การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 70 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F640072
นักวิจัย นางสาวจรรยา ดาสา
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 30 พฤศจิกายน 2022
ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, ระยอง

ชื่อโครงการ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง

คำสำคัญ

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา,คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ,นวัตกรรมการเรียนรู้,การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม,กลไกความร่วมมือทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์วิจัย 4 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาผลของนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีต่อคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง 3) เพื่อศึกษากลไกความร่วมมือในการจัดการศึกษาจังหวัดระยองที่ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ 4) เพื่อพัฒนานักวิจัยชุมชนในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาในโรงเรียนและพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ผ่านโครงการวิจัยย่อย 2 โครงการ ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความผู้ประกอบการของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง และ การศึกษากลไกความร่วมมือในการจัดการศึกษาระดับจังหวัดและพัฒนานักวิจัยชุมชนผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 16 โรงเรียน ผู้บริหารและครูที่เข้าร่วมโครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้จำนวน 67 คน ผู้บริหารและครูที่เข้าร่วมโครงการการศึกษากลไกความร่วมมือจำนวน 65 คน นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการจำนวน 924 คน ผลการดำเนินการวิจัยทำให้ได้เครื่องมือประเมินคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ 2 เครื่องมือ ได้แก่ แบบประเมินคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ และแบบสังเกตพฤติกรรมที่แสดงคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ 16 นวัตกรรม กลไกความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมระดับสถานศึกษา 16 ภาพรวมกลไกความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมระดับสถานศึกษา 1 กลไก และรูปแบบกลไกความร่วมมือการจัดการศึกษาระดับจังหวัด 1 กลไก นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยนวัตกรรมมีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการสูงขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาความรู้และสมรรถนะตามกรอบหลักสูตรการศึกษาจังหวัดระยอง ครูที่เข้าร่วมพัฒนานวัตกรรมมีความรู้และสมรรถนะในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการและสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน เกิดการทำงานเป็นทีม เข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการสาขาวิชาและเข้าถึงชุมชนมากขึ้น ครูที่เข้าร่วมโครงการวิจัยมีความรู้และทักษะในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และถอดบทเรียนกลไกความร่วมมือในสถานศึกษาของตนเองได้ มีเจตคติที่ดีต่อการทำวิจัย และสามารถนำความรู้และทักษะการวิจัยไปเป็นแนวทางการพัฒนางานและผู้เรียนในอนาคต โรงเรียนและจังหวัดได้แนวทางในการขับเคลื่อนความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรม ได้เครือข่ายความร่วมมือการทำงานที่เข้มแข็งจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอก ภาควิชาการ ชุมชนและภาคประชาสังคม

Title

Participatory Action Research for Developing Entrepreneurial Characteristics of Primary and Secondary School Students Using Learning Innovation Corresponding to the Contexts of Rayong Province Education Sandbox

Keywords

Education Sandbox,Entrepreneurial Characteristics,Learning Innovation,Participatory Action Research,Collaborative System for Education

Abstract

Participatory Action Research to develop entrepreneurial characteristics using learning innovation for primary and secondary students in Rayong was conducted with 4 objectives including: 1) develop learning innovation that promotes entrepreneurial characteristics for primary and secondary students from schools in Rayong education sandbox, 2) study the result of the learning innovation that affects students’ entrepreneurial characteristics, 3) study collaborative mechanisms in educational management that promote entrepreneurial characteristics by using Participatory Action Research approach, and 4) develop local researchers who can drive learning innovation for schools. Two sub-studies were conducted. The first sub-study was a development of learning innovation promoting entrepreneurial characteristics with primary and secondary students from schools in Rayong education sandbox. The second sub-study was collaborative mechanism in educational management, and local researcher development promoting entrepreneurial characteristics with primary and secondary students. Participatory Action Research was conducted through 16 schools involving 67 school directors and teachers who joined the development in learning innovation study; while 65 school directors and teachers were in collaborative mechanism study. Over 924 students contributed in the learning innovation promoting entrepreneurial characteristics. The research results demonstrate 2 tools to evaluate entrepreneurial characteristics including entrepreneurial characteristics self-assessments and entrepreneurial behavior observation assessment. There are 16 learning innovations that promote entrepreneurial characteristics, 16 collaborative systems at school level, 1 collaborative mechanism at school level, and 1 collaborative mechanism at a provincial level. The results show that students with learning innovations improved their entrepreneurial characteristics as well as competencies aligns with RAYONG MARCO curriculum. Teachers who participated in the innovation development research could design and provide learning activities that promote students’ entrepreneurial characteristics. Moreover, they showed teamwork skill, integration across subjects, and in-depth understanding with the community. The teachers who participated in the collaborative are qualified in knowledge and skills to conduct both quantitative and qualitative Participatory Action Research with a positive attitude. In addition, they can apply collaborative mechanisms as guidelines to improve their students and work in the future. Also, schools and government together defined a collaborative strategy to propel innovation development; this was a great collaboration among public sector, private sector, academic sector, community, and civil society.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น