วิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัยให้เป็นกลไกสนับสนุนความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จังหวัดระยองโดยความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองและภาคีเครือข่าย

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 25 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F630033
นักวิจัย นายธงชัย มั่นคง
หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship FS 22: Education Sandbox (พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา)
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 3 ปี
สถานที่ทำวิจัย ระยอง

ชื่อโครงการ

วิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัยให้เป็นกลไกสนับสนุนความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จังหวัดระยองโดยความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองและภาคีเครือข่าย

คำสำคัญ

โครงการวิจัยเชิงบูรณาการ,สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัย,เมืองแห่งการเรียนรู้,จังหวัดระยอง

บทคัดย่อ

การดำเนินงานวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัยให้เป็นกลไกสนับสนุนความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จังหวัดระยอง โดยความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองและภาคีเครือข่าย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้นหาแนวทางและขับเคลื่อนการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัยจังหวัดระยองให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนจังหวัดระยองสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ด้วยการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ใหม่ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่คนทุกวัยและทุกกลุ่มของเมืองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมไปกับการสร้างสมรรถนะใหม่ที่ตอบโจทย์สถานการณ์และความท้าทายของการขับเคลื่อนเมืองระยองในอนาคต การดำเนินงานวิจัยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City Lab) ที่เกิดจากการผสมผสานวิธีห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) และการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อมุ่งสร้างเงื่อนไขอันนำไปสู่ระบบนิเวศการเรียนรู้ใหม่ของระยอง ด้วย 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย

(1) กลไกการบริหารจัดการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ระยอง (Learning City Mechanism) เพื่อเป็นกลไกในการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของ สำนึกพลเมือง และการดำเนินการได้อย่างยั่งยืน
(2) โครงสร้างพื้นฐานด้านพื้นที่และระบบการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ของเมือง (Learning City Infrastructure) เพื่อรองรับการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ระยองที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย
(3) ระบบการจัดการเรียนรู้ ทั้งด้านเนื้อหาหลักสูตร กระบวนการ และเครื่องมือทางสารสนเทศทั้งออนไลน์และออฟไลน์ (Blended Learning) ที่ตอบโจทย์ความต้องการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มทุกช่วงวัยและตอบรับกับยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัด (Rayong-MARCO)

จากการดำเนินงานพบว่า กระบวนการ Learning City Lab ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เทียบเคียงได้กับการเรียนรู้โดยมีประสบการณ์เป็นฐาน (Phenomenon-Based Learning) ผ่านปรากฏการณ์ทางสังคมจากการพัฒนาเมืองและการพัฒนาคนที่ผ่านมาของจังหวัดระยอง เป็นพื้นที่การเรียนรู้กลางที่เชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกลุ่มจากภาคส่วนต่าง ๆ และเกิดผลลัพธ์ทั้ง 3 ด้านตามแนวทางการดำเนินงานห้องปฏิบัติการทางสังคม คือ ผลลัพธ์เชิงข้อมูลและความรู้ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกเป็นทีมเป็นผลลัพธ์เชิงสังคม และขับเคลื่อนปฏิบัติการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงรูปธรรม การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัยให้เป็นกลไกสนับสนุนความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่บูรณาการความรู้ 3 สาขาวิชาของคณะนักวิจัย คือ สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาศึกษาศาสตร์ และสาขาผู้ประกอบการสังคม เพื่อเชื่อมโยงความรู้และตอบโจทย์สถานการณ์การขับเคลื่อนจังหวัดระยองสู่การเรียนรู้ทั้งในมิติด้านการพัฒนาการเรียนรู้ มิติด้านการพัฒนาเมือง และมิติด้านการจัดตั้งองค์กรสังคมเพื่อความยั่งยืน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ปรากฏการณ์ทางสังคม ของการขับเคลื่อนจังหวัดระยองสู่การเป็นเมืองแห่งเรียนรู้ เป็นฐานในการสร้างการเรียนรู้ของคณะวิจัย (Phenomenon-Based Learning) เพื่อการร่วมขยายปริมณฑลของความรู้ และเพื่อการต่อยอดองค์ความรู้ในการดำเนินการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาการเรียนรู้ และการพัฒนาเมืองต่อไป

Title

Action Research for the Development of Rayong Inclusive Learning Academy to be Supportive Mechanism in Promoting Rayong Learning City with the Co-operation of Provincial Administration Organization of Rayong and Local Partnership

Keywords

Transdisciplinary Research,Inclusive Learning Academy,Learning City,Rayong Province

Abstract

The primary objective of the action research for the Development of Rayong Inclusive Learning Academy to be Supportive Mechanism in Promoting Rayong Learning City with the Co-operation of Provincial Administration Organization of Rayong and Local Partnership is to formulate an operational guidelines and to steer a participatory development of Rayong Inclusive Learning Academy – RILA by creating a learning ecosystem that promotes lifelong learning for people of all ages and groups of the city to have great quality of life as well as developing new competency that meets the current situations and future challenges. The participatory research process was designed to include a Learning City Lab, combining Social Lab and Design Thinking, to create conditions for a new learning ecosystem of Rayong with 3 components:

(1) Organizational management for steering the Learning City of Rayong (Learning City Mechanism) as a method to create participation in building ownership, citizenship, and sustainable operation.
(2) Learning area and learning access system (Learning City Infrastructure) to support Rayong as a learning city that meets the needs of people of all groups and ages
(3) Learning management system both in terms of course content, processes, and information tools both on and offline (Blended Learning) that meet the learning needs of people of all groups and ages and respond to the educational strategy of Rayong-MARCO province.

In operation, it was found that the Learning City Lab process creates a learning process that is comparable to Phenomenon-Based Learning, through social phenomena from the previous urban development and human development of Rayong Province. It is a central learning area that connects a network of cooperation between active citizens from more than 65 different groups, including public, private, people, civil society and academic sector, resulting in all three outcomes in accordance with the guidelines for the laboratory operations in the society. The result was information and knowledge exchange which led to mutual understanding creating a sense of teamwork as a social outcome and driving operations to achieve tangible results. This development of Rayong Inclusive Learning Academy – RILA is an organizational management mechanism to enhance Rayong : the City of Learning. This Action Research integrates the knowledge of 3 disciplines of researchers; Architecture, Education and Social Entrepreneurship to connect knowledge and answer the situation of driving Rayong Province to learning, both in terms of urban learning development and establishing a sustainable social organization. This action research is also an exquisite phenomenon-based learning for the research team, as well as for Rayong Province in practice transdisciplinary knowledge and to expand the periphery of knowledge in steering the development of Rayong : City of Learning and further prosperity of Thailand.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น