การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดอำนาจเจริญ ระยะที่ 2

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 16 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A14F640103
นักวิจัย รองศาสตราจารย์ ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย อำนาจเจริญ

ชื่อโครงการ

การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดอำนาจเจริญ ระยะที่ 2

คำสำคัญ

ความยากจน, การขจัดความยากจนแบบแม่นยำ, การติดตั้งฐานข้อมูล ,นวัตกรรมแก้จน

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาด้วยการใช้ข้อมูลจากกระบวนการสอบทานข้อมูลอย่างรอบคอบด้วยทั้งจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) จากการสำรวจและสอบทานข้อมูล 100 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ในระยะที่ 1 ทุกพื้นที่ของจังหวัด และ ในทุกปฏิบัติการโมเดลแก้จน ‘โมเดลแก้จน’ (Operating Model-OM) ในระยะที่ 2 รวมทั้งใช้ข้อมูล จากการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ข้อมูลทั้งสองชุดได้นำมาเป็นฐานกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติงานช่วยเหลือครัวเรือนคนจนผ่าน ‘โมเดลแก้จน’ ผลการศึกษาพบว่าการค้นหาและสอบทานซ้ำครัวเรือยากจนในพื้นที่ พบจำนวนครัวเรือนคนจน รวม 4,168 ครัวเรือน จำนวนประชากร 18,253 คน คิดเป็นร้อยละ 3.39 ของครัวเรือน และประชากรคิดเป็นร้อยละ 4.85 ของประชากรทั้งหมดในจังหวัดอำนาจเจริญ โครงการยังได้มีการ Cleansing ข้อมูลในระบบ โดยการตรวจสอบเปรียบเทียบทั้งในระบบ Livingonnewpace และ pppconnext ทางโครงการได้ส่งต่อความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนตามโครงการลดความยากจนของรัฐ โครงการวิจัยได้พัฒนาโมเดลแก้จนสามโมเดลได้แก่ OM เมนูการออมและการลงทุนอาชีพ (Microfinance) OM ความมั่นคงด้านอาหารและรายได้ และ OM ห่วงโซ่การผลิตและคุณค่าสมุนไพร ซึ่งพบว่า ครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่ารวม 348,950 บาท พบว่ามีค่าเฉลี่ย 1,544 บาทต่อครัวเรือน หรือ คิดเป็น 772 บาท ซึ่งชี้ว่าค่าเฉลี่ยรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือนครจน คิดเป็นร้อยละ 14.51 นอกจากนี้ทางโครงการยังพบการเพิ่มทุนทางสังคมและทุนมนุษย์ระหว่างการดำเนินงาน OMs. คำสำคัญ: ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ แก้ไขความยากจนเบ็ดเสร็จ โมเดลแก้จน

Title

Research for Area Development and Precision Poverty Alleviation in Amnat Charoen Province Phase 2

Keywords

Poverty,Precision Poverty Alleviation,Data Installation,innovation for Poverty reduction

Abstract

This is a research project for area development using big database on the poor households. The data was 100% comprehensively checked and screened in the areas where the three Operating Models (OMs) have been implemented and in all other areas of the province. Hence, the project has used qualitative and participation action research data into account for a development of the OMs. The research has found there are 4,168 poor households with 18,253 population or 4.85 % of the poor found in the province through our resurveying, rescreening and cleansing processes of the poor households. The project also has recorded the poor data into the Livingonnewpace และ pppconnext. The poor database was submitted to related government organizations for the poverty reduction supporting projects. The project has developed three OMs including 1) saving and microfinance for occupation, 2) food security and income and 3) herbal production and value chains. Overall, it has found that the poor families supported by the project have increased their income of 349,950 THB, 1,544 THB per household or 772 THB per month per family. This shows that the poor’s income increases by 14.51 % per family. Furthermore, the research has found that social and human capitals have added during the operation of the OMs process. Keywords: big database, precisely poverty reduction and Operating Model

สำหรับสมาชิกเท่านั้น