ต้นแบบการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมในการขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดนราธิวาส

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 45 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A14F640081
นักวิจัย อ. วสันต์ พลาศัย
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย นราธิวาส

ชื่อโครงการ

ต้นแบบการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมในการขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดนราธิวาส

คำสำคัญ

ต้นแบบ, นวัตกรรม, ความยากจน, นราธิวาส

บทคัดย่อ

จากการดำเนินโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาคนจนกลุ่มเป้าหมาย ผ่าน 3 กระบวนการหลัก ประกอบด้วย

1) การค้นหา (Targeting) สอบทาน (Verify) ข้อมูล และสำรวจทุนคนจนและครัวเรือนระดับพื้นที่
2) การพัฒนาระบบการส่งต่อความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานภาคีต่าง ๆ และ
3) การออกแบบโครงการช่วยเหลือคนจนอย่างตรงเป้าหมาย (Operating Model) ที่สอดคล้องกับบริบทและคนจน

เป้าหมาย โดยได้ดำเนินการประสานงานและบูรณาการ การทำงานร่วมกับกลไกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ภาคประชาสังคม องค์กรชุมชนในแต่ละจังหวัด สำหรับอำเภอนำร่องในการดำเนินการ ได้แก่

1) อำเภอเมือง มีจำนวน 6 ตำบล และ 1 เทศบาล มีครัวเรือนยากจน เป้าหมาย 2,131 ครัวเรือน เป็นจำนวนคนจน (จปฐ.) 8,097 คน จำนวนคนจน (จปฐ.) ที่ไปลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 2,473 คน ซึ่งเป็นอำเภอที่มีการกระจุกตัวของคนจนสูงสุด
2) อำเภอสุไหงปาดี มีจำนวน 6 ตำบล และ 1 เทศบาล มีครัวเรือนยากจน เป้าหมาย 2,370 ครัวเรือน เป็นจำนวนคนจน (จปฐ.) 9,611 คน จำนวนคนจน(จปฐ.) ที่ไปลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 3,975 คน ซึ่งเป็นอำเภอที่มีการกระจุกตัวของคนจนสูงเหมือนกัน และ
3) อำเภอสุคิริน มีจำนวน 5 ตำบลมีครัวเรือนยากจน เป้าหมาย 719 ครัวเรือน เป็นจำนวนคนจน (จปฐ.) 2,171 คน จำนวนคนจน (จปฐ.) ที่ไปลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 930 คน

ซึ่งเป็นอำเภอ ที่มีกลไกการทำงานในพื้นที่ที่เข้มแข็ง และเป็นโอกาสการทำงานแล้วประสบความสำเร็จได้เร็วและสูง ผลการค้นหา สอบทานครัวเรือนเป้าหมายได้จำนวน 5,026 ครัวเรือน จำนวน 31,136 คน ในจำนวน 3 อำเภอ ประกอบด้วย

1) อำเภอ เมือง 1,702 ครัวเรือน
2) อำเภอ สุคิริน 1,215 ครัวเรือน และ
3) อำเภอสุไหงปาดี 2,109 ครัวเรือน

จากการวิเคราะห์ศักยภาพทุน 5 ด้านจังหวัดนราธิวาส พบว่า ลำดับความจำเป็นเร่งด่วนของที่จะเร่งแก้ไข คือ ทุนทางสังคม มีค่าน้ำหนักต่ำที่สุด นั่นคือ 1.49 จัดอยู่ในความยากจนระดับที่ 1 “อยู่ลำบาก” รองลงมา คือ ทุนมนุษย์มีค่าน้ำหนักเท่ากับ 1.94 จัดอยู่ในความยากจนระดับที่ 2 “อยู่ยาก” ค่าน้ำหนักที่ต่ำ ความยากจนระดับที่ 3 คือ ทุนเศรษฐกิจ ซึ่งมีค่าน้ำหนักเท่ากับ 2.36 จัดอยู่ในความยากจน ระดับที่ 3 “อยู่ยาก” ค่าน้ำหนักความยากจน ระดับที่ 4 คือ ทุนธรรมชาติ มีค่าน้ำหนักเท่ากับ 2.44 จัดอยู่ในความยากจนระดับที่ 4 “อยู่ยาก” และทุนกายภาพ เป็นทุนที่มีค่าน้ำหนักผ่านค่ามาตรฐานกลาง นั่นคือค่าน้ำหนัก 2.87 ซึ่งค่าน้ำหนักแต่ละตัวชี้วัดของทุนแต่ละด้าน ในของการส่งต่อให้ความช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ได้แก่ การส่งต่อสู่ครัวเรือนยากจนเข้าสู่กลไก ศจพ.จ. โดยนำส่งฐานข้อมูลครัวเรือนยากจน ให้กับ กลไก ศพจ.จ. จำนวน 5,252 ครัวเรือน จำนวน 31,312 คน (ข้อมูลจากระบบ pppconnext ณ วันที่ 3 มีนาคม 2565) ได้แก่

1) คนจนที่ตกหล่นจากสวัสดิการของรัฐ
2) หน่วยงานภาครัฐ
3) ส่งต่อสู่โมเดลแก้จน และ
4) ส่งต่อสู่แผนงาน/โครงการ : ส่งแผนงานแก้จน สู่แผนระดับต่าง ๆ

จากการวิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือนยากจน ได้ดำเนินกิจกรรมแก้จนจำนวน 4 OM ได้แก่

1) อำเภอเมือง จำนวน 1 OM คือ “นวัตกรรมโปรตีนทางเลือกจากพืช” มีสมาชิก 107 คน 27 ครัวเรือน
2) อำเภอสุคิริน มี 1 OM คือ “นวัตกรรม 3 ส. สร้างงาน สร้างรายได้และแบบฟอร์มสร้างกลุ่มอาชีพอย่างยั่งยืน” มีสมาชิก 123 คน61 ครัวเรือน
3) อำเภอ สุไหงปาดี จำนวน 2 OM คือ “การเลี้ยงผึ้งชันโรงสายพันธุ์ดีเพื่อผลิตน้ำผึ้งชันโรงเกรดพรีเมี่ยม” มีสมาชิก 109 คน จำนวน 25 ครัวเรือน และ
4) “นวัตกรรมแก้จนด้วยการเลี้ยงใส้เดือน เพื่อผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูง” มีสมาชิก 166 คน 49 ครัวเรือน

ซึ่งทั้ง 4 นวัตกรรมนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับทุนกลุ่ม ทุนมนุษย์ แรงงานมีคุณภาพ ทุนเศรษฐกิจ แก้ปัญหาความยากจน พ้นเส้นความยากจน หนี้ครัวเรือนลดลง และทุนสังคม เพิ่มความเข้มแข็งชุมชนและสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิต การกระจายรายได้ และขยายผลไปสู่พื้นที่ใกล้เคียง จากนั้นนำนวัตกรรมแก้จนไปจัดทำแผนในรูปแบบโครงการต่าง ๆ เข้าสู่แผนอำเภอ แผนจังหวัด และแผนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ตามลำดับ เพื่อให้ครัวเรือนยากจนหลุดพ้น จากความยากจนอย่างยั่งยืน

Title

The model for the comprehensive and precise poverty eradication by research and innovation in Narathiwat Province

Keywords

model,innovation,poverty,Narathiwat

Abstract

This project implementation primarily aimed to alleviate poverty through three main processes:

1) targeting the poor and vulnerable household
2) verifying the data entry against the existing documents and previously collected data and
3) designing an operating model for alleviating poverty of the poor and vulnerable household.

It was operated by coordinating and integrating with the mechanisms of relevant agencies including government agencies, civil society, and communities in Narathiwat province. According to existing documents and previously collected data as basic minimum needs data collected by public service and government agency, three districts namely Mueaung, Sungaipadi and Sukhirin were selected as pilot districts for employing this project. For Mueang district, there are six sub-districts and 1 municipality with a target of 2,131 poor households, representing the number of poor people 8,097 people. The number of poor people who have registered for state welfare is 2,473 people. This is the district with the highest concentration of poor people. In Sungaipadi district, there are six sub-districts and 1 municipality with a target of 2,370 poor households, representing the number of poor people 9,611 people. The number of poor people who have registered for state welfare is 3,975 people. This is also the district with the highest concentration of poor people. Lastly, Sukhirin district, there are five sub-districts with a target of 719 poor households, representing the number of poor people 2,171 people. The number of poor people who have registered for state welfare is 930 people. This is a community with a strongly supportive mechanism which lead to an opportunity to be success.The previous data were verified. In all three districts, the total number of target households were 5,026 households with 31,136 people consisting of 1,702 households in Mueng district, 1,215 households in Sukhirin district and 2,109 households in Su-ngaiPadi district. To examines the potential of five capitals, it was found that social capital and human capital are lowest index (1.49 and 1.94 score, respectively) whereas financial capital, natural capital and physical capital are lower index (2.36, 2.44 and 2.87 score, respectively) To help these poor and vulnerable households were functioned by two ways. First, forwarding successive five capital data which are 5,252 vulnerable households and 31,312 poor people to relevant agencies was made for properly assisting. Besides, directly supporting with four operating models to the targets was applied. Innovation of plant-based protein was implemented in Mueang district, with 27 households and 107 poor people. Next, Application of Create jobs, generate income, and create sustainable career groups. was implemented in Sukhirin with 61 households and 123 people. The last two operating model was applied in Sungaipadi. The production of high-grade stingless bee honey model was promoted and there were 25 households and 109 people to participate. Furthermore, innovation of poverty alleviation by vermicompost production was also promoted to 49 households and 166 people. All four innovations have caused changes in the level of human capital, quality labor, financial capital, and poverty alleviation. the innovations in poverty alleviation were used to formulate plans in various project forms into the district plan, provincial plan, and the Southern Border Province Administrative Center plan, respectively, in order for poor households to be freed from poverty Sustainable. ?

สำหรับสมาชิกเท่านั้น