ชื่อโครงการ
การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดมุกดาหารคำสำคัญ
การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือ การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดมุกดาหารบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง : การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำกรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ชื่อผู้วิจัย : นายทิวากร เหล่าลือชา และคณะ หน่วยงาน : วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สถาบันวิทยาลัยชุมชน ปีที่ทำการวิจัย : พ.ศ. 2564 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อต่อยอดการค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจน
2) เพื่อวิเคราะห์และส่งต่อความช่วยเหลือกับหน่วยงาน
3) เพื่อพัฒนาโมเดลแก้จนในการแก้ไขปัญหาความยากจน และ
4) เพื่อพัฒนาระบบการหนุนเสริม และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือเชื่อมโยงให้เกิดแผนพัฒนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจน พบว่า ข้อมูลคนจนในระบบ TPMAP ในปีที่ 1 จำนวน 4,660 ครัวเรือน ได้ทำการค้นหาและสอบทานเพิ่มเติมอีก 400 ครัวเรือน รวมเป็น 5,060 ครัวเรือน และในปีที่ 2 ได้ทำการค้นหาและสอบทานเพิ่มเติมอีก 600 ครัวเรือน รวมเป็น 5,660 ครัวเรือน ได้บันทึกทำข้อมูลครัวเรือนคนจนเข้าไปในระบบ Livingonnewpace และข้อมูลในระบบ PPP connext จำนวน 5,673 ครัวเรือน คิดเป็น 100.22% เกินเป้าที่ตั้งไว้จำนวน 13 ครัวเรือน คิดเป็น 0.22% จากเป้าหมายทั้งหมด 5,660 ครัวเรือน (100%)
2) ผลการส่งต่อข้อมูลช่วยเหลือครัวเรือน ร้อยละ 100 โดยให้คลินิกวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดมุกดาหาร จัดส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานเพื่อทำการช่วยเหลือและถอดบทเรียนหาสาเหตุความยากจนของครัวเรือนนั้นต่อไปเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยใช้โมเดลการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร
3) ผลการพัฒนาโมเดลแก้จนในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและยั่งยืนในจังหวัดมุกดาหาร โมเดลแก้จนที่ได้มีการออกแบบพัฒนาร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยการนำความรู้งานวิจัยผสานกับความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทกลุ่มเป้าหมาย และสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นได้ที่สอดคคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมายจากปัญหาคนจนและทุน 5 ด้าน จำนวน 3 โมเดล และ 4) ผลการพัฒนาระบบการหนุนเสริม และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือเชื่อมโยงให้เกิดแผนพัฒนาเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่/จังหวัดมุกดาหาร
มีการดำเนินการดังนี้ ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดมุกดาหารจำนวน 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ จำนวน 5 โครงการ ในแผนพัฒนาจังหวัดมุกดาหารระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570 คำสำคัญ: การแก้ไขปัญหาความยากจน, เบ็ดเสร็จและแม่นยำ, การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ.
Title
Collaboration Integrated Area development for solve absolute poverty. Case study in Mukdahan ProvinceKeywords
Collaboration Integrated Area development,Solve Absolute PovertyAbstract
Research Subject: Integrated and Collaborative Area Development for Comprehensive and Precise Solutions for Poverty Alleviation – Case Study of Mukdahan Province, Fiscal Year 2020. Researcher’s Name: Mr. Tiwakorn Laoluecha Authority: Mukdahan Community College, Community College Institute Research Years: 2021 Abstract This research aimed to 1) expand the search and review of data on the poor, 2) analyze and forward assistances through agencies, 3) develop poverty alleviation models, and 4) create reinforcement and support systems and policy proposals or connections to development plans. According to research findings, 1) the analysis and review of data on the poor revealed that there were 4,660 poor households in the first year of TPMAP System. The additional 400 households were searched and reviewed resulting in a total number of 5,060 households. Then, the other 600 households were also searched and reviewed in the second year; therefore, the total number reached 5,660 households. The data of 5,673 poor households, accounting for 100.22%, were recorded in 2 systems, namely, Livingonnewpace and PPP Connext. This number exceeded the target of 5,660 households (100%) by 13 households (0.22%). 2) Results of forwarding of household assistance data showed that all data (100%) were forwarded by the ‘Clinic for Poverty Alleviation Research in Mukdahan Province’ to different agencies so that assistances were provided along with the learning from lessons to identify causes of household poverty. This could become a poverty alleviation guideline in accordance with poverty alleviation models in Mukdahan province. 3) Regarding results of the development of comprehensive and precise poverty alleviation models in Mukdahan province, poverty alleviation models have been designed and developed in collaboration with relevant people in the area by means of integrating research-based knowledge and suitable local wisdom in line with target group contexts. This could then be extended to other areas in conformity with the aforesaid contexts based on 5 aspects in 3 models on poverty and capital problems. 4) With respect to results of creating reinforcement and support systems and policy proposals or connections to development plans at the area/Mukdahan provincial level, the following actions were taken. Policy proposals on poverty alleviation in Mukdahan province were made based on 5 strategic issues and 5 projects of the 5-year Mukdahan Provincial Development Plan B.E. 2566-2570 (2023-2027). Keywords: poverty alleviation, comprehensive and precise, integrated development