ได้จากถั่วหรั่งซึ่งเป็นวัตถุดิบท้องถิ่น โดยผลของการใช้อาหารข้นในการขุนทำให้โคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม และราคาต่ำกว่าท้องตลาดประมาณ 10 – 20 บาทต่อกระสอบ 4) แผนพัฒนาโมเดลธุรกิจและความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ซึ่งมีความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง และตำบลกาตอง เพื่อสนับสนุนการประกอบการของวิสาหกิจชุมชน และความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ
Title
The Development for Yala Province through the Halal Premium Agro Vision to Sustainably Strengthen from Countryside toward CityKeywords
Halal Agriculture,Premium Agricultural Product,Halal Premium Beef,Cattle Feeding,Napier Grass,Green Electricity,Innovative Participation,Community EnterpriseAbstract
The demand for Halal beef consumption in Yala Province is high. One of the main reasons is that the majority of the population is Muslim who consume beef is connected with the religion of Islam. In 2019, the economic value of beef cattle in Yala Province was approximately 866 million Baht and about 32,000 cows were in the market. However, the market demand volume is greater than the cows produced at least 11,000 cows per year. Therefore, Halal beef has a potential and should be promoted. However, investigating of the beef cattle supply chain, it was found that most of the cattle sold in the market were brought in from either upper southern and central regions, not providing an economic system that connects local cattle farmers, reported at 17,166 farmers in total in the year 2019, and consumers in the province. Most of them produce native breeds of cattle of free-range farming which are not demanded by the city market. Therefore, this research aims at creating a prototype supply chain of Halal beef cattle, connecting cattle production from rural areas and fresh and premium meat markets in Yala city. The research attempts to fulfils the following four objectives: 1) to create a new supply chain for Halal premium beef cattle that can connect rural areas to Yala city; 2) to develop and increase Napier grass plots for beef cattle and support the presence of a clean energy power generation center; 3) to develop standard nutritious cattle feed from local raw materials; and 4) to develop a Halal Agricultural Economic Development Plan and a mechanism for cooperation between community enterprise groups, subdistrict administrative organization, and Yala City Municipality. The results in this research are as follows: 1) a premium Halal cattle supply chain model was developed and implemented on 2 community enterprises with 20 members, with a maximum concurrent production capacity of 100 cows. A market for fresh red meat and premium meat was identified. The prototype supply chain arises from the development of mechanisms in many aspects, such as development of stable standards and training, funding sources, upstream cattle suppliers, and marketing. 2) Napier grass plots for roughages for cattle and raw material for the clean energy power generation center increased by 20 rai, with an average yield of 6 tons per rai. 3) Concentrate made from Bambara groundnut, a local raw material, resulted in an average weight increase of 1.5 kg and the price is 10-20 baht lower than the market price of concentrate per sack. Business model development plan and inter-agency cooperation were established in which the cooperation between the community enterprises and Tha-Thong subdistrict administrative organization of Tha-Thong and Katong to support the operations of community enterprises and to initiate the cooperation from government agencies.