ชื่อโครงการ
การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดนครราชสีมาคำสำคัญ
ปัญหา,ความยากจนบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัย “การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดนครราชสีมา” มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ค้นหาและทวนสอบข้อมูลคนจน สอบทานข้อมูลคนจนที่กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดอย่าง แม่นยำ
2) วิเคราะห์สาเหตุความยากจนของคนจนกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการวิเคราะห์สถานะความยากจนทุกมิติ
3) พัฒนานวัตกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำต้นแบบในจังหวัดนครราชสีมา
4) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนา ยุทธศาสตร์จังหวัดนครราชสีมา และ
5) สร้างเครือข่ายความร่วมมือและการพัฒนาระบบและกลไกการส่งต่อ ความช่วยเหลือคนจนในจังหวัดนครราชสีมา
โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนาโดยการประยุกต์ใช้วิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) และการเรียนรู้เชิงจากการปฏิบัติ (Action Learning) เป็นหลัก ผลการวิจัย พบว่า
1) การค้นหาและทวนสอบข้อมูลคนจน สอบทานข้อมูลคนจนที่กระจายอยู่ในพื้นที่ จังหวัดอย่างแม่นยำ พบว่า ภาพรวม 4 อำเภอเป้าหมายของจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ อำเภอเมือง นครราชสีมา อำเภอจักราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอปักธงชัย พบครัวเรือนยากจน จำนวน 5,008 ครัวเรือน จำนวนคนจน 22,132 คน เฉลี่ยครัวเรือนละ 4 คน ทั้งนี้มีครัวเรือนยากจนที่อาศัยอยู่จริงในอำเภอ เมืองนครราชสีมาอีก 5 ครัวเรือน ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในอำเภอโนนสูง 3 ครัวเรือน อำเภอด่านขุนทด 1 ครัวเรือน และอำเภอครบุรี 1 ครัวเรือน ครัวเรือนยากจนทั้งหมดมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3,847.14 บาท ระดับ ทุนมนุษย์ 1.91 ระดับทุนกายภาพ 2.79 ระดับทุนเศรษฐกิจ 2.08 ระดับทุนธรรมชาติ 2.60 ระดับทุนสังคม 1.64 2) วิเคราะห์สาเหตุความยากจนของคนจนกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการวิเคราะห์สถานะความยากจนทุกมิติพบว่า
1) ทุนมนุษย์ ครัวเรือนยากจนส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับต่ำกว่าประถมศึกษา (6,906 คน) ได้ประสบกับ ปัญหาว่างงานจากสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น (1,006 คน)
2) ทุนกายภาพ มีสภาพบ้านเรือนที่อยู่อาศัยทรุด โทรม (1,212 ครัวเรือน) และการไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานราชการ (251 ครัวเรือน)
3) ทุนการเงิน ข รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดนครราชสีมา ครัวเรือยากจนส่วนใหญ่มีหนี้สิน (2,424 ครัวเรือน)
4) ทุนทางธรรมชาติ มีครัวเรือนที่อยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติ (842 ครัวเรือน) และ
5) ทุนทางสังคม พบว่ากลุ่มครัวเรือนยากจนมีการรับรู้ว่าในพื้นที่ยังไม่มีการกำหนดกฎระเบียบ หรือกติกาในการอยู่ร่วมกันของชุมชน (1,167 ครัวเรือน)
พัฒนานวัตกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบ เบ็ดเสร็จและแม่นยำต้นแบบในจังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ แนวคิด “การส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยเพื่อการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจน จังหวัดนครราชสีมา” ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจักราช อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ และอำเภอปักธงชัย พบว่า มีการพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินงานได้ 3 นวัตกรรม หลักได้แก่
(1) นวัตกรรมการจัดการกลุ่ม
(2) นวัตกรรมเครือข่ายการจัดจำหน่าย และ
(3) นวัตกรรมการ บริหารจัดการแปลงรวม
4) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำที่ เชื่อมโยงกับแผนพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัดนครราชสีมา คณะผู้วิจัยค้นพบข้อเท็จจริงและปัญหาอุปสรรคหลาย ประการ จึงได้สังเคราะห์ และเสนอแนะต่อรัฐบาล จังหวัด อำเภอและตำบล ในการนำไปกำหนดเป็นนโยบาย มาตรการ แนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนให้ประสบผลสำเร็จ โดยแบ่งข้อเสนอแนะออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ข้อเสนอแนะระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ/ตำบล และ
5) การสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือและการพัฒนาระบบและกลไกการส่งต่อความช่วยเหลือคนจนในจังหวัดนครราชสีมา
มีการดำเนินงาน ของโครงการฯ ได้มีการการออกแบบเป็นกลไกการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเชิงระบบได้ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ จังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล และการส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนไปยังหน่วยงานภาคีเครือข่าย เพื่อ ใช้ประกอบการวางแผนการพัฒนาและการช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ทั้งนี้เป็นการส่งต่อข้อมูลในเบื้องต้น จำนวน 3 ระบบ ได้แก่
(1) ระบบการส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนไปให้กับศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดนครราชสีมา (ศจพ. นม.)
(2) ระบบการส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนให้กับสำนักงานพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และ
(3) ระบบการส่ง ต่อสู่ระบบ OM โดยมีการดำเนินงานภายใต้ชื่อ “โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยระดับครัวเรือน จังหวัด นครราชสีมา
Title
The Comprehensive and Accurate Solutions to Poverty in Nakhon Ratchasima ProvinceKeywords
Problem,PovertyAbstract
Research study “Comprehensive and accurate solution to poverty in Nakhon Ratchasima Province” The objectives are to
1) search and verify information of the poor to review the information of the poor scattered in provincial areas like Accurate 2) Analyze the causes of poverty of the poor in the target group. by analyzing all dimensions of poverty status
3) Develop an innovative model for comprehensive and accurate poverty alleviation in Nakhon Ratchasima Province.
4) Prepare comprehensive and accurate poverty alleviation policy proposals linked to the development plan. Nakhon Ratchasima provincial strategy, and
5) create a network of cooperation and development of the system and mechanism Helping the poor in Nakhon Ratchasima Province by using research and development methodologies by applying research participatory workshops (Participatory Action Research) and learning from practice (Action Learning) mainly
The results of the research were as follows: 1) searching and verifying the poor Review the information of poor people scattered in the area. Province precisely found that the overall 4 target districts of Nakhon Ratchasima Province are Mueang District Nakhon Ratchasima, Chakkarat District, Chaloem Phra Kiat District Pak Thong Chai District found 5,008 poor households Household The number of poor people is 22,132 people, an average of 4 people per household. There are poor households who actually live in the district. Nakhon Ratchasima City, another 5 households whose house registration is in Non Sung District, 3 households, Dan Khun Thot District 1 household and Khon Buri District 1 household All poor households had an average monthly income of 3,847.14 baht, level Human capital 1.91 Physical capital 2.79 Economic capital 2.08 Natural capital 2.60 Social capital 1.64 2) Analyze the causes of poverty of the poor in the target group. By analyzing poverty status in every dimension, it was found that 1) Human capital Most poor households with education below primary school level (6,906 people) experience Unemployment problems from the COVID situation that occurred (1,006 persons) 2) Physical capital, housing conditions deteriorating. dilapidated (1,212 households) and not receiving information from government agencies (251 households) 3) financial capital b complete research report Comprehensive and Accurate Poverty Alleviation Project in Nakhon Ratchasima Province Most poor households are in debt (2,424 households). 4) Natural capital. There is a household in the disaster area (842 household) and 5) social capital. It was found that poor households perceive that there are no regulations in the area. or the rules of community coexistence (1,167 households) 3) develop innovations to solve poverty problems complete and accurate model in Nakhon Ratchasima Province under the concept of “promotion of safe vegetable cultivation for Improving the quality of life of poor households Nakhon Ratchasima Province” in the area of 3 districts, namely Chakkarat District, honor and Amphoe Pak Thong Chai, it was found that 3 innovations were developed for operational use. The main ones are (1) group management innovation, (2) distribution network innovation, and (3) marketing innovation. 4) Prepare comprehensive and precise policy proposals for alleviating poverty Linked to the strategic development plan of Nakhon Ratchasima Province. The research team discovered many facts and obstacles. Therefore, it has synthesized and make recommendations to the provincial, district and sub-district governments in implementing them into policies Measures, guidelines for solving poverty problems to be successful by dividing the recommendations into 3 levels namely recommendations at the national, provincial, and district/sub-district levels; Cooperation and development of systems and mechanisms for referring assistance to the poor in Nakhon Ratchasima Province have operations of the project has been designed as a systemic network participation mechanism at 3 levels: provincial, district and sub-district levels, and forwarding of poor household data to network partners for used for planning development and helping poor households This is the preliminary transmission of information. There are 3 systems: (1) The system for referring poor household information to the Poverty Eradication Directing Center. and develop people of all ages in a sustainable manner according to the Sufficiency Economy Philosophy in Nakhon Ratchasima Province (2) a system for referring poor household information to the Office of Community Organization Development (COD) and (3) a system for sending Connect to the OM system, operating under the name “The Provincial Safe Vegetable Planting Promotion Project at the Household Level Nakhon Ratchasima