การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 15 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630036
นักวิจัย นายจิระพันธ์ ห้วยแสน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กาฬสินธุ์

ชื่อโครงการ

การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ

การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือ,การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ,กาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมเนินการวิจัยโดยเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากข้อมูลกลุ่มเป้าหมายจากฐานข้อมูล TPMAP และ Kalasin Happiness Model (KHM) ตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณซึ่งมีจำนวนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 9,883 ราย และกลุ่มเป้าหมาย (เพิ่มเติม) 271 ราย รวมกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องเก็บเป็น 10,154 ราย และสามารถเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายได้ 9,421 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.78 กลุ่มเป้าหมาย ที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ จำนวน 733 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.22 นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ยืนยันผลการศึกษาเชิงปริมาณ โดยดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลในทุน 5 มิติ ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนกายภาพ ทุนการเงิน ทุนทรัพยากรธรรมชาติและภัยพิบัติ ทุนสังคม ผลการศึกษาพบว่า

  1. ด้านทุนมนุษย์เป็นการวัดทุนมนุษย์ในการดำรงชีพอย่างยั่งยืนที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนที่ประกอบไปด้วย 8 ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ย 2.30 มีลักษณะอยู่ยาก
  2. ด้านทุนกายภาพเป็นการวัดทุนกายภาพในการดำรงชีพอย่างยั่งยืนที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนประกอบไปด้วย 7 ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ย 3.01 มีลักษณะอยู่ได้
  3. ด้านทุนการเงินเป็นการวัดทุนการเงินในการดำรงชีพอย่างยั่งยืนที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนประกอบไปด้วย 5 ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ย 2.28 มีลักษณะอยู่ได้
  4. ด้านทุนทรัพยากรธรรมชาติและภัยพิบัติเป็นการวัดทุนทรัพยากรธรรมชาติและภัยพิบัติในการดำรงชีพอย่างยั่งยืนที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนประกอบไปด้วย 4 ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ย 2.72 มีลักษณะอยู่ได้
  5. ด้านทุนสังคมเป็นการวัดทุนสังคมในการดำรงชีพอย่างยั่งยืนที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนประกอบไปด้วย 6 ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ย 2.44 มีลักษณะอยู่ยาก

เมื่อพิจารณาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานในด้านทุนมนุษย์ ด้านทุนกายภาพ ด้านทุนการเงิน ทุนทรัพยากรณ์ธรรมชาติ และด้านทุนสังคมของจังหวัดกาฬสินธุ์ สรุปได้ว่า เขตชลประทานและนอกเขตชลประทานของจังหวัดกาฬสินธุ์มีความแตกต่างกันในด้านทุนมนุษย์และทุนสังคม และเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานของจังหวัดกาฬสินธุ์มีความคล้ายคลึงกันในด้านทุนกายภาพ ทุนการเงิน และทุนทรัพยากรณ์ธรรมชาติ ผลการดำเนินโครงการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการวิเคราะห์และเรียนรู้จากข้อมูลร่วมกัน นำไปสู่การหาข้อสรุปและขับเคลื่อนการแก้ปัญหาร่วมกัน นำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ในการแก้ไขปัญหาความยากจน ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับจังหวัดกาฬสินธุ์ ในฐานะคณะทำงานขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ การดำเนินโครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนปี 2563 – 2564 โดยหน่วยสนับสนุนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้โครงการ“การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์” (จิระพันธ์ ห้วยแสนและคณะ, 2564) สามารถสรุปผลดำเนินงานได้ดังนี้

  1. การสร้างการรับรู้ความยากจนร่วมกับภาคีความร่วมมือในจังหวัดกาฬสินธุ์ การขับเคลื่อนโครงการวิจัยที่ผ่านมาสามารถสร้างการรับรู้ใน 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ
    (1) การสร้างการรับรู้เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย
    (2) การสร้างการรับรู้ร่วมเพื่อทำความเข้าใจกับความยากจนทั้ง 5 มิติและการใช้ทุนทั้ง 5 ด้านเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจน กล่าวคือ
    (2.1) การสร้างการรับรู้เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย ภายหลังจากการดำเนินการโครงการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนฯ ปี 2563 โดยสร้างการรับรู้ร่วมตั้งแต่กระบวนการให้ชุมชน ผู้นำชุมชน ประชาชน อาสาสมัคร ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาคนจนเป้าหมายร่วม เกิดความร่วมแรงร่วมใจในการช่วยเหลือส่งต่อในชุมชน และส่งต่อความช่วยเหลือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนจนเป้าหมาย และมีการนำนโยบายการแก้ไขความยากจนไปปฏิบัติแบบความร่วมมือในระดับบนลงล่าง (Top-down) และล่างขึ้นบน (Bottom-up ) ที่มีกลไกชัดเจนจากการทำงานร่วมมือกันในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และส่วนท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานภาคประชาสังคม อาทิ พอช. สภาองค์กรชุมชน สภาเกษตรกร กองทุนพื้นฟูเกษตรกร มูลนิธิปิดทองหลังพระ ในการส่งต่อและช่วยเหลือคนจนเป้าหมาย
    (2.2) การสร้างการรับรู้ร่วมเพื่อทำความเข้าใจกับความยากจนทั้ง 5 มิติ ด้วยการนำนโยบายแก้ปัญหาความยากจนไปปฏิบัติที่ผ่านมา เมื่อมุ่งแก้ปัญหาส่วนมากจะมุ่งพัฒนาที่กลุ่มอาชีพเพื่อยกระดับอาชีพมากยิ่งขึ้น ในความเป็นจริงการแก้ปัญหาความยากจนต้องพัฒนาให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งมิติของสุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา การเงิน การเข้าถึงแหล่งบริการรัฐ การแก้ปัญหาความยากจนแน่นอนและเบ็ดเสร็จ ได้มีการออกแบบกลไก กระบวนการวิจัยและเครื่องมือในการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการทำงาน ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความยากจน ติดตาม วิเคราะห์และหนุนเสริมกลไกการพัฒนาเชิงพื้นที่ และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ระดับครัวเรือน ทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ เห็นความยากจนไปร่วมกัน ตลอกจนการจัดเวทีคืนข้อมูลระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ทำให้สามารถสร้างการรับรู้ความยากจนในมิติอื่น ๆ ทำให้เกิดการส่งต่อความช่วยเหลือและแก้ปัญหาความยากจนจะตรงจุดและครอบคลุมทุกมิติทั่วทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์
  2. การสอบทานข้อมูลฐานข้อมูลคนจนจากฐานข้อมูล TPMAP, Kalasin Happiness Model และคนจน 20% ล่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากฐานข้อมูล (Thai People Map and Analytics Platform, TPMAP) ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า ซึ่งมีคนจนเป้าหมายในปี 2562 จำนวน 12,912 คน คิดเป็น 6,795 ครัวเรือน และสามารถสอบทานข้อมูลจากฐานข้อมูล Kalasin Happiness V.1 (พัฒนาโดยจังหวัดกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์) และครัวเรือนนอกเหนือจากฐานข้อมูลทั้ง 2 แหล่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ เพิ่มอีกจำนวน 2,640 ครัวเรือน รวมครัวเรือนเป้าหมายในการสอบทานข้อมูลทั้งสิ้น 9,394 ครัวเรือน จำนวนทั้งสิ้น 32,570 คน สามารถส่งต่อความช่วยเหลือ 58 ครัวเรือน และสามารถนำข้อมูลทั้งหมดเข้าสู่ระบบส่วนกลางที่พัฒนาโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และระบบ Kalasin Happiness Model
  3. การวิเคราะห์ข้อมูลและนิยามคนจนในจังหวัดกาฬสินธุ์ การนำข้อมูลเข้าระบบและวิเคราะห์ข้อมูลนำมาซึ่งการสร้างนิยามคนจนใหม่ที่เป็นนิยามเฉพาะของจังหวัดกาฬสินธุ์และสร้างการรับรู้ผ่านเวทีการคืนข้อมูลทุกระดับ กล่าวคือ เป็นนิยามความยากจนที่มีความเฉพาะเรียงคะแนนตามค่าการวิเคราะห์ที่เป็นด้านที่วิกฤต โดยใช้นิยามว่า “สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย มีรายได้ต่ำกว่าสามหมื่นบาทต่อปีต่อครัวเรือน สภาพความเป็นอยู่ต้องพึ่งพิงสวัสดิการ ขาดรายได้เสริม ที่อยู่อาศัยไม่มั่นคง ไม่มีที่ทำกิน ขาดแคลนโอกาสและทักษะการประกอบอาชีพ” และมีการจัดกลุ่มคนจนเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย อยู่ไม่ได้ อยู่ยาก อยู่ได้ และอยู่ดี ซึ่งมีความเหมาะสมกับบริบทคนจนจังหวัดกาฬสินธุ์
  4. การสร้างนวัตกรรมเชิงกระบวนการระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐให้สามารถตัดสินใจอย่างตรงจุด คือระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนในระดับพื้นที่V.2 ปัญหาการนำนโยบายมาปฏิบัติที่แยกส่วนตามโครงสร้างระบบราชการไทย และการทำงานแบบร่วมมือขาดความต่อเนื่องทำให้ภาคส่วนที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนได้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการรายงานไปยังหน่วยงานระดับสูงเพื่อประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานในโครงการต่างๆมากมาย ส่งผลให้ฐานข้อมูลในการแก้ไขปัญหาความยากจนของพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์มีหลายชุด ทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน ระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกันและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นการดำเนินโครงการวิจัยในปีที่ 1 มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์จึงได้ศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลที่เป็นชุดเดียวโดยการศึกษาวิจัย สอบทานชุดข้อมูล และยืนยันข้อมูลคนจน เพื่อจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลความยากจนรายครัวเรือน และมีติดตามการช่วยเหลือจังหวัดกาฬสินธุ์ที่มีความน่าเชื่อถือและแม่นยำ จะทำให้การพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนตรงจุดและพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งมีการส่งมอบระบบให้หน่วยงานระดับจังหวัดได้ขับเคลื่อนในระดับจังหวัด อำเภอและตำบล เรียบร้อยแล้ว
  5. การพัฒนาแบบจำลองการปฏิบัติการเพื่อแก้ไขความยากจนที่เหมาะสมกับบริบทคนจน (“โมเดล แก้จน”) ในระดับท้องถิ่น การดำเนินโครงการวิจัยในปีที่ 1 ได้มีการพัฒนาแบบจำลองในการแก้จนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายระดับท้องถิ่น ประกอบด้วยคณะกรรมการระดับตำบล ประชาชน กลุ่มอาชีพ คนจนกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้เครื่องมือ การพัฒนาคนจนกลุ่มเป้าหมายที่เชื่อมโยงจากการ จัดเวทีบูรณาการโครงการแก้จน และกิจกรรมตามแผนชีวิตหรือแผนพัฒนาครัวเรือนตามความต้องการที่แท้จริง โดยใช้ความความรู้ ทักษะที่คนจนเป้าหมายมีอยู่ เพื่อการพัฒนาที่ตรงจุด ตอบโจทย์ตรงความต้องการที่มาจากการรับฟังเสียงคนจนอย่างแท้จริง จัดทำเป็นแผนพัฒนารายครัวเรือน และการพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ ที่อยู่ในประเภทเดียวกัน และจากนั้นใช้ระบบ Coaching โดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ที่เข้ามาดูแลครัวเรือนเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมกับพัฒนารายกลุ่ม ระบบพี่เลี้ยง (Mentor) ที่เข้ามาดูแลติดตามการพัฒนารายครัวเรือนตลอดระยะเวลาในการพัฒนา เชื่อมต่อกับการพัฒนานวัตกรรมกองทุนบุญชุมชน กองทุนอาชีพที่เกิดจากชุมชน เพื่อสนับสนุนกลุ่มต้นกล้าท้าจน (คนจนกลุ่มเป้าหมาย) ให้เข้ามาต่อยอดการใช้กองทุนในการใช้เป็นทุนในการพัฒนาอาชีพ และมีการนำกำไรบางส่วนมาคืนกองทุน และสามารถขยายผลให้กลุ่มคนจนอ่อนไหว และกลุ่มต้นกล้าท้าจนสามารถตั้งตัวได้ด้วยตนเองและในชุมชนเองก็มีคณะกรรมการกองทุนในการติดตาม ดูแล เป็น พี่เลี้ยงภายในตำบลเป้าหมาย ทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนในกลุ่มคนจนเป้าหมาย
  6. การส่งต่อการช่วยเหลือ จังหวัดกาฬสินธุ์สามารถส่งต่อความช่วยเหลือกลุ่มคนจนเป้าหมาย 58 ครัวเรือนเพิ่มเติมจากการดำเนินโครงการของKHMโดยเฉพาะการดำเนินการช่วยเหลือการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ จำนวน 2,360 รายและ ด้านที่อยู่อาศัย ที่ชํารุดทรุดโทรมและขาดแคลนที่อยู?อาศัยจำนวน 696 หลัง ทั้งนี้มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้ดำเนินการช่วยเหลือต่อยอดโดยการส่งต่อความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่มีความจำเป็นเร่งด่วนจำนวน 58 ครัวเรือนแก่ พอช. สภาองค์กรชุมชน สภาเกษตรกร กองทุนฟื้นฟูเกษตรกร มูลนิธิปิดทองหลังพระ และกองทุนบุญชุมชนที่มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ร่วมกับเทศบาลตำบลกลางหมื่น และคณะกรรมการตำลกลางหมื่นจัดตั้งขึ้น ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการช่วยเหลือระหว่างการดำเนินโครงการทันที

Title

Collaboration Integrated Area development for solve absolute poverty. Case study in Kalasin Province

Keywords

Collaboration Integrated Area development,Solve Absolute Poverty,Kalasin Province.

Abstract

This research study was conducted through the selection of samples from the TPMAP and Kalasin Happiness Model (KHM) data-bases using purposive sampling method. Target groups were 10,154 people including 9,883 ones in the main group and 271 people in the additional target group. However, these data for the quantitative analysis could be collected from only 9,421 people or 92.78 percent while the rest, 733 people or 7.22 percent, did not give back the data. In addition, the qualitative analysis was conducted to confirm the results of a quantitative one by collecting information from 5 dimensions of capital including: human capital, physical capital, financial capital, natural resource and disaster capital, and social capital respectively. The results revealed that.

  1. The human capital which is the evaluation of sustainable livelihoods related to poverty which comprises 8 indicators had mean of 2.30 which was in the difficult to live group.
  2. The physical capital which is the evaluation of sustainable livelihood associated with poverty of 7 indicators had the mean of 3.01 representing the can live group.
  3. The financial capital is the evaluation of sustainable livelihood concerned with poverty consisting of 5 indicators had the mean of 2.28 which was classified in the can live group.
  4. The natural resource capital and disaster which is the evaluation of sustainable livelihoods related to poverty consisting of 4 indicators had the mean of 2.72 which was in the can live group.
  5. The social capital which is the evaluation of sustainable livelihoods associated with poverty comprising 6 indicators had the mean score of 2.44 which was considered in the difficult to live group respectively.

When considering the difference between the mean score of irrigated and non-irrigated areas in terms of human capital, physical capital, financial capital, natural resource capital, and social capital of Kalasin province, it can be concluded that irrigated and non-irrigated areas of Kalasin province had the difference in terms of human capital and social capital. However, both areas showed the similarity in terms of physical capital, financial capital, and natural resource capital. The results of the qualitative analysis emphasizing on creating the process of participation of relevant sectors in analyzing and learning the data obtained led to the mutual conclusions and driving solutions in terms of policy proposals of poverty alleviation. Kalasin University has involved with the poverty alleviation as the Commission of Strategic Driving for Conducting the Research on Poverty Alleviation during 2020-2021 by the support of the Supporting Unit for Administration and Management of Funds for Area-Based Development (BPT) through the project “The Cooperative Area-Based Development to Solve the Poverty Problems Completely and Precisely Case Study of Kalasin Province” (Jirapun Huaisan et al., 2021). The results could be summarized as follows.

  1. Creating the Poverty Awareness with Partnerships in Kalasin Province Driving research projects conducted in the past could generate the awareness of poverty in 2 patterns including:
    (1) creating the awareness to build up the collaboration among networking partners, (2) building shared awareness of poverty in 5 dimensions and use them to solve the poverty problems in terms of.
    (2.1) building the awareness to build the cooperation among networking partners. After the implementation of the Poverty Alleviation Research Project in 2020 by creating awareness via the process of allowing communities, community leaders, people, and volunteers to participate in the search for the underprivileged people, creating the effort to help those people in the community, providing the assistance among the agencies involved with. There was the collaborative implementation of the poverty alleviation policy in terms of both Top-Down and Bottom-Up approaches. There were also clear mechanisms from cooperation at the provincial, district, sub-district and local levels including civil society agencies such as the National Council for Peace and Order, the Council of Community Organizations, the Farmers Council, the Farmers Rehabilitation Fund, and the Pidthong Lang Phra Foundation in helping the underprivileged people.
    (2.2) creating collective awareness to understand the 5 dimensions of poverty through the implementation of past poverty alleviation policies focusing on the development of the professional group to enhance the career. In fact, poverty alleviation must be developed to cover all dimensions including dimensions consisting of health, well-being, education, finances, and access to government services. For the complete and precise solution to poverty, there was the design of mechanisms, research processes, and tools for area-based development to support working, helping, monitoring, analyzing and strengthening area-based development mechanisms, and synthesizing data at the household level for solving the poverty problems. There was the collaboration with community leaders, people, local government organizations, and localities to identify poverty together. Moreover, forum to return information at the district level and the provincial level were organized to create awareness of poverty in other dimensions resulting in the transmission of assistance and precise poverty resolution to cover all dimensions throughout Kalasin Province.
  2. The verification of data-based of underprivileged people of TPMAP, Kalasin Happiness Model, and below 20% of underprivileged people. The collection of quantitative and qualitative data from a database (Thai People Map and Analytics Platform, TPMAP), and the targeted human development data management system. Revealed that there were 12,912 target underprivileged people or 6,795 households in 2019. The data could be verified by the Kalasin Happiness V.1 database (developed by Kalasin Province and Kalasin University). Moreover, there were 2,640 additional households received from other resources. So, there were 9,394 target households 32,570 people in total of the data verification. The project could transfer the assistance to 58 households. Moreover, the data from the project could also be added into a central data-based developed by the Supporting Unit for Administration and Management of Funds for Area-Based Development (BPT) and the Kalasin Happiness Model.
  3. The data analysis and the definition of the underprivileged people in Kalasin Province The data adding and analysis led to the creation of a new definition of the underprivileged people was uniquely manipulated for Kalasin Province. It was publicly informed to create the mutual awareness through forums of data return for all levels. This definition was defined from ranking the scores of critical side which was “The living condition of a person whose income is insufficient to meet their expenditures, income is also less than thirty thousand baht per year per household, living conditions depends on welfare, lacking extra income, and lacking stable housing, place to eat, career opportunities, and skills”. The underprivileged people were classified into 4 groups consisting of cannot live, difficult to live, can live and live happily.
  4. The development of process-based innovations at the area – based level to support government agencies to make precisely decisions which was the information of area –based underprivileged household system version 2. The problems of policies implementation that were divided regarding the Thai bureaucratic system and the lack of continuously cooperation caused the relevant sectors for driving poverty alleviation policies to collect the data for reporting to high-level agencies for evaluation of performance of many projects. As a result, there were many sets of databases for solving poverty problems in Kalasin province including provincial level, district level, sub-district level, village level, and local level which were incorrect and inconsistent. Therefore, to conduct the research project in the first year, Kalasin University has studied and developed a single database through the processes of research studies, verification of data-based and confirmation of the information of the underprivileged people to create a household poverty database system. Moreover, there was the reliable and accurate follow-up to help Kalasin Province correctly address the poverty on the right spot for the successful development. The developed system was successfully given to provincial agencies to drive the development in the provincial, district, and sub-district levels.
  5. The development of an action model for poverty alleviation that is appropriate for the poor context. (“Poverty Alleviation Model”) at the local level. To conduct research project in the 1st year, there was the development of model to solve poverty problem with the cooperation of local government organization and local networking partners consisting of sub-district committees, people, occupation groups, poor people, and target groups. The project was done by organizing the forum for the integration of poverty alleviation and the activities according to life plans or household development plans based on the actual needs using knowledge and skills that the underprivileged people have for precise development and meet the real needs. Moreover, there was the creation of household development plan and the development of potential professional groups through the use of the Coaching and Mentor systems by experts from Kalasin University who come to take care of the target households in order to transfer suitable knowledge and expertise for the development of each group. This project was integrated with the community merit fund, community occupational fund to support the Pioneer of Poverty Challenge Group (target underprivileged groups) to expand the use of funds as capital for career development and some of the profits are returned to the fund. This could help were able to rely on themselves. There was the fund committee community to monitor, take care of, and be a mentor within the target sub-district resulting in revolving income among the target underprivileged group.
  6. Transmission of Assistance Kalasin Province was able to transmit the assistance to the target underprivileged group of 58 households from the implementation of KHM projects, especially the assistance to access to public welfare for 2,360 people, and the assistance of fixing and providing 696 houses. Kalasin University has provided the assistance by transmitting 58 households in urgent need to the Community Organization Development Institute, Community Organizations Council, Farmers Council, Farmers Rehabilitation Fund, Pidthong Lang Phra Foundation and the Community Merit Fund at Kalasin University with the cooperation of Klang Muen Sub-district Municipality and the Committee of Klang Muen Sub-district Municipality allows the target underprivileged group to be immediately assisted during the project implementation.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น