ชื่อโครงการ
โครงการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาคำสำคัญ
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา,วิเคราะห์การเรียนรู้,การเรียนรู้ออนไลน์,เครื่องมือวิเคราะห์การเรียนรู้,วิเคราะห์ข้อมูล,ฉายภาพการเรียนรู้,ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21,การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของผู้เรียน,สะท้อนผลบทคัดย่อ
พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 กำหนด “พื้นที่นวัตกรรม” ระดับ “จังหวัด” ให้เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่อง ที่เอื้อให้คนในพื้นที่ทุกภาคส่วนรวมพลังร่วมจัดการศึกษา สร้างนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ ตอบโจทย์คุณภาพการศึกษาของผู้เรียนและพื้นที่ การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสะท้อนผลทักษะในศตวรรษที่ 21 การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 2) นำผลวิเคราะห์มาออกแบบ การจัดปรับการเรียนการสอน ร่วมกับ ครู โรงเรียน และพื้นที่นวัตกรรม 3) ศึกษาแนวทางการวางระบบจัดการข้อมูลด้านการเรียนรู้ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 4) พัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยี Learning Analytics ให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ผลลัพธ์การเรียนรู้สอดคล้องกับบริบทของโครงการพื้นที่นวัตกรรม โดยรวบรวมข้อมูลการเรียนรู้ (แผนการสอนของครูและบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน) ข้อมูลครู สถานศึกษา พฤติกรรมการเรียนรู้ออนไลน์จากระบบ ClassStart ผลทดสอบ ONET ระหว่างปีการศึกษา พ.ศ.2560-2564 ของโรงเรียนที่เข้าร่วมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 7 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี เชียงใหม่ นราธิวาส ยะลา ระยอง ศรีสะเกษ และสตูล จากนั้นวิเคราะห์ฉายภาพข้อมูลโดยใช้ชุดเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลการเรียนรู้ (Learning Analytics) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความหมายหรือมีประโยชน์จะถูกนำไปพัฒนาคุณภาพโรงเรียน จัดปรับการจัดการเรียนการสอน พัฒนาระบบบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากรรองรับ Learning Management System และ Learning Analytics เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21 รวมถึงการออกแบบแนวทางแนวทางวางระบบจัดการข้อมูลด้านการเรียนรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยี Learning Analytics มีผลลัพธ์ที่สำคัญคือ 1) ผลการวิเคราะห์ฉายภาพข้อมูล ได้แก่ จำนวนทักษะศตวรรษที่ 21 ที่พบในแผนการสอนของครูมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องระหว่างปีพ.ศ.2560-2564 ในขณะที่ร่องรอยที่พบในบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนไม่เปลี่ยนแปลง แต่เริ่มเห็นเปลี่ยนแปลงทักษะศตวรรษที่ 21 ในบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนในจังหวัดระยอง ที่พบทักษะศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้น ทักษะศตวรรษที่ 21 ในแผนการสอนที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ (1) กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะการร่วมมือทำงานเป็นทีม (Collaboration Skill) การสื่อสาร (Communication Skill) การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) มีจำนวนเพิ่มขึ้น ยกเว้นทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) (2) กลุ่มทักษะชีวิตและการทำงาน มีเพียงทักษะยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and adaptability) ทักษะเดียวเท่านั้น ที่มีเพิ่มขึ้น นอกนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง (3) กลุ่มด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี มีทักษะการรู้ด้านไอซีที (ICT Literacy) และการรู้เท่าทันสื่อ Media Literacy Skills มีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนที่ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยแผนการสอนช่วงชั้นเรียน ป.4 – ป.6 มีร่องรอยทักษะศตวรรษที่ 21 สูงสุด และมีข้อสังเกตว่า ช่วงชั้นเรียน อ.1 – อ.3 มีจำนวนทักษะศตวรรษที่ 21 สูงกว่าช่วงชั้นอื่นในจังหวัดเชียงใหม่ นราธิวาส ระยอง และสตูล แผนการสอนทุกกลุ่มวิชามีพบร่องรอยทักษะเพิ่มขึ้น ยกเว้นวิชาการงานอาชีพฯ และวิชาบูรณาการมีแนวโน้มต่ำลง แบ่งกลุ่มจังหวัดในงานวิจัยออกเป็น 5 ประเภท (1) พบร่องรอยทักษะศตวรรษที่ 21 ในบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนเพิ่มขึ้น แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในแผนการสอน ได้แก่ จ.ระยอง (2) พบร่องรอยทักษะศตวรรษที่ 21 ในแผนการสอนของครูเพิ่มขึ้น ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดสตูล (3) ไม่พบการเปลี่ยนแปลงทั้งในแผนการสอนและบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ศรีสะเกษ (4) พบร่องรอยทักศตวรรษที่ 21 ที่พบในแผนการสอนของครูลดลง ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ยะลา (5) จังหวัดที่ไม่มีข้อมูลบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ยะลา และสตูล ไม่พบความสัมพันธ์ที่เป็นทิศทางเชิงบวกหรือเชิงลบ ระหว่างผลทดสอบ O-NET ชั้น ป.6 พ.ศ.2563 ทุกวิชา (วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ) กับทักษะศตวรรษที่ 21 ที่พบในแผนการสอนในวิชาเดียวกัน พฤติกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านระบบ ClassStart พบว่า จังหวัดเชียงใหม่ สตูล เปิดห้องเรียนในระบบมากที่สุด ซึ่งเป็นผลจากโรงเรียนมีนโยบายที่จะนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ และใช้ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ ClassStart มาเป็นเครื่องมือช่วยครูในสถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 จังหวัดสตูลที่มีประวัติการใช้งานระบบมากที่สุด และทุกจังหวัดมีรูปแบบ (pattern) การใช้งานระบบ ClassStart ต่อไปนี้คล้ายคลึงกัน (1) นักเรียนล็อกอินเข้าใช้งานระบบทั้งในและนอกเวลาเรียน (2) นักเรียนทำแบบทดสอบปรนัยทั้งในและนอกเวลาเรียน (3) นักเรียนทำแบบทดสอบเก็บคะแนนทั้งในและนอกเวลาเรียน ยกเว้นจังหวัดสตูลที่มีการทำแบบทดสอบเก็บคะแนนทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียนจำนวนใกล้เคียง (4) จำนวนครั้งในการเข้าใช้งานระบบกับคะแนนสอบมีความสัมพันธ์เชิงบวกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตัวแปรอื่นที่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์การเรียนรู้ ได้แก่ โรงเรียนสังกัด สพฐ. มีทักษะศตวรรษที่ 21 ในแผนการสอน สูงกว่ากลุ่มโรงเรียนสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ทั้งสองสังกัดค้นพบทักษะในบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนเท่ากัน โรงเรียนขนาดกลางมีจำนวนทักษะศตวรรษที่ 21 ในแผนการสอนมากที่สุด โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีจำนวนทักษะศตวรรษที่ 21 ในบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนสูงที่สุด แผนการสอนของครูวุฒิปริญญาตรีมีทักษะศตวรรษที่ 21 มากกว่าวุฒิปริญญาโทและปริญญาเอก โดยครูอายุระหว่าง 41 – 50 ปี และช่วงประสบการณ์การเป็นครูระหว่าง 21 – 30 ปี ค้นพบทักษะศตวรรษที่ 21 ในแผนการสอนสูงที่สุด 2) โรงเรียนนำผลการวิเคราะห์ไปพัฒนาคุณภาพโรงเรียน จัดปรับการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนาระบบบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากรรองรับ Learning Management System และ Learning Analytics เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21 โดย สื่อสารวิสัยทัศน์และพันธกิจโรงเรียน ทบทวนจัดปรับหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นทักษะศตวรรษที่ 21 เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง นักเรียน ครู มีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนการสอนออนไลน์ บริหารและจัดการงบประมาณสำหรับคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เวลา และพัฒนาครู เพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูจัดการเรียนการสอนได้ตามนโยบายของโรงเรียน 3) แนวทางวางระบบจัดการข้อมูลด้านการเรียนรู้และข้อมูลและข้อมูลที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของแต่ละจังหวัด 4) ผลการพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยี Learning Analytics ส่งผลให้ระยะเวลาในการวิเคราะห์ทักษะศตวรรษที่ 21 ลดลง 70% และประสิทธิภาพการวิเคราะห์ทักษะในศตวรรษที่ 21 สูงถึง 0.79 หรือ 79% ผลการวิจัยนำไปสู่ข้อเสนอแนะดังนี้ (1) นำเทคโนโลยีวัดวิเคราะห์ข้อมูลการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Analytics) ไปใช้เพื่อเสริมหนุนกลไกการติดตามวัดประเมินผลการขับเคลื่อนงานของจังหวัดต่าง ๆ ที่เข้าร่วม พรบ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยระบบสารสนเทศสำหรับรองรับการจัดเก็บข้อมูลอย่างเชื่อมโยงเป็นระบบทั้งในระดับโรงเรียน และระดับจังหวัด (2) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสามารถนำผลการวิเคราะห์ ไปประยุกต์เสริมหนุนกลไกต่างๆ ภายใต้แนวคิดปฏิรูปการศึกษาระดับจังหวัด ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายถึงกลไกและรูปแบบในการสนับสนุนส่งเสริมโรงเรียนขนาดเล็ก ในการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน ด้วยกลไกต่างๆ ในระดับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (4) การวิจัยและพัฒนาในเรื่องการวัดและประเมินผลการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 อย่างหลากหลาย และมีการติดตามผลลัพธ์ในระยะยาวในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และเรื่องรูปแบบในการผลิตและพัฒนาครู เพื่อรองรับ Learning Management System และ Learning Analytics เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21 (5) การพัฒนานักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลทางการศึกษา (6) พัฒนาเทคโนโลยี Skill Visualizer ให้สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมที่บ่งบอกทักษะในศตวรรษที่ 21จากไฟล์เสียงและภาพ
Title
The study of data analysis to reflect the change of learning outcome in innovative sandboxKeywords
Sandbox,Learning Platform,Learning Analytics,Data Analysis,Data Visualization,21st century skillsAbstract
The Education Innovation Area Act, B.E. 2562 has established “innovation areas/sandbox areas” at the “province” level to be a pilot area-based education sandbox that encourages new form of partnership and collaborations to meet quality of education. The objectives of this research were 1) To study and analyze data to reflect the change of learning outcome 2) To provide evidence-based intervention by the collaboration of key stakeholders at school level and provincial level 3) To study the guidelines of educational data management system in area-based education sandbox. 4) To develop and improve Learning Analytics technology to analyze 21st century skill in accordance with the context of area-based education sandbox by collecting education data and data related such as lesson plans and student learning records, teacher information, school, and online learning behavior from ClassStart system ONET test results during the academic year 2017-2021 of schools participating in education sandbox in 7 provinces as follow: Kanchanaburi, Chiang Mai, Narathiwat, Yala, Rayong, Sisaket, and Satun. Data were visual analyzed by Learning Analytics technology. The meaningful data will be used for intervention to improve the learning outcome at the school level and or at provincial levelThere was also an improvement in Learning Analytics Technology at the same time. The following important results were as follows: 1) The analysis revealed that the number of 21st Century Skills found in lesson plans gradually increased between 2017 and 2021, while the traces found in the students learning record remained unchanged. However, changes in 21st Century Skills in the learning records of students in Rayong province revealed the growing number of 21st Century Skills. Changes in 21st Century Skills in lesson plans-: (1) Learning and Innovation Skills; Collaboration, Communication, Critical Thinking and Problem Solving; there is an increasing number of these skills, except for ‘Creativity and Innovation’ (2) Life and Work Skills; only one skill ‘Flexibility and adaptability’ has improved, while the rest have remained unchanged (3) Information, media and technology Sills; ICT Literacy and Media Literacy skills were increased while Information Literacy skill did not change.The lesson plans for Grade 4 – Grade 6 had the highest traces of 21st Century Skills, and it was observed that the number of Kindergarten Level 1- Level 3 classes had a higher number of 21st 21st Century Skills than other classes in Chiang Mai, Narathiwat. Rayong and Satun. The lesson plans for all group of subjects showed more traces of skills, except for academic work and integration subjects tended to be lower.The provinces were divided into 5 categories according to study results (1) There were more traces of 21st Century Skills found in student learning records, but no changes were found in the lesson plan, namely Rayong (2) 21st Century Skills were included more in lesson plans, namely Kanchanaburi and Satun (3) There were no changes in both lesson plans and learners learning records, namely Chiang Mai and Sisaket (4) Traces of 21st Century Skills in lesson plans decreased, namely Narathiwat, Yala (5) Provinces without student learning record data, namely Narathiwat, Yala, and Satun. There were no positive or negative directional association between the O-NET test results of grade 6 year 2020 in all subjects (Thai, Mathematics, Science, and English) and the 21st century skills found in the same subject lesson plan. Online learning behavior through the system ClassStart showed that Chiang Mai and Satun opened class in the system the most, as a result of the schools policy to apply the results of data analysis to improve the quality of learning management and use the ClassStart online learning system as a tool to help teachers in the Covid-19 pandemic situation. Satun province has the history of using the system the most. Every province has a similar pattern of use of the ClassStart system as follows: (1) Students log in to the system both during and after school hours. (2) Students take multiple choice tests both during and after school hours. (3) Students take scoring tests both during and after school hours, except Satun province where scores are collected both during and after school hours in close proximity side by side (4) There was a positive correlation between the number of times the system was logged in and the test scores with the same direction. Other variables associated with learning outcomes including; schools affiliated with OBEC had 21st century skills in lesson plans higher than those of schools under the Department of Local Government Promotion, however, both affiliations found the same skills in the students learning record. Medium-sized schools have highest number of 21st century skills in lesson plans. Extra-large schools have highest number of 21st century skills in student learning record. Lesson plans of teachers with bachelor s degrees has integrated 21st century skills more than masters and doctoral teacher degrees. Teachers aged 41-50 and teacher with 21-30 years of experience had the highest 21st century skills in their lesson plan. 2) The results of the data analysis were used for school development, learning management teacher development in order to support the Learning Management System and Learning Analytics to support the 21st century by (1) communicating the vision and mission of the school; (2) reviewing and adjusting the curriculum and learning process that emphasizes 21st Century Skills (3) Parents, students, teachers involved in the design of online learning (4) Administrate and manage budgets for computers, internet, time, and teacher development to learning according to school policies. 3) Guidelines for setting up educational data management system in area-based education sandbox. 4) The improvement of Learning Analytics technology resulting in the time of 21st century skills analysis was decreased time processing by 70% and efficiency as high as 0.79 or 79%. The findings of the study lead to the following recommendations: 1) Using Learning Analytics technology to follow-up and evaluate the performance of “area-based education sandbox” which is required information system from school level to provincial level. 2) The analysis results can be applied to support the mechanism of area-based education sandbox under the concept of Area-based Education more effectively. 3) Policy recommendations on mechanisms and models to support and promote small schools in developing 21st century skills of learners through various mechanisms at the area-based education sandbox 4) Research and development ; Measuring and Evaluation of 21st Century Skills Development in various way and have long-term follow-up in area-based education sandbox. Model for producing and developing teachers to support Learning Management System and Learning Analytics to support the 21st Century. 5) Lacking education dataset and learning data analysis in education system , therefore data scientist in education should be developed. 6) Developing Skill Visualizer