การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนคร

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 18 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A14F640101
นักวิจัย อาจารย์ ดร. มาลี ศรีพรหม
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย สกลนคร

ชื่อโครงการ

การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ

การแก้ปัญหาคนจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ,ระบบข้อมูลความยากจน,นวัตกรรมแก้จน

บทคัดย่อ

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนคร ระยะที่ 2มีวัตุประสงค์โดยภาพรวม ได้แก่

1) เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจนที่ทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ
2) เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการวิเคราะห์และส่งต่อความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3) เพื่อพัฒนาโมเดลแก้จนในการแก้ปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ และ
4) เพื่อพัฒนาระบบบการหนุนเสริมการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายหรือเชื่อมโยงให้เกิดแผนพัฒนาเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่/จังหวัด

การวิจัยนี้ใช้รูปแบบวิธีวิจัยโดยใช้วิธีการแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research : PAR) โดยเป็นการวิจัยโดยศึกษาชุมชน ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมเรียนรู้ ตรวจสอบข้อมูล ออกแบบ แก้ปัญหาโดยการลงมือปฏิบัติ ระดมความคิดเห็นการออกแบบนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนในครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่นตนเอง เพื่อนำไปสู่แพลตฟอร์มแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำของกระทรวง อว. พื้นที่ดำเนินการ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกุดบาก เต่างอย ส่องดาว โพนนาแก้ว อากาศอำนวย และเมืองสกลนคร

กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
1. กลุ่มครัวเรือนได้รับการสำรวจว่าจนจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) หรือครัวเรือนที่มีสมาชิกลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ กระทรวงการคลัง ในพื้นที่ดำเนินการ หรือครัวเรือนที่ระบุโดยผู้นำชุมชนว่าขาดแคลน ควรได้รับสวัสดิการจากรัฐ และได้ส่งต่อเพื่อรับความช่วยเหลือจากหน่วยงาน พมจ. สกลนคร เพื่อเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทุนดำรงชีพ 5 ด้าน จำนวน 1,292 คน
2. กลุ่มครัวเรือนเป้าหมายการปฏิบัติการโมเดลแก้จนในอำเภอกุดบากจำนวนทั้งสิ้น 122 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย
1) เครื่องมือศึกษาชุมชน เช่น ผังครัวเรือน รายงานสภาพตำบล เป็นต้น
2) เครื่องมือคัดเลือกแนวทางแก้ปัญหา เช่น Post-it voting
3) เครื่องมือบอกเล่าการดำเนินงาน เช่น BMC, Check list
4) เครื่องมือปรับปรุงการดำเนินงาน เช่น ผังใยแมงมุม I like, I wish, I wonder
5) เครื่องมือการวิเคราะห์ SLF PPPCONNEXT
6) เครื่องมือประเมินผลสำเร็จ เช่น แบบประเมินรายได้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ เป็นต้น ท้องถิ่น การดำเนินงานปี 2564 ประกอบด้วย การพัฒนาการค้นหาสอบทาน ส่งต่อความช่วยเหลือและตรวจสอบย้อนกลับ การพัฒนาโมเดลแก้จน และการสร้างข้อเสนอนโยบายสู่การพัฒนาพื้นที่

กิจกรรมที่ดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1) การสำรวจข้อมูลทุนดำรงชีพครัวเรือนที่ยังไม่ได้สำรวจเมื่อปี 2563 และข้อมูลที่ตกหล่นจากการให้ข้อมูลของผู้นำชุมชนในพื้นที่ 6 อำเภอ และ
2) การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับอำเภอด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการ ชื่อว่า “กุดบากโมเดล” ปฏิบัติการที่อำเภอ กุดบาก จังหวัดสกลนคร ผลผลิตที่สำคัญ มีดังนี้
1. ระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนจังหวัดสกลนคร การจัดเก็บแบบสอบถามทุน 5 ด้านของครัวเรือนยากจนจังหวัดสกลนคร ในปี 2564 รวมกับข้อมูลในปี 2563 จำนวน 10,543 ครัวเรือน พบว่า ทุนมนุษย์เป็นทุนที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญ การจะหารายได้นั้นจำเป็นต้องมีสุขภาพ การศึกษา ทักษะเป็นทุนเดิม ซึ่งครัวเรือนส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลักคือเกษตรกรรมที่ยังคงใช้แรงงานเป็นหลักในการผลิต และนอกภาคฤดูการเกษตรจะไปรับจ้างทั่วไป เมื่อถึงฤดูการเกษตรก็จะมาทำการเกษตร การเพิ่มทักษะอาชีพให้เพียงพอจะทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุนกายภาพ ครัวเรือนยากจนได้รับสาธารณูปโภคจากภาครัฐค่อนข้างครบถ้วน ทั้งถนน ไฟฟ้า แต่ในเรื่องน้ำประปายังไม่สามารถถึงบริการได้อย่างทั่วถึง ส่วนใหญ่มีที่ดินและบ้านเป็นของตนเอง แต่สำหรับที่ดินทำกินจะมีมากน้อยแตกต่างกัน ครัวเรือนการเกษตรที่มีที่ดินน้อยทำให้ปลูกพืชได้ไม่มากซึ่งจะส่งผลต่อสถานะทางการเงินของครัวเรือน ต้องไปทำอาชีพรับจ้างหารายได้เพิ่มเติม ทุนเศรษฐกิจเป็นทุนที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นทุนที่ใช้ในการดำรงชีวิต รายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตรซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่สภาพภูมิอากาศ มีความเปราะบางจากภัยพิบัติมากกว่าคนที่มีรายได้มาก เนื่องจากไม่มีเงินทุนในการป้องกันและฟื้นฟูหลังจากภัยพิบัติ อีกทั้งราคากลางของผลผลิตที่มีความผันผวน นอกจากนั้นรายได้รับจ้างทั่วไปนอกภาคการเกษตร เช่น เย็บผ้า ทอผ้า จักรสาน ช่างซ่อม ช่างก่อสร้าง ขับรถรับจ้าง ยังเป็นรายได้ที่สำคัญของครัวเรือนที่ต้องอาศัยทักษะฝีมือ รายได้จากการส่งกลับของลูกหลานซึ่งเป็นวัยแรงงานที่ไปทำงานต่างถิ่น เช่น ทำงานโรงงาน หรือรับจ้างนอกพื้นที่ หรือส่งเงินกลับมาให้พ่อแม่ดูแลลูก ทุนทรัพยากรธรรมชาติ เป็นทุนที่สัมพันธ์กับการใช้ที่สาธารณะในการดำรงชีพหรือหารายได้ เช่น หาของป่า จับปลา โดยพื้นที่แถบภูเขาการหาของป่าเป็นการสร้างรายได้ตามฤดูกาล ทุนสังคม ชุมชนในชนบทมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีวัดเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ช่วยเหลือกันเมื่อมีครัวเรือนลำบาก แบ่งปันสิ่งของที่มีแก่กัน แต่กลุ่มหรือการเข้าร่วมกลุ่มที่ชุมชุนตั้งขึ้นยังไม่ยั่งยืน ดังนั้นจึงควรมีการความเข้มแข็งของกลุ่มให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามบางคนไม่สามารถเข้าร่วมกันกลุ่มเนื่องจากเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น เวลาในการเข้ากลุ่ม คุณสมบัติการเข้าร่วมกลุ่ม
2. กุดบากโมเดล: การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับอำเภอ ผลผลิตที่สำคัญจากโครงการในพื้นที่ต้นแบบ ทำให้ได้
1) ระบบฐานข้อมูลที่นำไปต่อยอดจัดทำเว็บแอปพลิเคชันการค้นหาสอบทาน การส่งต่อช่วยเหลือ การขอความช่วยเหลือ มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับตำบล อำเภอ จังหวัดใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น อบจ เทศบาลตำบล อบต หอการค้า เป็นต้น 2) โมเดลผลิตภัณฑ์ อาชีพ ได้แก่ การผลิตเห็ดและผักอินทรีย์ เพื่อการบริโภคในครัวเรือน จำหน่ายตลาดในและนอกชุมชน และจะต่อยอดเป็นเห็ดผง ผักผง เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตอาหารนิ่มร่วมกับข้าวอินทรีย์ โดยร่วมเป็นห่วงโซ่ธุรกิจเพื่อสังคม ตามแนวคิด Pro-Poor Value Chain กับศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสังคม กลุ่มวิสาหกิจธรณินอินทรีย์ ทำหน้าที่เป็นตลาดรองรับผลิตผลทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในระยะแรกและเป็นเครือข่ายกันในที่สุด นอกจากนั้น โมเดลกระบวนการเพิ่มทักษะรวมทีม เพิ่มขีดความสามารถการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจในอนาคต
3) ครัวเรือนเป้าหมายได้รับการพัฒนาเป็น Knowledge Worker จำนวนไม่น้อยกว่า 122 ครัวเรือนหรือ 500 คน ได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ในห่วงโซ่ผลิตตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง สามารถแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาความจำเป็นในครอบครัวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4) เกิดพื้นที่ปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเพื่อน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกวิศวกรสังคม ทำให้อัตลักษณ์ “มหาวิทยาลัยแห่งการให้โอกาส” เพื่อสร้าง “คนดี มีจิตสาธารณะ และมีทักษะวิชาชีพ” พลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การบูรณาการการการเรียนรู้คู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน (Community Integrated Learning: CiL) นักวิจัยโครงการได้ผลงานวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

ผลกระทบของโครงการ สามารถระบุได้ ดังนี้

1. ผลกระทบทางสังคม – ครัวเรือนสามารถผลิตสารปรับปรุงดิน และทำปุ๋ยหมักใช้เองและจำหน่าย สามารถแปรรูปผลลิต – จากการจดบันทึกรายการซื้อ รายการขาย ทำให้ตกผลึกความคิดปลูกผักตามความต้องการผู้บริโภค รวมทั้งการขายผลผลิตในรูปแบบหลากหลาย เช่น ขายเป็นแปลง ขายเป็นกาละมัง หรือปลูกในสื่งที่บริโภคต้องการ – สามารถแก้ไขการไม่มีที่ดินทำกิน โดยทำกินบนที่ดินสาธารณที่ขออนุญาตแล้ว และไม่สร้างผลผระทบเชิงลบให้กับผู้อื่น – การติดอาวุธทางการตลาด ทำให้ครัวเรือนระบุได้ว่าจะผลิตอะไรเพื่อขายใคร มีความรู้ความเข้ากลไกตลาด ได้รับความรู้การปลูกผักและเพาะเห็ดโดยใช้เทคโนโลยี
2. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ – เกิดการฟื้นฟูตลาดชุมชนภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เช่น ตลาดสามัคคีทำ อยู่ใกล้ที่ดินสาธารณะที่ครัวเรือนใช้ปลูกผัก หากฟื้นฟูกิจกรรมตลาด ครัวเรือนก็จะสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ – เกิดรายได้หลังฤดูการทำนา แม้จะเป็นระยะเวลาสั้น แต่ทำให้ครัวเรือนเป้าหมายได้เห็นว่า การปลูกผักได้รับเงินเร็ว สามารถปลูกได้ตลอดปีตามฤดูกาลของวงจรการผลิต – เกิดช่องทางตลาดทั้งจำหน่ายในตลาดชุมชน ตลาดออนไลน์ และตลาดเครือข่าย ซึ่งทำให้ต้องผลิตผลผลิตให้ได้ปริมาณที่มากขึ้น เพียงพอกับความต้องการผู้บริโภค สำหรับการขับเคลื่อนงานนโยบายเพื่อเชื่อมโยงสู่แผนการพัฒนาท้องถิ่นและแผนยุทธศาสตร์นั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครได้รับโอการสการดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง “การสร้างต้นแบบนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่นำร่อง ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร” เป็นการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่นำร่อง คือ ตำบลบากอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ร่วมกับสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ปยป.) และ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก ๆ ได้แก่ พัฒนาต้นแบบนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนฯ ที่ระบุถึงแนวทางการพัฒนา มาตรการ และ/หรือ กลไกในการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ ดำเนินการทดลองต้นแบบ ถอดบทเรียน เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่แบบบูรณาการร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สอวช.) เสนอต่อสำนักงาน ปยป. เพื่อขยายผลการปฏิบัติสู่พื้นที่อื่นต่อไป

Title

Precision Poverty Alleviation in Sakon Nakhon Province

Keywords

Precision poverty alleviation,Poverty information system,Innovation

Abstract

The project of Complete and Precise Poverty Problem Solving in Sakon Nakhon Province, Phase 2 aims

(1) to develop systems and mechanisms of data collection and verification of poor people
(2) to develop systems and mechanisms of analyzing data and delivering information to government agencies for further operations
(3) to develop a model of complete and precise poverty problem solving and
(4) to develop systems of policy development or building connections for policy development of poverty eradication at a local/ provincial level.

This is a mix-method research study; quantitative study and participatory action research (PAR), in which the communities are involved in data verification, process design, learning by doing, and policy development for complete poverty eradication in their families and community. The process purposed to connect with the Personalize Poverty Alleviation (PPA) platform of the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. The research areas covered 6 districts in Sakon Nakhon province, namely, Kut Bak, Tao Ngoi, Song Dao, Phon Na Kaeo, Akat Amnuai and Muang Sakon Nakhon.

The samples in this study included as follows:

1. The households with a survey of basic minimum need information (BMN), the households whose family members registered for state welfare of the Ministry of Finance, and the households needed help, selected by community leaders to receive state welfare. Then the information was delivered to the Social Development and Human Security Office, Sakon Nakhon Province for further help. The Social Security Office later collected data from 1,292 households with a questionnaire survey on 5-livelihood capitals.
2. 122 households located in Kut Bak district, using purposive sampling, which Kut Bak Model, a complete and precise poverty problem solving model, was implemented in the area.
The research instruments included
(1) community tools such as family genogram and district condition reports
(2) problem-solving tools such as Post-it notes, voting
(3) verification tools such as BMC, checklist
(4) implement tools such as web diagrams, I like, I wish, I wonder
(5) analysis tools such as SLF PPPCONNEXT and
(6) evaluation tools such as income assessment form, questionnaires and interview forms. In 2021, several tasks were completed, starting from data audit implementation, information delivery for further help and traceability, development of a complete and precise poverty eradication model, proposed policy development for area-based approach. In fact, there were two main parts in this study; first, completing household livelihoods survey of the year 2020 and completing missing information from community leaders’ surveys in 6 districts. Second, solving poverty problems completely and precisely with innovative products and process based on Kut Bak Model in Kut Bak district, Sakon Nakhon province.

The results were shown as follows:

1. From the survey on 5-livelihood capitals in 2020 and 2021, the collected data of 10,543 households in Sakon Nakhon province revealed that human capital is the most significant capital. Earning income requires good health, knowledge and skills. Since the majority of the households mostly finished their education at the primary level, the main source of income comes from agriculture which is considered a labor job. During off-farming season, people get contractor jobs, and they return to do farming when it is in season. Thus, providing knowledge and skills will help them improve farming productivity. For physical capital, the study indicated that the poor households access public utilities, for example, road and electricity, apart from water service which is still lacking in some areas. It was also found that most people own land, house and plantation, however, its size varied according to their household. A small amount of land means less cultivation and less earning income. People need to find other jobs to earn more income to support their family. For economic capital, it is a significant capital for living. The major source of farmers’ income depends on crops and products; however, it is uncertain to cultivate well every season because of unstable weather conditions and natural disasters. The median price of agricultural products sometimes fluctuates which leads to income instability. People then need to find other jobs to earn enough for a living, for example, being seamstress, weaver, basket maker, repairman, construction worker and taxi driver; however, these hands-on jobs still require knowledge and skills. Some households considered these jobs as a significant source of household income while others depend on family members, the working age members who move to big cities for jobs and send money back to support the family. For natural capital, it refers to natural assets which people can take advantages of forests, soil, plants for a living, for instance, mushroom foraging, wild plant picking and fishing. Since Sakon Nakhon province locates in mountain area, people forage wild food and sell in local markets. For social capital, with Buddhism belief, people consider temples as a center of the community where people meet up and share things. The social capital in this area is an interdependent relationship; sharing belongings and helping each other in groups. However, when it comes to the local enterprises in the community, it is hard to gather members to run community businesses. People sometimes ignore this with the excuses of time, interest and skills. If the local enterprises were driven by the power of the community, fruitful results would happen, people would earn more income to support their households. 2. From the Kut Bak Model: Poverty management at the district level, the significant outputs from the district model consisted of
(1) A database system for implementing an application for verifying data, asking for help and delivering cases for further helps to government agencies in the areas. For example, District Administrative Organizations, Subdistrict Municipality, Subdistrict Administrative Organizations and Sakon Nakhon Chamber of Commerce.
(2) Innovative products for household consumption, consumer and business markets. A social enterprise chain concept was implemented. Starting from household farming of organic mushrooms and vegetables which the process was done based on the Pro–Poor value chain concept of the University Business Incubators (UBI), then having Organic Planting Community Enterprise mentor and position products in markets. The members also received training on entrepreneurship skills.
(3) At least 122 households, with approximately 500 household members, were trained to be knowledge workers; knowing to produce products from upstream, midstream to downstream.
(4) A social lab at Sakon Nakhon Rajabhat University where academic staff can join to conduct research, provide academic services and work with local communities by adopting the King’s philosophy to develop local community with social engineering approach.

This also represents the university’s identity as a university of opportunity for all. In addition, having a social lab is a sign to present what the university is working towards–the reinventing university with Community Integrated Learning (CIL) approach. Last, the outputs from the project lab provided academic records for researchers which can be used for the academic ranking requests. The project outcomes have influenced both social and economic aspects. For the social aspects, first, the findings showed that the households were able to produce soil conditioners, compost for household use and business, and they also processed other food products. Second, having records on purchases and sales provided households to understand customers’ needs, and be able to produce to serve market demand.Third, the project can solve household problems on a lack of plantations by arranging for people to plant on public land. Last, the households understood the mechanisms of the markets and could implement technology in household farming. For the economic aspect, public market rehabilitation after Covid-19 pandemic influences the economic aspect. Coming back of the local markets means businesses run in communities; people have places to sell household products. Moreover, household members saw an opportunity to earn a living during the off-season. Growing vegetables and selling them at local markets during the off-season, they quickly received returns for the households. It made them realize that growing vegetables also receive income and can do it all year round. Last, the project helped expand market channels and build market networks. Apart from selling products at local markets, they know how to sell products online and expand markets with other sellers. From there, they learned to produce more to serve market demand. In summary, Sakon Nakhon Rajabhat University received research funds to direct the project according to the Local Development Plan and the National Strategy Plan. The research project of “Development of Poverty Problem Solving Model in Kut Bak District, Sakon Nakhon Province” was proceed by Sakon Nakhon Rajabhat University research team, working alongside with the Strategic Transformation Office and the National Higher Education, Science, Research and Innovation Policy Council, Program Management Unit on Area Based Development (PMU A). The main work involved developing a model for poverty management, an area-based management, which included guidelines, strategies and mechanisms. A pilot study in Kut Bak district, Sakon Nakon province, received an implementation of Kut Bak Model aiming to investigate the model validity and provide guidelines for the developed model. The findings helped develop and verify the model for further implementation in other areas.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น