การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน :ระยะที่ 2

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 25 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A14F640118
นักวิจัย นายทรงศักดิ์ ปัญญา
หน่วยงาน สถาบันวิทยาลัยชุมชน
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย แม่ฮ่องสอน

ชื่อโครงการ

การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน :ระยะที่ 2

คำสำคัญ

การวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่,การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดการค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจน เพื่อออกแบบกลไก กระบวนการวิจัย และเครื่องมือในการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อสร้างโมเดลแก้จน ติดตาม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลทุนพื้นที่ระดับครัวเรือนและชี้เป้าคนจนให้ครอบคลุมทุกครัวเรือนในพื้นที่นำร่องเพื่อสร้างโมเดลแก้จน และหนุนเสริมกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแผนพัฒนาเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่และระดับจังหวัดแม่ฮ่องสอนผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนยากจนของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีจำแนกกลุ่มตามต้นทุนการดำรงชีพที่ยั่งยืน (SLS) ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มคนจนที่อยู่ลำบากมีปัจจัยข้อจำกัดในด้านทุนทางสังคมมากที่สุด 11,763 คน รองลงมาคือทุนมนุษย์ 4,797 คน ทุนธรรมชาติ1,845 คน ทุน เศรษฐกิจ 1,122 คน และทุนกายภาพ 30 คน กลุ่มคนจนที่อยู่ยาก มีปัจจัย ข้อจำกัดในด้านทุนมนุษย์มากที่สุด 10,153 คน รองลงมาคือทุนธรรมชาติ8,107 คน ทุนเศรษฐกิจ 3,203 คน ทุนทางสังคม 1,646 คน และทุนกายภาพ 1,347 คน ในระบบฐานข้อมูลจากการค้นหาสอบทานพบว่ามีครัวเรือนยากจนที่ตกหล่น(Exclusion error) จำนวน 2,384 ครัวเรือน และมีจำนวนครัวเรือนรั่วไหล (Inclusion error) ในระบบข้อมูล จำนวน 157 ครัวเรือนกระบวนการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนได้ส่งต่อข้อมูลเพื่อให้การช่วยเหลือให้กับใช้กลไกระดับจังหวัดโดยศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดแม่ฮ่องสอนและกลไกระดับพื้นที่ได้พัฒนากระบวนการขับเคลื่อนโมเดลแก้จนในเชิงพื้นที่เป็นกระบวนการพัฒนาโจทย์ในการแก้ความยากจน ประกอบด้วยโมเดลการสร้างระบบเศรษฐกิจวนเกษตรบนพื้นที่สูงและการจัดตั้งกองทุนน้ำตำบลห้วยปูลิง โมเดลบุกแก้จนและกองทุนสวัสดิการสีเขียวตำบลแม่สวด และโมเดลบ้านมั่นคงชนบทตำบลแม่ลาหลวง ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนดังนี้รัฐควรสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อกระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาคที่(Inclusive Growth) ควรบูรณาการข้อมูลศักยภาพความยากจนรายครัวเรือนระหว่างหน่วยงาน ควรมีแผนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูศักยภาพครัวเรือนยากจนภายหลังสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (Pro-Poor Policy) ควรมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมระหว่างรัฐและชุมชน ควรสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก สนับสนุนทุนสำคัญในการดำรงชีพ พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อระบบนิเวศทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างการเติบโตที่เอื้อประโยชน์แก่คนจน (Pro-Poor Growth

Title

Research on Area Based Development for Personalized Poverty Alleviation: Case Study of Maehongson Province :Phrase II

Keywords

Area-Based Collaborative Research,Personalized Poverty Alleviation

Abstract

The research project for local development aims to completely and authoritatively eradicate poverty in the province with poverty eradication models. The research methodology and customized development tools help track, analyse and synthesise finance data in households to thoroughly identify the impoverished in the pilot field before developing poverty eradication models, which supports the local development mechanism. Policy recommendations for development plan to eradicate poverty in the local and Mae Hong Son Province are also fabricated.In this research, indigent households in Mae Hong Son Province were classified by capitals based on sustainable livelihood strategies (SLS). In extreme poverty group, the most (11,763 people) lived in limitation of social capital. The second largest in the group (4,797 people) were deprived of human capital. The third shortage was natural capital, of which 1,845 people were divested. Next was economic capital, with 1,122 people, and the least problematic was physical capital, which revealed the lowest figure (only 30 people). Meanwhile, the severe poverty group had the most limitation inhuman capital (10,153 people). Next were natural resource (8,107 people), economic resource (3,203 people), social capital (1,646 people), and physical capital (1,347 people) respectively. Moreover, there were 2,384 households in exclusive error and 157 households in inclusive error.The data was transformed to provincial mechanism, Mae Hong Son Provincial Poverty Eradication and Life Cycle Development: PELCD, in corporation with the local mechanism, to develop models for poverty eradication; Highland Agroforestry System and Water Fund in Huai Pu Ling Sib – district, Konjac for Poverty Eradication Model andGreen Welfare in Mae Suad Sub – district, and Baan Man Kong Model in Mae La Luang Sub – district.As the result, policy recommendations for poverty eradication were approached as follows; The government should consider sustainable development for inclusive growth. The data of the impoverished households should be shared amongst related departments. There should be a pro – poor policy to recover potential of the indigent households after COVID – 19 pandemic. The government and the community should coordinate in administration and management of the local development. The grassroots economy should be fortified and living capitals should be funded. Moreover, knowledge about impact of climate change on ecosystem, natural resources and biodiversity should be established. Overall, pro – poor growth is the major concern

สำหรับสมาชิกเท่านั้น