การพัฒนานวัตกรรมสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่แบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จังหวัดกาฬสินธุ์

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 43 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A14F640095
นักวิจัย นายจิระพันธ์ ห้วยแสน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กาฬสินธุ์

ชื่อโครงการ

การพัฒนานวัตกรรมสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่แบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ

นวัตกรรม,การพัฒนาเชิงพื้นที่,ความร่วมมือ,นโยบายสาธารณะ,ความยากจน

บทคัดย่อ

การพัฒนานวัตกรรมสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่แบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ กลไก การวิเคราะห์และการส่งต่อความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาโมเดลแก้จนที่เหมาะสมกับบริบทจังหวัดกาฬสินธุ์ และ พัฒนาระบบการหนุนเสริมเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยใช้ทั้งระเบียบวิธีเชิงปริมาณ (Quantitative methods) และระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative methods) ผลการศึกษาพบว่า

1) การสร้างการรับรู้ความยากจนร่วมกับภาคีความร่วมมือในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีรูปแบบความร่วมมือทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ คือมีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และการสร้างประเด็นการแก้ไขปัญหาความยากจนให้เป็นประเด็นร่วม (Public Agenda)
2) การสอบทานข้อมูลฐานข้อมูลคนจนจากฐานข้อมูล TPMAP, Kalasin Happiness Model และ คนจน 20% ล่างครบ 100% การสอบทานข้อมูลและสำรวจทุนการเพิ่มเติมครบถ้วนทั้งจังหวัดจำเป็นต้องมีกระบวนการวิจัยศาสตร์ คือการใช้เกณฑ์ความจนเกณฑ์ทุนกายภาพเป็นสำคัญซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ทุนของครัวเรือนยากจน และศิลป์ คือการใช้เวทีแก้จนทุกระดับ (poverty forum) ในการสอบทานและตรวจสอบ
3) ผลการศึกษาจากระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนในระดับพื้นที่ จากการวิเคราะห์ทุน 5 ด้าน พบว่าการออกแบบ พัฒนา และการประเมินประสิทธิภาพ ของระบบสารสนเทศและแอปพลิเคชันการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ โดยรวม อยู่ในระดับดี (? = 4.39, S.D.=0.58) เมื่อพิจารณา 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ Performance and Accuracy Test (? = 4.70, S.D.=0.39) ด้าน Usability Test (? = 4.30, S.D.=0.49) และ Security Test (? = 4.16,S.D.=0.40)
4) การส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบฐานข้อมูลไปสู่กลไกความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน 100% ผ่านการส่งต่อทั้งผ่านระบบ และการใช้เวทีแก้จนทุกระดับ (poverty forum) ในการส่งต่อความช่วยเหลือผ่าน Mobile Application ที่นำมาเป็นกลไกประสานงานระดับพื้นที่และระบบสารสนเทศ KHM V.2 : คนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งพื้นที่ สามารถที่จะป้อนระบบข้อมูลการส่งต่อความช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามผลการศึกษาได้สะท้อนให้เห็นว่าการส่งต่อครัวเรือนยากจนมีประสิทธิภาพ กระบาวนการสามารถส่งไปถึงหน่วยงานเป้าหมายได้ แต่กระบวนการช่วยเหลือครัวเรือนยากจนจำเป็นต้องใช้การบูรณาการ ดังนั้นการใช้เวทีแก้จน (poverty forum) ในระดับท้องถิ่นและอำเภอจึงเป็นเวทีสำคัญในการส่งต่อความช่วยเหลือและบูรณาการความช่วยเหลือ
5) ระบบ KHM V.2 ระบุว่าจำนวนคนจนได้รับความช่วยเหลือหรือได้รับการพัฒนาอาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของคนจนเป้าหมาย โดยมีจำนวนมูลค่าความช่วยเหลือจำนวน 6,855,443 บาท

การการออกแบบพัฒนาโมเดลการแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยการนำความรู้งานวิจัยผสานกับข้อมูลพื้นที่และการออกแบบโมเดลที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทกลุ่มเป้าหมาย เป็นปัจจัยที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจน อย่างไรก็ตามโมเดล 3 in 1: โมเดลการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการแก้จนเชิงพื้นที่แบบความร่วมมือจังหวัดกาฬสินธุ์ ในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอนามน และอำเภอ สหัสขันธ์ ได้สะท้อนว่าการเชื่อมโยงครัวเรือนยากจนเข้ากับธุรกิจชุมชน หรือวิสาหกิจชุมชน และการมีกลไกในการหนุนเสริมกลไกการตลาด ทำให้รายได้ของครัวเรือนยากจนมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ของรายได้เดิม ความท้าทายในการดำเนินการคือ การบริหารจัดการความร่วมมืออย่างต่อเนื่องใน Value Chain ของธุรกิจชุมชน หรือวิสาหกิจชุมชน โดยเฉพาะนโยบายและกลไกภาครัฐ ข้อเสนอของโครงการวิจัยนี้คือ การเชื่อมโยง Demand side และ Supply side ของท้องถิ่นให้เหมาะสม ภายใต้หลักการ “Local Data Ownership Model” คนจนตามมาตรฐานของตนเอง ภายใต้ข้อมูลของตนเอง ซึ่งสนับสนุนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายนโยบาย ในการสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมค้นหา สอบทาน ช่วยเหลือ ส่งต่อความช่วยเหลือและกระบวนการนำออกครัวเรือนยากจน สิ่งนี้จะทำให้ทิศทางการทำงานการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นปัญหาร่วมในพื้นที่ (Key Issue) และเกิดความต่อเนื่องยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาในที่สุด

Title

The development of innovation supports area-based collaborative spatial for precision poverty alleviation of Kalasin Province

Keywords

Innovation,Area-base Development,Collaboration,Public Policy,Poverty

Abstract

Kalasin province” were to develop the system, mechanisms, analysis, and transferring the assistance to the related organizations; to develop the appropriate model of poverty alleviation for Kalasin province; and to develop the support system to create strategic policies. The research methodology was the mixed-method of both quantitative and qualitative ones. The results revealed that:

1) The development of poverty awareness with partner organizations in Kalasin province had both formal and informal patterns of cooperation through Memorandum of Understanding (MOU) and the identification of the issues of poverty alleviation to be the public agenda.
2) Reviewing the database of underprivileged people from the database of TPMAP, Kalasin Happiness Model, and 100% of the bottom 20% of the underprivileged people complete 100%; reviewing and surveying of additional funds throughout the province required the scientific research procedures which used the poverty criterium, using the physical funds criterium derived from the analysis of underprivileged households and using the arts referring to the use of a poverty forum to review and examine all level of underprivileged people.
3) The results of the study from database of underprivileged households at the area level through the analysis of 5 aspects of funds revealed that the design, the development, and the evaluation of the overall efficiency of information systems and comprehensive poverty alleviation applications was at a good level (? = 4.39, S.D.=0.58). When considering 3 aspects, it could be ranked in the descending order as follows: performance and accuracy test (? = 4.70, S.D.=0.39), usability test (? = 4.30, S.D.=0.49), and security test (? = 4.16, S.D.=0.40) respectively.
4) Transferring of information on underprivileged households from the database to the cooperation mechanism for 100% of poverty alleviation through transferring of both the system and the use of a poverty forum with all levels to provide the assistance through the use of mobile application used as the mechanism of local coordination, while the information system called KHM V.2 : Kalasin People Leave No One Behind was used to transfer the assistance effectively. However, the results of the study reflected that the referral of underprivileged households is effective, the process could be sent to the target organization, but the process to assist the underprivileged households required integration. Therefore, the use of poverty forums at the local and district levels is an important platform to pass on the aids and integrate assistance.
5) The KHM V.2 system indicated the number of underprivileged people received assistance or career development was not less than 10% of the target underprivileged people with the value of 6,855,443 baht.

Designing and developing problem solving models with the collaboration of the local stakeholders through implementing the knowledge from research integrated with the area-based data and designing a model that is suitable for the context of the target group was an important factor in poverty alleviation. However, the 3 in 1 Model: model of data management to drive the area-based poverty alleviation in Kalasin province in Muang district, Namon district, and Sahatsakhan district reflected the linkage of underprivileged households with community businesses or community enterprises and having the mechanisms to support marketing mechanisms could help increase the income of poor households more than 20% of their previous one. The challenge of doing so is the continuous collaboration management in the value chain of community businesses or community enterprises especially the government policies and mechanisms. The recommendations of this research study were linking the local demand side and supply one accordingly based on the principle of “Local Data Ownership Model” or the underprivileged people set their own standards under their own information supported by local government organizations and policy networks to create the participation in the activities for searching, reviewing the assistance, and transferring the assistance and the process underprivileged households removal. This will lead the working direction to poverty alleviation in Kalasin province become the area-based key issue and to create a continuity and sustainability in solving the problem.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น