โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ประกอบระบบการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 144 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F640073
นักวิจัย ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
หน่วยงาน มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, ระยอง, ศรีสะเกษ

ชื่อโครงการ

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ประกอบระบบการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

คำสำคัญ

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

บทคัดย่อ

งานศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตาม ประเมินผล และถอดบทเรียนการพัฒนาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา หลังการปลดล็อกกฎระเบียบตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จากผลการวิจัยพบว่ามีการปลดล็อกนโยบายในด้านบริหารวิชาการมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการบริหารบุคลากรและงบประมาณที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงนัก ในระดับโรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 1 ปีแรกของพื้นที่นวัตกรรมฯโดยเฉพาะการปรับหลักสูตรใหม่ ใช้เงินค่าหนังสือเรียนแบบใหม่ ปรับวิธีการวัดและประเมินผลในห้องเรียน แต่การเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเต็มที่เนื่องจากการปลดล็อกยังไม่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน ทั้งนี้ก็ยังพบโรงเรียนที่ก้าวข้ามอุปสรรคได้ด้วยการประสานความร่วมมือจากหลายภาคส่วนและมีบุคลากรที่มีขีดความสามารถสูง งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะ 3 ประการเพื่อให้การขับเคลื่อนในอนาคตประสบผลสำเร็จ ได้แก่
1) การประสานภาคนโยบายให้ปลดล็อกเพิ่มอิสระแก่โรงเรียน
2) ฝ่ายปฏิบัติในพื้นที่สำรวจความต้องการของโรงเรียนและวางแนวทางสนับสนุนให้สอดคล้อง
3) หน่วยงานภายนอกควรปรับรูปแบบการสนับสนุนตามความต้องการของพื้นที่และโรงเรียนเป็นหลัก

Title

Redesigning the Education System Components in Education Reform Sandbox

Keywords

Education Sandbox

Abstract

The objectives of this study are to monitor, evaluate, and capture lessons learned from the progress within education sandbox after the 2019 Education Sandbox act was implemented. The study finds that academic policy changed the most compare with teacher policy and budget policy which remained the same. At pilot school level, changes could be observed more obvious than the first year after implementation. They had new school curriculum, purchased new books and materials, changed evaluation and assessment practice in classroom. But schools might not progress further if the policy deregulation had not been implemented in every other area. Nevertheless, there were some pilot schools and education sandbox area overcome the challenge with the collaboration between public and private sector, and an involvement by high-capacity personnel. Here are 3 suggestions for further implementation 1) The government agencies should deregulate other education policies for greater school autonomy 2) The local authorities (ESA, PEO) should assess pilot schools’ needs and provide support accordingly 3) Private and social organizations need to adjust how they support schools in accordance with direction of education sandbox and the needs of schools.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น