การพัฒนาภาคีเครือข่ายด้วยนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดสุรินทร์แบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 31 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A14F640102
นักวิจัย นายพงษ์ชาญ ณ ลำปาง
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย สุรินทร์

ชื่อโครงการ

การพัฒนาภาคีเครือข่ายด้วยนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดสุรินทร์แบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ

คำสำคัญ

ภาคีเครือข่าย,ปัญหาความยากจน,นวัตกรรมแก้จน,จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) เพื่อค้นหาสอบทานข้อมูลและสำรวจทุนคนจน และครัวเรือนระดับพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์
2) เพื่อออกแบบโครงการช่วยเหลือคนจนด้วยการสร้างและใช้นวัตกรรมแก้จนที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
3) เพื่อพัฒนาระบบติดตามข้อมูล คนจนระบบส่งต่อความช่วยเหลือระบบการประสานส่งต่อข้อมูลภายใต้การทำงานร่วมกันของกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่
4) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายหรือเชื่อมโยงให้เกิดแผนพัฒนาเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่

โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research & Development) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจและสอบทานข้อมูลครัวเรือนยากจนในปี 2564 ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ 100 % ทั้ง 3 พื้นที่ ได้แก่ อำเภอพนมดงรัก จำนวน 4 ตำบล อำเภอชุมพลบุรี จำนวน 1 ตำบล และอำเภอศรีณรงค์ จำนวน 4 ตำบล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการประชุมระดมสมอง การถอดบทเรียน การจัดทำแผนการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ และการออกแบบโมเดลแก้จนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของกลไกภาคีเครือข่ายในการแก้ปัญหาความยากจน ผลการวิจัย พบว่า

1) ผลการสำรวจสอบทานครัวเรือนยากจนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ 100 % ในปี 2564ประกอบด้วย 3 พื้นที่ ได้แก่ อำเภอพนมดงรัก จำนวน 4 ตำบล อำเภอชุมพลบุรี จำนวน 1 ตำบล และอำเภอศรีณรงค์ จำนวน 4 ตำบล รวมทั้งสิ้น 3,115 ครัวเรือน ทั้งนี้ ครัวเรือนที่ไม่สามารถสำรวจข้อมูลได้ เนื่องจากไม่พบผู้อยู่อาศัย หรือย้ายถิ่นฐาน หรือเสียชีวิต หรือปฏิเสธการให้ข้อมูล จำนวน 540 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 18.81
2) การพัฒนาระบบค้นหาสอบทานข้อมูลและสำรวจทุนของคนจนในระดับพื้นที่โดยใช้กลไกการพัฒนา “อาสาสมัคร” สู่การเป็น “นักจัดการข้อมูลชุมชน” จำนวน 5 รุ่น 5 ตำบล รวม 117 คน ทั้งในพื้นที่อำเภอพนมดงรัก และอำเภอชุมพลบุรี
3) การออกแบบโมเดลแก้จนร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยจัดเวทีภาคีเครือข่ายหารือร่วมกัน การประชุมกลุ่มย่อยพัฒนาตัวแบบปฏิบัติการแก้จน การสัมภาษณ์รายครัวเรือน กระบวน การคิดเชิงออกแบบ Design Thinking เชื่อมโยงผสานกับความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทกลุ่มเป้าหมาย 3 โมเดล ได้แก่ โครงการปฏิบัติการแก้จน หรือโมเดลแก้จน 2 พื้นที่ (ตำบลยะวึก อำเภอชุมพลบุรี และตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก) และโครงการบ้านธรรมรวมใจเพื่อผู้ยากไร้ที่อยู่อาศัย
4) โครงการปฏิบัติการแก้จนหรือโมเดลแก้จน “สวนผักอินทรีย์พุทธเมตตา” ของพื้นที่ตำบลยะวึก อำเภอชุมพลบุรี มุ่งเน้นแก้ปัญหาความยากจนจากการเสริมสร้างความเข้มแข็งภายในครัวเรือนและภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักอินทรีย์แก้จน ชุมชนยะวึก ในขณะที่โมเดลแก้จน “การยกระดับกลุ่มอาชีพเพาะกล้าไม้ด้วยนวัตกรรม” ในพื้นที่ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก มุ่งเน้นสร้างกระบวนการเรียนรู้ความหลากหลายเมล็ดพันธุ์จากปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำความคิด เพื่อให้ครัวเรือนยากจนสามารถเพาะกล้าไม้จำหน่ายจนกลายเป็นอาชีพสร้างรายได้ ภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะพันธุ์กล้าไม้หนองคันนา ส่วนโครงการบ้านธรรมรวมใจเพื่อผู้ยากไร้ที่อยู่อาศัย พบว่า ครัวเรือนยากจนเป้าหมายได้รับความช่วยเหลือให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในด้านที่อยู่อาศัย ด้านการดำรงชีพ และด้านสุขภาพจากการบูรณาการทำงานของเครือข่ายเชิงพื้นที่ในจังหวัดสุรินทร์
5) ในปี 2564-2565 โครงการวิจัยได้มีการเชื่อมประสานกลไกภาครัฐ ภาคประชาสังคม คณะสงฆ์ และเอกชน เพื่อส่งต่อช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ภายใต้โครงการบ้านธรรมรวมใจ เพื่อผู้ยากไร้ที่อยู่อาศัย รวมถึงส่งต่อข้อมูลให้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์ (พมจ.) และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ (พช.) และอำเภอพนมดงรัก
6) เกิดการพัฒนาระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจน จังหวัดสุรินทร์ ในระยะที่ 2 โดยวิเคราะห์ออกแบบระบบสารสนเทศฐานข้อมูลครัวเรือนยากจน จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบสารสนเทศชุมชนดีบนวิถีใหม่ (Living on new pace) และระบบสารสนเทศครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ (ppp.connext) เพื่อพัฒนาระบบติดตามส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจน
7) แผนการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับตำบล พบว่า(1) พื้นที่ตำบลยะวึกอำเภอชุมพลบุรี และตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรักควรพัฒนาระบบและกลไกในการแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ส่งต่อความช่วยเหลือร่วมกับภาคีเครือข่าย และ(2) พื้นที่ดังกล่าว ควรพัฒนาและเสริมสร้างทุน 5 มิติ ครัวเรือนยากจนเพื่อการดำรงชีพอย่างยั่งยืน
8) ข้อเสนอแนะ(1) การสอบทานข้อมูลโดยใช้นักจัดการข้อมูลช่วยยืนยันข้อมูลคนจนในพื้นที่ และสามารถสะท้อนปัญหาความยากจนในได้ในเบื้องต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานต้องยกระดับและผลักดันเข้าสู่กลไกของชุมชนหรือหน่วยงานในพื้นที่อย่างจริงจังด้วย(2) การบูรณาการเพื่อช่วยเหลือคนจนควรใช้ฐานข้อมูลชุดเดียวกัน แต่ต้องมีการสอบทาน และปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยเพื่อให้หน่วยงานช่วยเหลือได้ตรงจุดสอดคล้องกับพันธกิจ(3) มิติของการให้ความช่วยเหลือคนจนต้องเน้นย้ำเป้าหมายให้คนจน “ช่วยเหลือตัวเองได้” บนฐานทุนและศักยภาพของตนเอง และ(4) ในระดับพื้นที่ตำบลควรมีแผนการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเฉพาะระบบและกลไกในการแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ส่งต่อความช่วยเหลือร่วมกับภาคีเครือข่าย ประกอบกับควรพัฒนาเสริมสร้างทุน 5 มิติ ครัวเรือนยากจน ให้สามารถดำรงชีพได้อย่างยั่งยืน

Title

Development of Network with Innovation for comprehensive and precise poverty alleviation in Surin Province

Keywords

Network,Poverty,Poverty Innovation,Surin Province

Abstract

The objectives of this research were:

1) to completely search, verify, and survey the capital of the poor and households in local level of Surin province,
2) to design projects to help the poor by creating and implementing innovations to address poverty that are appropriate for the local context,
3) to develop a tracking system on information of the poor, a referral system for assistance, a coordinated referral system under the cooperation of the local development mechanism, and
4) to develop policy proposals or links to a development plan for solving poverty at the local level.

The research used Research & Development methodology. The data was collected by surveying and verifying the data of the poor households. It was aimed to 100% complete the data collection in the year 2021 in 3 districts namely Phanom Dong Rak district (4 Sub-districts), Chumphon Buri district (1 Sub-district), and Srinarong district (4 sub-districts). Data were analyzed by brainstorming sessions, identification of lessons learned, developing driving plans at the local level and the design of poverty alleviation models through participatory processes of network partners in poverty alleviation.

The results of the research were:
1) The survey to verify poor household data in 3 districts totaling 3,115 households was 100% complete in 2021 as planned. The households that were unable to survey because no residents were found or moved away or died or refused to provide information totaling 540 households, or 18.81%.
2) Developed a system for searching and verify the data, and surveying the capital of the poor at the local level by using a mechanism for developing “volunteers” to become “community information managers” totaling 117 people in 5 batches of 5 sub-districts, in Phanom Dong Rak district and Chumphon Buri district. 3) The poverty mitigation models were designed with local stakeholders by or-ganizing a forum for network partners to discuss together, small group meet-ing to develop an action model to solve poverty, household interview and the design thinking process and linked with local wisdom knowledge that was appropriate to the context of the target groups. Three models were de-signed, i.e. the Poverty Action Project or the Model to Solve the Poverty of 2 areas (Yawuk Sub-district, Chumphon Buri District, and Tamiang sub-district, Phanom Dong Rak District) and the Baan Tham Ruam Jai project for the homeless.
4) The poverty alleviation project or poverty alleviation model called “Buddha-Metta Organic Vegetable Garden” of Yawuk sub-district, Chumphon Buri dis-trict emphasis was placed on solving poverty problems through strengthen-ing the households and within the organic vegetable community enterprise group to combat the poverty of Yawuk community, while the poverty allevi-ation model called “Upgrading the seedling career with innovation” in Tami-ang sub-district, Phanom Dong Rak District focused on creating a process of learning a variety of seeds from village sages and thought leaders so that poor households of the Nong Khanna Tree Breeding Community Enterprise Group can grow seedlings and sell them to become a profitable occupation. As for the Baan Tham Ruam Jai project for the homeless, it was found that the target poor households received help to have a better quality of life in terms of housing, livelihood and health from the integration of the local network in Surin Province.
5) In 2021-2022, research projects have been linked to government mecha-nisms, civil society, Sangha and the private sector to pass on assistance to poor households under the Baan Tham Ruam Jai Project for the Homeless including forwarding information to Surin Provincial Social Development and Human Security Office (PSDHSO) and Surin Provincial Community Develop-ment Office (PCDO) and Phanom Dong Rak District.
6) Developed the second phase Poor Household database system of Surin Province by analyzing the design of Surin province Poor Household data-base information system to link data from the Good Community on New Path (Living on new pace) information system and the information system of poor households at the area level (ppp.connext) to develop a tracking system for poor households.
7) In the plan to drive poverty alleviation at the sub-district level it was found that (1) in Yawuk Sub-district, Chumphon Buri District and Tamiang sub-district, Phanom Dong Rak district should develop systems and mechanisms for solving problems, providing assistance, and sharing assistance with net-work partners, and (2) such areas should develop and strengthen five di-mensions of capital of poor households for sustainable livelihoods.
8) Recommendations: (1) Using Data managers is helpful in data review to con-firm the information of the local poor, and can initially reflect the problem of poverty. In order to achieve efficiency in work, it must be upgraded and pushed into the mechanism of the community or local agencies seriously. (2) Integration to help the poor should use the same database. Rather, in-formation needs to be reviewed and updated so that aid agencies are in line with their missions. (3) The dimension of helping the poor must em-phasize on the goal that the poor can ‘help themselves’ based on their own capital and potential. and (4) At the district level, there should be a plan to drive poverty alleviation, especially the systems and mechanisms for solving problems, helping, and referring assistance with network partners. In addition, there should be development and strengthening of capital in 5 dimensions, so that poor households can have a sustainable livelihood.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น