การวิจัยและพัฒนาเทศบาลนครหาดใหญ่สู่การเป็นเมื่องแห่งการเรียนรู้

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 66 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F630012
นักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร. นิรันดร์ จุลทรัพย์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship FS 22: Education Sandbox (พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา)
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย สงขลา

ชื่อโครงการ

การวิจัยและพัฒนาเทศบาลนครหาดใหญ่สู่การเป็นเมื่องแห่งการเรียนรู้

คำสำคัญ

การวิจัยและพัฒนา,เทศบาลนครหาดใหญ่,เมืองแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

ชุดโครงการวิจัยเรื่อง “การวิจัยและพัฒนาเทศบาลนครหาดใหญ่สู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้” ประกอบด้วย 2 โครงการวิจัยย่อย คือ

1) ระบบและกลไกการบริหารจัดการการเรียนรู้ของประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่สู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้
2) การออกแบบเครื่องมือ นวัตกรรม พื้นที่และชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่การสร้างทักษะใหม่ของประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

โดยบูรณาการวัตถุประสงค์ของชุดโครงการ ดังนี้

1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2) เพื่อพัฒนาระบบและกลไกความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชนกับเทศบาลนครหาดใหญ่ให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้
3) เพื่อพัฒนารูปแบบพื้นที่ ชุมชน และสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เหมาะสมกับบริบทของเทศบาลนครหาดใหญ่
4) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับคนทุกช่วงวัยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
5) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ระดับฐานรากและการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
6) เพื่อเตรียมความพร้อมของเทศบาลนครหาดใหญ่เข้าสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO

การออกแบบการวิจัยเป็นรูปแบบของการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) โดยประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยใช้สถิติพื้นฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถอถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาแบบพรรณาความ ประชากรเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่พักอาศัยในเขตพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ ระหว่างปี พ.ศ. 2563 – 2564 ผลการวิจัยพบว่า

1. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 74.80 มีความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 แต่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 จากหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอาชีพส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากที่สุด และพฤติกรรมการเรียนรู้การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีอิทธิพลทางตรง (Direct Effect) ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อม

2. ระบบและกลไกความร่วมมือควรประกอบด้วย หน่วยงานหลัก คือ เทศบาลนครหาดใหญ่และหน่วยงานความร่วมมือ ได้แก่ สถาบันการศึกษาทุกระดับ องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน หน่วยงานอาสาสมัคร มูลนิธิ ชมรม และสมาคม โดยกำหนดบทบาทของแต่ละภาคส่วนไว้ชัดเจน

3. รูปแบบพื้นที่ชุมชนและสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เหมาะสมกับบริบทของเทศบาล นครหาดใหญ่ ควรดำเนินการในรูปแบบของ Co-Learning Space มีการกำหนดโครงสร้างวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน

4. นวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย ที่สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม ในรูปแบบของ Learning Platform ประกอบด้วย 6 ส่วนหลัก คือ
1) Website
2) Hatyai Learning Platform ระบบ LMS จำนวน 6 หลักสูตร
3) แหล่งเรียนรู้ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
4) Yellow Page
5) HLC Fanpage : Social Network
6) Line OA

5. ทักษะการเรียนรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต ได้มีการพัฒนาหลักสูตร Reskill, Upskill และ Newskill จำนวน 5 หลักสูตร และนำไปใช้ในรูปแบบของการอบรมทั้ง Online และ Offline 6. เทศบาลนครหาดใหญ่ และคณะนักวิจัยได้จัดทำข้อมูลและสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO

Title

Research and Development of Hatyai Municipality towards Learning City

Keywords

Research and Development,Hatyai Municipality,Learning City

Abstract

The series of this research project on “Research and Development of Hatyai Municipality Towards Learning City” consisted of two sub-research projects.

1) System and Mechanism on Educational Management Administration to People in Hat Yai Municipality towards Learning City.
2) Designing Learning Tools, Innovation, Space and Communities Learning Towards to New skills of People in Hat Yai Municipality.

By integrating the objectives, the series of the research project aimed to

1) study factors affecting the learning of people in Hat Yai Municipality affected by the COVID-19 pandemic (COVID-19)
2) to develop a system and mechanism for the cooperation between educational institutions, family institutions, communities, public and private organizations, and Hat Yai Municipality as to become a learning city.
3) to develop a model of the area, communities and a lifelong learning society that was suitable for the context of Hat Yai Municipality.
4) to develop learning innovations that were suitable for people of all ages to have equal access to learning resources, both the internal and external systems of education, and the formal and informal education in Hat Yai Municipality.
5) to develop learning skills that contributed to the development of careers and quality of life of people affected by the COVID-19 pandemic on the grass-root level and the development of community economies in Hat Yai Municipality.
6) to prepare Hat Yai Municipality to become a learning city of UNESCO.

The research was designed on a basis of research and development with the application of the participatory action research: PAR. The quantitative data analysis was carried out by the basic statistics –correlation coefficients and Stepwise Multiple Regression Analysis– while the descriptive content analysis was employed for qualitative data analysis. The target population and samples were residents living in Hat Yai Municipality between 2020 and 2021. The research revealed the following.

1. The sample of 74.80 percent had knowledge of coronavirus disease 2019 but perceived the risk of transmission from health authorities at a moderate level. Personal factors on occupations affected the learning behavior and self-protection from the infection of coronavirus 2019 most, and the learning behavior of self-protection from the infection of coronavirus 2019 had a direct effect on the quality of life of people in Hat Yai Municipality on the aspects of economy, society, body, mind and environment.

2. The system and mechanism of cooperation had to consist of the main units of Hat Yai Municipality and cooperation agencies, namely educational institutions at all levels, government organizations, private sectors, communities, volunteer agencies, foundations, clubs, and associations, with a clearly defined role of each sector.

3. The model of the area, communities and social lifelong learning that fitted the context of Hat Yai Municipality had to be carried out in a form of Co-Learning Space, setting up with structures, visions, missions, strategies and performance indicators.

4. The suitable innovations for the learning of people of all ages who had equal access to learning resources in a learning platform consisted of six main areas.
1) websites.
2) Hatyai Learning Platform and LMS system with six courses.
3) learning resources in Hat Yai Municipality.
4) Yellow Page.
5) HLC Fanpage: Social Network.
6) Line OA.

5. The learning skills that contributed to the career development and quality of life were the development of Reskill, Upskill and Newskill with five courses, and utilizing on a form of online and offline training. 6. Hat Yai Municipality and the team of researchers had provided dada and signed up to join the network of a learning city of UNESCO.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น