ชื่อโครงการ
การศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำภาคเหนือตอนล่าง: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลกคำสำคัญ
เบ็ดเสร็จและแม่นยำ,การแก้ไขปัญหาความยากจน,จังหวัดพิษณุโลกบทคัดย่อ
โครงการการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำภาคเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก The Study of Completed and Precise Solutions to Eliminate Poverty of Northern Region: Case Study in Phitsanulok Province มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและทวนสอบข้อมูลคนจน ครัวเรือนยากจน และสถานะคนจนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อวิเคราะห์สาเหตุความยากจนของคนจนกลุ่มเป้าหมายพร้อมจัดทำเป็นระบบข้อมูลคนจนขนาดใหญ่ของจังหวัดพิษณุโลก เพื่อพัฒนาโมเดล/รูปแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำต้นแบบในจังหวัดพิษณุโลก และเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษา พบว่า การสำรวจคนจนในจังหวัดพิษณุโลกที่มีสัดส่วนมากที่สุด พบว่าอำเภอเนินมะปรางและอำเภอบางระกำ เป็นพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวขงคนจน มีปัญหาการเข้าถึงทรัพยากร โดยมีการตรวจสอบข้อมูลจาก TPMAP และพบว่าทุนทางเศรษฐกิจต่ำที่สุด รองลงมาคือทุนทางสังคม ซึ่งจากการระดมความคิดเห็นจากหลายฝ่ายแล้ว พบว่าพื้นที่เป้าหมายทั้ง 3 แห่งมีทุนเดิมในการช่วยเหลือคนจน มีผู้นำที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาที่โดดเด่น และมีทุนทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ความเอื้ออาทรเป็นฐานในการทำงานอยู่ในพื้นที่ และมีเยาวชนคนรุ่นใหม่ในการทำงานในพื้นที่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินโมเดลแก้จน ภายใต้กรอบ Quick win ได้ดีและเห็นผลได้เร็ว จึงเกิดเป็นโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในพื้นที่ดำเนินงาน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลวังอิทก อำเภอบางระกำ และตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง และจัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จำนวน 3 โมเดล คือ
(1) ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ ได้มีการพัฒนาผลิต “ข่าวสั่งตัด” (สุขภาพ น้ำตาลต่ำ ต้านอนุมูลอิสระสูง และข้าวสำหรับผู้ที่ต้องการน้ำตาลและพลังงานสูง) การพัฒนาการตลาด (การจัดจำหน่าย) และการจัดการกับของเหลือใช้ทางการเกษตร/ของเสีย (การตัดฟาง หรือการทำกระถางจากฟางข้าว)
(2) ตำบลวังอิทก อำเภอบางระกำ ได้ดำเนินการผลิตปลาที่มีคุณภาพสูง เช่น โปรตีน แคลเซียม โอเมก้า
(3) ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง ได้ดำเนินการนำคนจนเข้าสู่วงจรการท่องเที่ยว หรือใช้การท่องเที่ยวแก้ไขปัญหาความยากจน และการพัฒนาแพลตฟอร์มการสื่อสารการประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงการจัดทำร่างข้อบัญญัติสำหรับพื้นที่ดังกล่าว
Title
The Study of Completed and Precise Solutions to Eliminate Poverty of Northern Region: Case Study in Phitsanulok ProvinceKeywords
Poverty Problem Solving,Complete and Precise,Phitsanulok ProvinceAbstract
The Study of Completed and Precise Solutions to Eliminate Poverty of Northern Region: Case Study in Phitsanulok Province aims to find and verify information on the poor. poor household and the status of the poor, the target group In order to analyze the causes of poverty of the target group of poor people and prepare a large data system for the poor of Phitsanulok province. To develop a comprehensive and accurate model/model of poverty alleviation in Phitsanulok Province and to produce comprehensive and accurate policy proposals for solving poverty in connection with the Phitsanulok Provincial Strategic Development Plan. The results of the study found that the survey of the poor in Phitsanulok province had the highest proportion. found that Noen Maprang District and Bang Rakam District It is an area where the poor people are concentrated. There is a problem accessing the resource. It examined data from TPMAP and found that economic capital was the lowest. followed by social capital which from the brainstorming of opinions from many parties It was found that the three target areas had the original funds to help the poor. There are leaders working on outstanding developments. and have social and cultural capital such as generosity is the basis for working in the area. and there is a new generation of young people working in the area which is expected to be able to implement the model to solve poverty under the Quick win framework well and see results quickly Therefore, it was born into a community product development project and health tourism. in 3 sub-districts of operation, namely Chum Saeng Songkhram Subdistrict, Wang Itok Subdistrict, Bang Rakam District and Sai Yoi Subdistrict Noen Maprang District and developed a project to develop community products and health tourism in 3 models:
(1) Chum Saeng Songkhram Sub-district, Bang Rakam District, has developed “News to cut off” (health, low sugar, high antioxidants. and rice for those who need high sugar and energy) market development (Distribution) and management of agricultural waste/waste (cutting straw or making pots from rice straw)
(2) Wang Itok Subdistrict, Bang Rakam District, has been producing high quality fish such as protein, calcium, Omega
(3) Sai Yoi Subdistrict, Noen Maprang District has taken the poor into the tourism cycle or use tourism to solve poverty and the development of a public relations communication platform. including the drafting of ordinances for such areas.