การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่จังหวัดยโสธร

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 13 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A14F640116
นักวิจัย นายนำชัย กฤษณาสกุล
หน่วยงาน สถาบันวิทยาลัยชุมชน
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ยโสธร

ชื่อโครงการ

การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่จังหวัดยโสธร

คำสำคัญ

การพัฒนาพื้นที่,โมเดลแก้จน,พื้นที่ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจน

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่จังหวัดยโสธร ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและสอบทานข้อมูล ชี้เป้าคนจนให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน และส่งต่อความช่วยเหลือและข้อมูลให้กับหน่วยงานและภาคีในพื้นที่จังหวัดยโสธร เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาความยากจนในจังหวัดยโสธร เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมสำหรับการแก้ปัญหาความยากจนที่ความเหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงระบบข้อมูล ระบบการติดตาม ประเมินความยากจน และเกณฑ์ในการออกจากความยากจน ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อพัฒนาระบบการหนุนเสริมเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายหรือเชื่อมโยงให้เกิดแผนพัฒนาเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่/จังหวัดยโสธร การดำเนินงานในช่วง 12 เดือน สามารถสรุปผลการดำเนินงานและข้อค้นพบการวิจัยได้ ดังนี้ การค้นหาสอบทานข้อมูล : กระบวนการวิจัยได้นำไปสู่การสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อเติมเต็มข้อมูลจากการวิจัย ระยะที่ 1 มีการสอบทานเพิ่มเติมในพื้นที่ 11 ตำบลที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยการสอบทานข้อมูลได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากหลากหลายภาคส่วนในการค้นหา ข้อค้นพบสำคัญ คือ ในจังหวัดยโสธรยังมีคนจนตกหล่นและการค้นหาข้อมูลเชิงลึกทำให้พบข้อมูลเพิ่มขึ้น ขณะที่ ระบบข้อมูลได้ดำเนินการในพื้นที่อำเภอกุดชุม เนื่องจากจะปฏิบัติการในพื้นที่จึงดำเนินการให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ดี การดำเนินงานมีแผนการทำ MOU ระดับอำเภอในช่วง 3 เดือนหลังจากนี้ ส่วนระดับตำบลได้จัดเวทีซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอระดับตำบล เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการทำงานประเด็นความยากจนและการแก้ไขปัญหาความยากจนในในระยะต่อไป อีกทั้ง การส่งต่อข้อมูลความยากจน ใช้วิธีการส่งต่อเป็นชุดข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการนำข้อมูลไปใช้ปฏิบัติการช่วยเหลือ แต่หน่วยงานไม่ได้รายงานเป็นตัวเลขสรุปชัดเจนเชิงประจักษ์ โดยระบบส่งต่อความช่วยเหลือและติดตาม พบว่า มีระระบบความช่วยเหลือและติดตาม 4 ระบบ ได้แก่ ระบบเคสบายเคส ระบบส่งต่อฐานข้อมูลด้านต่างๆ 3) ระบบส่งต่อจากการสร้างกระบวนการสอบทานเพิ่มเติม และการออกแบบปฏิบัติการระดับพื้นที่ในการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบของ OM มีการคิดระบบการช่วยเหลือภายในชุมชนและการสอบทานข้อมูลคนจนทุกปีก่อนดำเนินการช่วยเหลือ และการบรรจุเข้าสู่แผนงานของท้องถิ่น อีกทั้งมีการดำเนินการโมเดลแก้จนโดยการพิจารณาข้อมูลทุน 5 ด้านของจังหวัดยโสธร สู่การออกแบบโครงการนำร่อง หรือ OM ได้แก่ กองทุนแก้จน พัฒนาคนจนเข้าสู่ห่วงโซ่สมุนไพร การแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ภัยพิบัติน้ำท่วมซ้ำซาก และกองทุนเพาะพันธุ์ไม้ ขณะที่ ข้อค้นพบสำคัญหนึ่ง คือ ภูมินิเวศน์แตกต่างความยากจนมีความแตกต่าง การทำงานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่าลักษณะภูมินิเวศน์ของจังหวัดยโสธรแบ่งออกอย่างน้อย 5 ภูมินิเวศน์ ได้แก่ โคก ทาม ภูเขา เมือง และทุ่ง ประชากรครัวเรือนเป้าหมายกระจายตัวอยู่ในทุกภูมินิเวศน์ และเผชิญกับสถานการณ์และภูมินิเวศน์ที่แตกต่าง กลยุทธ์การดำรงชีพ และชีวิตประจำวันของคนจนจึงแตกต่างกัน

Title

Area Based Development Research for Comprehensive Poverty Solution : Case Study in Yasothon Province.

Keywords

Area Based Development,Operating Model,Practical Poverty Platform

Abstract

Area Development Research Project to Solve Poverty Problems Comprehensively and Accurately in Yasothon Province, Phase 2, aims to search and review information. targeting the poor to cover every household and forwarding assistance and information to agencies and partners in the area of Yasothon Province to analyze the situation of poverty in Yasothon Province To develop an innovative model for solving poverty problems that is appropriate to the area to link information systems tracking system Poverty Assessment and criteria for getting out of poverty in collaboration with local government organizations and to develop a support system to develop policy proposals or to create a development plan for solving poverty problems at the local/Yasothon level Operations during the 12-month period can be summarized as follows: Data review: The research process led to a survey of quantitative and qualitative data to complement the data from the research. 1 There is an additional review in the area of 11 sub-districts that is not complete. The data review uses a process of participation from various sectors in the search. The important findings are that in Yasothon province, there are still poor people and the search for in-depth information has led to more information, while the information system has been implemented in the area of Kut Chum district. Since it will operate in the area, it will be implemented 100 percent. However, the operation has a plan to make an MOU at the district level in the next 3 months. At the sub-district level, a forum was organized that led to proposals at the sub-district level. In order to drive work on poverty issues and poverty alleviation in the next phase, including the transmission of poverty information Use the method of forwarding a set of data to relevant agencies. Data is used for rescue operations. But the agency did not report a clear summary figure empirically. By referring assistance and follow-up systems, it was found that there are 4 assistance and follow-up systems, namely the case-by-case system. 3) Referral system from building additional review process and the design of area-level operations in providing assistance in the form of OM. The assistance system within the community was conceived and the data of the poor was reviewed annually before the assistance was implemented. and inclusion into local plans In addition, there is a model to solve poverty by considering capital information in 5 aspects of Yasothon Province. to design a pilot project or OM, namely the Fund to Solve Poverty, develop the poor into the herbal chain poverty alleviation in areas of repeated flood disasters and the plant breeding fund, while one of the important findings is that different landscapes and poverty are different. Quantitative and qualitative work It was found that the landscape of Yasothon Province was divided into at least 5 landscapes, namely Khok, Tham, mountains, towns and fields. The target household population was distributed in all landscapes. and face different situations and landscapes livelihood strategy And the daily life of the poor is different.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น