การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 64 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640065
นักวิจัย นางสิริลักษณ์ ทองพูน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 สิงหาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน
สถานที่ทำวิจัย สงขลา

ชื่อโครงการ

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ

การพัฒนาเชิงพื้นที่,แผนที่วัฒนธรรม,ผู้ประกอบการวัฒนธรรม,ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม,การบริการทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมถือเป็นแบบแผนการปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้สมาชิกของสังคมสะสมแบบแผนต่าง ๆ เหล่านั้นสืบต่อกันมา จนสะสมเป็นทุนทางวัฒนธรรมซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สำคัญและมีคุณค่าไม่ได้ด้อยไปกว่าทุนทรัพย์ที่เป็นเงินทอง การรักษาสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนที่มีคุณค่าจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งนับเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจัง เพราะหากไม่สามารถทำนุบำรุงรักษาไว้ ในอนาคตมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษสะสมไว้ย่อมสูญหายได้ในที่สุด และเพื่อให้การอนุรักษ์สืบสานทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนเป็นไปได้อย่างเหมาะสม จึงควรบูรณาการคุณค่าของทุนวัฒนธรรมที่เป็นต้นทุนในระดับต้นน้ำให้ไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในระดับปลายน้ำ ดังนั้นเมื่อผู้คนได้รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกิดจากทุนทางวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ย่อมเป็นแรงจูงใจสำคัญในการอนุรักษ์และสืบสานทุนวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าเหล่านั้นให้คงอยู่ไว้สืบไป การวิจัย เรื่อง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานทุนวัฒนธรรม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นการบูรณาการพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัย การบริการวิชาการและการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลชะแล้ ตำบลปากรอ และตำบลป่าขาด โดยใช้ฐานทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนในการขับเคลื่อนมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ร่วมกับภาคีเครือข่าย ผลจากการวิจัย พบว่า ในพื้นที่ 3 ตำบล มีทุนวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้ ได้แก่ สถาปัตยกรรม โบราณสถาน และโบราณวัตถุ และจับต้องไม่ได้ ได้แก่ ศิลปะการแสดง ความรู้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม เทศกาล และกีฬาภูมิปัญญาไทย ทำให้สามารถพัฒนาเป็นแผนที่วัฒนธรรมสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้ประกอบการวัฒนธรรมและพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรม ตามลำดับ การทำงานในพื้นที่เกิดจากกลไกการทำงาน 3 กลไล ได้แก่ ภาคีเครือข่าย การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และวันสำคัญ การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย 3 กลุ่ม ได้แก่ ภาคีเครือข่ายหลัก ภาคีเครือข่ายรอง และภาคีเครือข่ายเสริม โดยเฉพาะภาคีเครือข่ายหลักที่มีส่วนช่วยกันบริหารจัดการทุนวัฒนธรรมในพื้นที่ 3 ตำบล ให้เป็นกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ในรูปแบบ One day trip ที่นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้วิถีชุมชนผ่านอัตลักษณ์ของทั้ง 3 ตำบล เช่น อัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์จากตำบลชะแล้ ด้านวิถีเลและประมงพื้นบ้านจากตำบลป่าขาด และวิถีนา วิถีโหนด (ตาลโตนด) จากตำบลปากรอ เป็นต้น กรอปกับการพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรมเพื่อรองการการท่องเที่ยว และเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยได้พัฒนาผู้ประกอบการวัฒนธรรมเพื่อให้สามารถจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิมจากวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในชุมชน ตลอดจนการให้ความรู้ด้านการสร้างการรับรู้และการทำตลาดออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการวัฒนธรรมมีช่องทางในการสื่อสารทุนทางวัฒนธรรมที่ตนมีไปสู่สังคมทั้งภายในและภายนอก ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมวัฒนธรรมต่อไป

Title

The Driving of Cultural-Based Economy in Singhanakhon, Songkhla

Keywords

area-based development,cultural map,cultural entrepreneur,cultural product,cultural service

Abstract

People accumulated cultural capital through their ways of life. The cultural capital is valuable not less than financial capital. If one could not maintain cultural heritage, their next generation would not know such value. In order to preserve and keep on valuable culture in the community, the integration between culture capital and economic activities is needed. In the sense that, people can get both economic and social benefits. Moreover, this will be motivation of cultural preservation so far. This research applied the four university-missions; cultural preservation, research, service provider, and pedagogy, to the community. This was to answer the call for area-based development at Cha-lae, Pak-ro, and Pa-kad with their local culture. The results showed that there were both tangible and intangible cultures in the three studied-areas. The tangible consisted of architecture, archeological site, and archeological artefact. While, the intangible consisted of performing arts, knowledge and practices concerning nature and the universe, social practices, ritual and festive events, and folk sport game and martial arts. Therefore, the cultural map can be created to use as research instrument. In addition, it was found that there were three key mechanisms. They were networks, participatory management, and important days. Working with three groups of networks, there were the key network, the sub network, and the supporting network. Especially, the key network was found as the most important to be the key players in managing cultural capital in the three communities. As the results, tourism activities and routes related to culture in each community were presented as one day trip. Tourists can learn community culture through different identities from three studied-areas. Cha-lae presented historical identity, Pa-kad showed fishery way of life, and Pak-ro demonstrated their products related to rice and palmyra plam. Moreover, cultural space was created to support tourism and also to be learning space in the community. Lastly, cultural entrepreneurs were trained to manage community-based tourism with their cultural heritages. Some of them created new products, while some developed existing products to be more attractive. They were trained online marketing and learned how to get customer perception in order to tell their valuable culture to others. With the hope that, this research project could promote both economic and sociocultural benefits.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น