การพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยการสร้างกลไกการบูรณาทางนโยบายการศึกษา เพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนให้กับเด็กด้อยโอกาสและผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 90 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F640071
นักวิจัย นายรองฤทธิ์ ไกรกิจราษฎร์
หน่วยงาน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 30 พฤศจิกายน 2022
ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
สถานที่ทำวิจัย สุโขทัย

ชื่อโครงการ

การพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยการสร้างกลไกการบูรณาทางนโยบายการศึกษา เพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนให้กับเด็กด้อยโอกาสและผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย

คำสำคัญ

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา,ระบบนิเวศการเรียนรู้ชุมชน,เด็กด้อยโอกาส,ชุมชนเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยการสร้างกลไกการบูรณาทางนโยบาย การศึกษา เพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนให้กับเด็กด้อยโอกาสและผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการของระบบการศึกษาที่นำไปสู่การบูรณาการ เชิงนโยบายสนับสนุนสถานศึกษาต้นแบบให้เกิดการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนให้กับเด็กด้อยโอกาส และผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย
2) เพื่อพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยการสร้างกลไกการบูรณาทางนโยบายการศึกษาเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนให้กับเด็กด้อยโอกาสและผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย
3) เพื่อขยายผลองค์ความรู้ และพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดสุโขทัย ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการศึกษาวิจัยโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจาก ผู้ให้ข้อมูลจากสมัชชาการศึกษาจังหวัด คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ครูและผู้บริหารสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชนในพื้นที่นำร่อง 9 อำเภอ ซึ่งคัดเลือกพื้นที่ที่มีความยากจนมากที่สุดของอำเภอจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้าและมีจำนวนเด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษามากที่สุดของอำเภอ และนำข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ด้วยตัวของผู้วิจัยเอง และโดยรวบรวมประเด็นที่สำคัญและข้อสรุป และนำเสนอในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ (Analytic Induction) ซึ่งเป็นการตีความสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า
1) สภาพปัญหาของระบบการศึกษาเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนขาดการบูรณาการการสนับสนุนจากเครือข่ายชุมชน นักวิชาการ และผู้ประกอบการที่เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษา จึงมีความต้องการการบูรณาการเชิงนโยบายสนับสนุนสถานศึกษาต้นแบบให้เกิด การสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชน
2) การพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยการบูรณาการเชิงนโยบายสนับสนุนสถานศึกษาต้นแบบให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาพร้อมกับระบบนิเวศการศึกษาสามารถสร้างการพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่และเกิดการมีส่วนร่วมสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ชุมชน
3) การขยายผลเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของบริบทพื้นที่พบว่าการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาต้องสร้างการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ชุมชนให้กับสถานศึกษา

Title

Development of a prototype in education innovation area By creating an integrated educational policy mechanism to build a community-based learning ecosystem for underprivileged children and the poor in Sukhothai Province.

Keywords

Educational innovation area,Community learning ecosystem,Disadvantaged children,Community base

Abstract

Research and Development of prototypes in educational innovation areas By creating a mechanism for the integration of education policies to create a community-based learning ecosystem for underprivileged children and the poor in Sukhothai province. have a purpose. 1) to analyze the problem condition and the needs of the education system leading to integration In terms of policy, it supports model schools to create a community-based learning ecosystem for underprivileged children. and the poor in the area of Sukhothai Province 2) to develop a prototype of an educational innovation area by creating a mechanism Integrate educational policies to create a community-based learning ecosystem for underprivileged children and the poor. in the area of Sukhothai Province. 3) to expand knowledge and educational innovation areas to cover both Sukhothai Province Action research was used to conduct research studies using qualitative and quantitative research techniques. (Quantitative) in collecting data and analyzing data from Informant from the Provincial Education Assembly Provincial Board of Education teachers and school administrators and community networks in 9 pilot districts. which selects the most poor areas of the district from the human development data management system with targeting and has the highest number of underprivileged children outside the educational system of the district and analyzes the qualitative data (Qualitative Data) and analyzes the content. (Content Analysis) by the researcher himself. and by gathering important points and conclusions And presented in the form of analytic induction, which is an interpretation to create conclusions. The findings of this research were as follows: 1) The problematic state of the education system in order to create a community-based learning ecosystem lacked the integration of support from community networks, academics, and entrepreneurs who participated in supporting management. study Therefore, there is a need for policy integration to support model educational institutions to create Creating a community-based learning ecosystem. 2) Development of prototypes of educational innovation areas by integrating In terms of policy, it supports model schools to create educational innovations along with an educational ecosystem that can create educational development that is consistent with the local context and encourage participation from all sectors in the community area. 3) Expanding the results to study the differences in the context of the area found that the development of educational innovation. The development of a learning ecosystem on a community basis must be created to create participation and support from all sectors in the community for educational institutions.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น